คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางความช่วยเหลือและชดเชยแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ซึ่งประสบภาวะโรคระบาดตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางความช่วยเหลือและชดเชยให้เกษตรกรที่ประสบภาวะโรคระบาดไก่ตามเสนอ
2. อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงิน 2,999.20 ล้านบาท หรือตามจำนวนที่จ่ายจริง ทั้งนี้ สำหรับการดำเนินงานในส่วนที่เกินจากงบเงินนี้ อนุมัติในหลักการให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณสนับสนุนตามที่จ่ายจริงเพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินการช่วยเหลือและชดเชยเกษตรกรทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ
3. เห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการชดเชยอัตราดอกเบี้ยและผ่อนผันการชำระคืนเงินกู้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบตามมาตรการควบคุมโรค
4. เห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมให้การสนับสนุนทางด้านกำลังพลในการปฏิบัติการ ตามพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาดหรือสงสัยว่าจะมีโรคระบาด ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และแนวทางความช่วยเหลือและชดเชยให้เกษตรกรที่ประสบภาวะโรคระบาดไก่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แนวทางและหลักเกณฑ์ความช่วยเหลือและชดเชย
1.1 ให้มีการชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ถูกทำลายสัตว์ปีกเนื่องจากมาตรการป้องกันโรคระบาดตามความเป็นจริง โดยให้มีทางเลือกในการชดเชยให้เป็นเงินสด หรือขอรับเป็นปัจจัยการผลิต
1.2 ให้มีการผ่อนผันการชำระคืนเงินกู้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันโรคระบาด
1.3 ให้มีการพิจารณาความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบอันเนื่องมาจากการสูญเสียรายได้ในระหว่างการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันโรคระบาด
2. วิธีดำเนินการและเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ
2.1 กรณีที่เกษตรกรกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเฉพาะหนี้ที่เกิดจากการลงทุนเลี้ยงสัตว์ปีกและได้รับความเสียหายจากภาวะโรคระบาด จะขอพักการชำระดอกเบี้ยและขยายเวลาชำระเงินต้นออกไป 6 เดือน โดยรัฐจะชดเชยเงินให้เป็นระยะเวลา 6 เดือน
2.2 ให้มีการตรวจสอบสถานภาพของเกษตรกรว่ามีสัตว์ปีกที่ถูกทำลายจำนวนเท่าไร รวมทั้งต้องการความช่วยเหลือเป็นพันธุ์สัตว์หรือเงินสด ทั้งนี้ จะดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยระบบขึ้นทะเบียน เพื่อให้เกษตรกรแสดงความจำนงด้วยตนเอง
2.3 กรณีที่เกษตรกรจะปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แบบเปิดเป็นโรงเรือนแบบปิด จะติดต่อหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้
2.4 เกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ
1) ไก่ไข่ ช่วยเหลือเป็นพันธุ์ไก่ไข่อายุประมาณ 18 สัปดาห์ หรือเงินสดในราคาตลาด พร้อมค่าชดเชยจำนวนตัวละ 40 บาท
2) ไก่เนื้อ ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาไก่เนื้ออายุ 22 วัน พร้อมค่าชดเชยตัวละ 20 บาท
3) ไก่พื้นเมืองหรือไก่ลูกผสม ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาไก่อายุ 2 เดือน พร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
4) ห่าน ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาห่านอายุ 2 เดือน พร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
5) เป็ดเนื้อ ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาเป็ดเนื้ออายุ 45 วัน พร้อมค่าชดเชยตัวละ20 บาท
6) เป็ดไข่ ช่วยเหลือพันธุ์เป็ดไข่อายุประมาณ 18 สัปดาห์ หรือเงินสดในราคาตลาดพร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
7) นกกระทา ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคานกกระทาอายุ 45 วัน พร้อมค่าชดเชยตัวละ5 บาท
8) ไก่งวง ช่วยเหลือพันธุ์ไก่งวงอายุประมาณ 2 เดือน หรือเงินสดในราคาตลาด พร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
9) นกกระจอกเทศ ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าตัวละ 2,500 บาท พร้อมค่าชดเชยตัวละ 100 บาท
2.5 กรณีที่เกษตรกรทำลายสัตว์ปีกเองก่อนที่เจ้าหน้าที่จะได้สั่งทำลาย หลังวันที่ 1 มกราคม 2547 และกรณีที่มีสัตว์ปีกของเกษตรกรตายหรือเกษตรกรทำลายเอง เนื่องมาจากภาวะโรคระบาดในช่วงเดือนธันวาคม 2546ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้ความช่วยเหลือตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
3. งบประมาณ
จากข้อมูลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 มกราคม 2547) ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 9 ล้านตัว และคาดว่าจะต้องทำลายสัตว์ปีกเพิ่มเติมรวมเป็นทั้งสิ้นประมาณ 22 ล้านตัว ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือชดเชยเกษตรกร 2,499.20 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายดำเนินการในการทำลายสัตว์ปีก500.00 ล้านบาท (ค่าวัสดุอุปกรณ์ สารเคมี ในการทำลายสัตว์ปีก ค่าตรวจวิเคราะห์ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่)
ทั้งนี้ ยังไม่รวมงบประมาณในส่วนของการผ่อนผันการชำระคืนเงินกู้แก่เกษตรกร ตามแนวทาง 1.2
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางความช่วยเหลือและชดเชยให้เกษตรกรที่ประสบภาวะโรคระบาดไก่ตามเสนอ
2. อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงิน 2,999.20 ล้านบาท หรือตามจำนวนที่จ่ายจริง ทั้งนี้ สำหรับการดำเนินงานในส่วนที่เกินจากงบเงินนี้ อนุมัติในหลักการให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณสนับสนุนตามที่จ่ายจริงเพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินการช่วยเหลือและชดเชยเกษตรกรทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ
3. เห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการชดเชยอัตราดอกเบี้ยและผ่อนผันการชำระคืนเงินกู้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบตามมาตรการควบคุมโรค
4. เห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมให้การสนับสนุนทางด้านกำลังพลในการปฏิบัติการ ตามพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาดหรือสงสัยว่าจะมีโรคระบาด ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และแนวทางความช่วยเหลือและชดเชยให้เกษตรกรที่ประสบภาวะโรคระบาดไก่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แนวทางและหลักเกณฑ์ความช่วยเหลือและชดเชย
1.1 ให้มีการชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ถูกทำลายสัตว์ปีกเนื่องจากมาตรการป้องกันโรคระบาดตามความเป็นจริง โดยให้มีทางเลือกในการชดเชยให้เป็นเงินสด หรือขอรับเป็นปัจจัยการผลิต
1.2 ให้มีการผ่อนผันการชำระคืนเงินกู้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันโรคระบาด
1.3 ให้มีการพิจารณาความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบอันเนื่องมาจากการสูญเสียรายได้ในระหว่างการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันโรคระบาด
2. วิธีดำเนินการและเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ
2.1 กรณีที่เกษตรกรกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเฉพาะหนี้ที่เกิดจากการลงทุนเลี้ยงสัตว์ปีกและได้รับความเสียหายจากภาวะโรคระบาด จะขอพักการชำระดอกเบี้ยและขยายเวลาชำระเงินต้นออกไป 6 เดือน โดยรัฐจะชดเชยเงินให้เป็นระยะเวลา 6 เดือน
2.2 ให้มีการตรวจสอบสถานภาพของเกษตรกรว่ามีสัตว์ปีกที่ถูกทำลายจำนวนเท่าไร รวมทั้งต้องการความช่วยเหลือเป็นพันธุ์สัตว์หรือเงินสด ทั้งนี้ จะดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยระบบขึ้นทะเบียน เพื่อให้เกษตรกรแสดงความจำนงด้วยตนเอง
2.3 กรณีที่เกษตรกรจะปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แบบเปิดเป็นโรงเรือนแบบปิด จะติดต่อหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้
2.4 เกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ
1) ไก่ไข่ ช่วยเหลือเป็นพันธุ์ไก่ไข่อายุประมาณ 18 สัปดาห์ หรือเงินสดในราคาตลาด พร้อมค่าชดเชยจำนวนตัวละ 40 บาท
2) ไก่เนื้อ ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาไก่เนื้ออายุ 22 วัน พร้อมค่าชดเชยตัวละ 20 บาท
3) ไก่พื้นเมืองหรือไก่ลูกผสม ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาไก่อายุ 2 เดือน พร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
4) ห่าน ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาห่านอายุ 2 เดือน พร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
5) เป็ดเนื้อ ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคาเป็ดเนื้ออายุ 45 วัน พร้อมค่าชดเชยตัวละ20 บาท
6) เป็ดไข่ ช่วยเหลือพันธุ์เป็ดไข่อายุประมาณ 18 สัปดาห์ หรือเงินสดในราคาตลาดพร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
7) นกกระทา ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าเท่ากับราคานกกระทาอายุ 45 วัน พร้อมค่าชดเชยตัวละ5 บาท
8) ไก่งวง ช่วยเหลือพันธุ์ไก่งวงอายุประมาณ 2 เดือน หรือเงินสดในราคาตลาด พร้อมค่าชดเชยตัวละ 40 บาท
9) นกกระจอกเทศ ช่วยเหลือเป็นเงินสดมูลค่าตัวละ 2,500 บาท พร้อมค่าชดเชยตัวละ 100 บาท
2.5 กรณีที่เกษตรกรทำลายสัตว์ปีกเองก่อนที่เจ้าหน้าที่จะได้สั่งทำลาย หลังวันที่ 1 มกราคม 2547 และกรณีที่มีสัตว์ปีกของเกษตรกรตายหรือเกษตรกรทำลายเอง เนื่องมาจากภาวะโรคระบาดในช่วงเดือนธันวาคม 2546ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้ความช่วยเหลือตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
3. งบประมาณ
จากข้อมูลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 มกราคม 2547) ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 9 ล้านตัว และคาดว่าจะต้องทำลายสัตว์ปีกเพิ่มเติมรวมเป็นทั้งสิ้นประมาณ 22 ล้านตัว ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือชดเชยเกษตรกร 2,499.20 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายดำเนินการในการทำลายสัตว์ปีก500.00 ล้านบาท (ค่าวัสดุอุปกรณ์ สารเคมี ในการทำลายสัตว์ปีก ค่าตรวจวิเคราะห์ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่)
ทั้งนี้ ยังไม่รวมงบประมาณในส่วนของการผ่อนผันการชำระคืนเงินกู้แก่เกษตรกร ตามแนวทาง 1.2
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-