คณะรัฐมนตรีรับทราบโครงการแก้ไขวิกฤติสถานการณ์ไข้หวัดนกระบาดในไก่ของกระทรวงแรงงาน ดังนี้
1. สถานการณ์
ประเทศไทยกำลังเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มไก่ ในเขตพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ จำแนกความรุนแรงของปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1.1 พื้นที่สีเขียว ระดับหนึ่ง จังหวัดที่ไม่ปรากฏการระบาด ปลอดภัยแล้ว เช่น สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สระบุรี
1.2 พื้นที่สีเหลือง ระดับสอง จังหวัดที่ทำลายไก่แล้ว แต่อยู่ระหว่างต้องเฝ้าระวัง เช่น ฉะเชิงเทราพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง พิษณุโลก
1.3 พื้นที่สีแดง ระดับสาม จังหวัดที่ยังคุมไม่อยู่ ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์แพร่ระบาดยังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจึงยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนทั้งหมดในปัจจุบัน
2. ผลกระทบด้านแรงงาน
สภาพปัญหา สามารถวิเคราะห์เป็นวงจรของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในครั้งนี้ครอบคลุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระบบ ดังนี้ 1) กลุ่มปลูกพืชผลผลิตป้อนโรงงานอาหารสัตว์ 2) กลุ่มประกอบการ โรงงานอาหารสัตว์ 3) กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม 4) กลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก 5) กลุ่มโรงงานผลิตและแปรรูปอาหาร แช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป
สถานประกอบการที่อยู่ในความคุ้มครองของระบบประกันสังคม กระทรวงแรงงานจำแนกออกเป็น2 กลุ่มหลัก มีสถานประกอบการ 1,031 แห่ง ลูกจ้างผู้ประกันตนและเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 151,042 คน ได้แก่กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม และกลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก
นอกจากกลุ่มหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบทางตรง และทางอ้อม ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และฆ่าสัตว์รายย่อย กลุ่มกิจการขนส่ง และกิจการต่อเนื่อง เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าจะมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า จำนวน 2 แสนคน
*หมายเหตุ 1. ข้อมูล ณ วันที่ 26 มกราคม 2547 จากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
2. ประมาณการผู้ประสบปัญหาที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน
3. มาตรการ
การดำเนินงานต้องกระทำควบคู่กันทั้งด้านการสำรวจพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ และจัดลำดับความเร่งด่วน และประมาณการค่าใช้จ่าย ดังนี้
1) วิเคราะห์พื้นที่ผู้ประสบภัย
2) วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ จำแนกตามประเภทกิจการ
3) สร้างเครื่องมือแบบสอบถามในการจัดเก็บข้อมูลจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนายจ้าง ลูกจ้างครอบคลุมทั้งสภาพปัญหา และความต้องได้รับความช่วยเหลือ
4) วิเคราะห์สร้างโมเดลจำลองกลาง เพื่อกำหนดทางเลือก และต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการให้ความช่วยเหลือ หลังจากการจำแนกกลุ่มเป้าหมายทั้งระบบ
5) ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทันที และติดตามประเมินผล
4. กรอบแนวคิดหลักและแผนการดำเนินงาน
กระทรวงแรงงานได้กำหนดกรอบแนวคิดหลักและแผนการดำเนินงานในการแก้ปัญหาของผู้ที่จะได้รับความเดือดร้อนและความเสียหาย ดังนี้
1) ใช้มาตรการชะลอการเลิกจ้าง หยุดงาน โดยยังคงสถานะความเป็นลูกจ้าง และให้ได้รับค่าจ้างบางส่วน และปรับลดสวัสดิการบางส่วนของนายจ้าง โดยรัฐเข้าไปให้ความเยียวยาจ่ายค่าชดเชยให้บางส่วนตามความจำเป็น
2) ใช้กลไกด้านจัดสร้างเครือข่ายตลาดแรงงาน และการจัดหางานให้ทำโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานระดับล่างที่พร้อมปรับเปลี่ยนเข้าสู่งานใหม่ที่ไม่ต้องใช้ทักษะสูงมาก
3) ส่งเสริมการทำงานในพื้นที่โดยเป็นการทำงานในอาชีพเสริม สาขาใกล้เคียงกัน หรืองานในท้องถิ่นผลิตสินค้าพื้นฐานจำหน่ายให้หน่วยงานภาครัฐ
4) ส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้น โดยใช้เครื่องจักร วัสดุฝึกภายในสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือ และจัดชุดฝึกอบรมเคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่เป้าหมาย โดยรัฐสนับสนุนค่ายังชีพในระหว่างที่เข้ามาฝึกงาน และขาดรายได้จากงานเดิม ทั้งนี้ให้เน้นจัดฝึกในหลักสูตรที่สามารถสร้างผลผลิต จำหน่ายเพื่อลดต้นทุนการฝึก รวมทั้งสร้างรายได้ย้อนกับมาช่วยเหลือตนเองและกลุ่มได้
5) ใช้มาตรการลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง โดยการพักการส่งเงินสมทบประกันสังคมแต่ยังคงได้รับสิทธิและการคุ้มครองต่อไป และเพิ่มสิทธิพิเศษด้านการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ทั้งด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว การได้รับค่าทดแทนหลังออกจากงาน
5. ระยะเวลาดำเนินการ
สภาพการปัจจุบัน หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ คาดว่าจะแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จภายใน 5 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม 2547 - พฤษภาคม 2547
6. งบประมาณดำเนินการ
ขอใช้จ่ายจากงบดำเนินการปีงบประมาณ 2547 งบปกติของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานกรณีที่สถานการณ์ยังไม่ยุติจะขออนุมัติในหลักการใช้งบประมาณจากเงินงบกลาง โดยขอทำการเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลทางตรง คาดว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของลูกจ้างแรงงาน และครอบครัว นายจ้างผู้ประกอบการ จะได้รับการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า
ผลทางอ้อม สร้างระบบการจ้างงานใหม่ ชดเชยระบบเดิม และเกิดกำลังแรงงานสำรองในภาคการผลิตใหม่ ที่ช่วยให้เกิดแผนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. สถานการณ์
ประเทศไทยกำลังเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มไก่ ในเขตพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ จำแนกความรุนแรงของปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1.1 พื้นที่สีเขียว ระดับหนึ่ง จังหวัดที่ไม่ปรากฏการระบาด ปลอดภัยแล้ว เช่น สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สระบุรี
1.2 พื้นที่สีเหลือง ระดับสอง จังหวัดที่ทำลายไก่แล้ว แต่อยู่ระหว่างต้องเฝ้าระวัง เช่น ฉะเชิงเทราพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง พิษณุโลก
1.3 พื้นที่สีแดง ระดับสาม จังหวัดที่ยังคุมไม่อยู่ ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์แพร่ระบาดยังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจึงยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนทั้งหมดในปัจจุบัน
2. ผลกระทบด้านแรงงาน
สภาพปัญหา สามารถวิเคราะห์เป็นวงจรของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในครั้งนี้ครอบคลุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระบบ ดังนี้ 1) กลุ่มปลูกพืชผลผลิตป้อนโรงงานอาหารสัตว์ 2) กลุ่มประกอบการ โรงงานอาหารสัตว์ 3) กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม 4) กลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก 5) กลุ่มโรงงานผลิตและแปรรูปอาหาร แช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป
สถานประกอบการที่อยู่ในความคุ้มครองของระบบประกันสังคม กระทรวงแรงงานจำแนกออกเป็น2 กลุ่มหลัก มีสถานประกอบการ 1,031 แห่ง ลูกจ้างผู้ประกันตนและเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 151,042 คน ได้แก่กลุ่มเลี้ยงสัตว์ระบบปิดในฟาร์ม และกลุ่มโรงงานฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก
นอกจากกลุ่มหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบทางตรง และทางอ้อม ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และฆ่าสัตว์รายย่อย กลุ่มกิจการขนส่ง และกิจการต่อเนื่อง เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าจะมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า จำนวน 2 แสนคน
*หมายเหตุ 1. ข้อมูล ณ วันที่ 26 มกราคม 2547 จากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
2. ประมาณการผู้ประสบปัญหาที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน
3. มาตรการ
การดำเนินงานต้องกระทำควบคู่กันทั้งด้านการสำรวจพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ และจัดลำดับความเร่งด่วน และประมาณการค่าใช้จ่าย ดังนี้
1) วิเคราะห์พื้นที่ผู้ประสบภัย
2) วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ จำแนกตามประเภทกิจการ
3) สร้างเครื่องมือแบบสอบถามในการจัดเก็บข้อมูลจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนายจ้าง ลูกจ้างครอบคลุมทั้งสภาพปัญหา และความต้องได้รับความช่วยเหลือ
4) วิเคราะห์สร้างโมเดลจำลองกลาง เพื่อกำหนดทางเลือก และต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการให้ความช่วยเหลือ หลังจากการจำแนกกลุ่มเป้าหมายทั้งระบบ
5) ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทันที และติดตามประเมินผล
4. กรอบแนวคิดหลักและแผนการดำเนินงาน
กระทรวงแรงงานได้กำหนดกรอบแนวคิดหลักและแผนการดำเนินงานในการแก้ปัญหาของผู้ที่จะได้รับความเดือดร้อนและความเสียหาย ดังนี้
1) ใช้มาตรการชะลอการเลิกจ้าง หยุดงาน โดยยังคงสถานะความเป็นลูกจ้าง และให้ได้รับค่าจ้างบางส่วน และปรับลดสวัสดิการบางส่วนของนายจ้าง โดยรัฐเข้าไปให้ความเยียวยาจ่ายค่าชดเชยให้บางส่วนตามความจำเป็น
2) ใช้กลไกด้านจัดสร้างเครือข่ายตลาดแรงงาน และการจัดหางานให้ทำโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานระดับล่างที่พร้อมปรับเปลี่ยนเข้าสู่งานใหม่ที่ไม่ต้องใช้ทักษะสูงมาก
3) ส่งเสริมการทำงานในพื้นที่โดยเป็นการทำงานในอาชีพเสริม สาขาใกล้เคียงกัน หรืองานในท้องถิ่นผลิตสินค้าพื้นฐานจำหน่ายให้หน่วยงานภาครัฐ
4) ส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้น โดยใช้เครื่องจักร วัสดุฝึกภายในสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือ และจัดชุดฝึกอบรมเคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่เป้าหมาย โดยรัฐสนับสนุนค่ายังชีพในระหว่างที่เข้ามาฝึกงาน และขาดรายได้จากงานเดิม ทั้งนี้ให้เน้นจัดฝึกในหลักสูตรที่สามารถสร้างผลผลิต จำหน่ายเพื่อลดต้นทุนการฝึก รวมทั้งสร้างรายได้ย้อนกับมาช่วยเหลือตนเองและกลุ่มได้
5) ใช้มาตรการลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง โดยการพักการส่งเงินสมทบประกันสังคมแต่ยังคงได้รับสิทธิและการคุ้มครองต่อไป และเพิ่มสิทธิพิเศษด้านการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ทั้งด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว การได้รับค่าทดแทนหลังออกจากงาน
5. ระยะเวลาดำเนินการ
สภาพการปัจจุบัน หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ คาดว่าจะแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จภายใน 5 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม 2547 - พฤษภาคม 2547
6. งบประมาณดำเนินการ
ขอใช้จ่ายจากงบดำเนินการปีงบประมาณ 2547 งบปกติของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานกรณีที่สถานการณ์ยังไม่ยุติจะขออนุมัติในหลักการใช้งบประมาณจากเงินงบกลาง โดยขอทำการเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลทางตรง คาดว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของลูกจ้างแรงงาน และครอบครัว นายจ้างผู้ประกอบการ จะได้รับการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า
ผลทางอ้อม สร้างระบบการจ้างงานใหม่ ชดเชยระบบเดิม และเกิดกำลังแรงงานสำรองในภาคการผลิตใหม่ ที่ช่วยให้เกิดแผนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-