คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมี ดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม “อากาศยาน” “ แผนการบิน” หน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศ “หน่วยงานควบคุมจราจรทางอากาศ” และ “ผู้ควบคุมอากาศยาน”
2. กำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยานทุกลำที่จะนำอากาศยานทำการบินในราชอาณาจักรต้องทำแผนการบินส่งให้แก่หน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศล่วงหน้าก่อนออกเดินทางตามระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่อากาศยานของทางราชการทหารและตำรวจ อาจแจ้งกำหนดการใช้อากาศยานแทนการทำแผนการบินได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ส่วนราชการนั้นกำหนดและแจ้งให้หน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศทราบ
3. กำหนดให้ในกรณีมีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดแผนการบินในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ควบคุมอากาศยานแจ้งหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศโดยเร็วที่สุด และในกรณีที่อากาศยานไม่สามารถวิ่งขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงหลังจากเวลาที่คาดว่าจะวิ่งขึ้นตามที่แจ้งไว้ในแผนการบิน ให้แผนการบินขึ้นนั้นเป็นอันยกเลิกเว้นแต่ผู้ควบคุมอากาศยานจะได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงเวลาที่คาดว่าจะวิ่งขึ้นใหม่
กระทรวงคมนาคมชี้แจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันการยื่นแผนการบิน ซึ่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการใช้อากาศยานไว้แล้ว ผู้ควบคุมอากาศยานต้องยื่นต่อหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งได้รับโอนงานด้านการควบคุมจราจรทางอากาศยานจากกรมการขนส่งทางอากาศ ตามมติคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศของทหารหรือส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการจราจรทางอากาศแก่อากาศยานราชการ ดังนั้น จึงสมควรแก้ไขนิยาม “แผนการบิน” และบทบัญญัติในมาตรา 5 ในส่วนที่กำหนดให้ยื่นแผนการบินและแจ้งกำหนดการใช้อากาศยานต่อส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศในพระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย พ.ศ. 2519 เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติในปัจจุบันและเป็นไปตามภาคผนวก 2 (กฎทางอากาศ) แห่งอนุสัญญาชิคาโก ค.ศ. 1944 ซึ่งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. กำหนดคำนิยาม “อากาศยาน” “ แผนการบิน” หน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศ “หน่วยงานควบคุมจราจรทางอากาศ” และ “ผู้ควบคุมอากาศยาน”
2. กำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยานทุกลำที่จะนำอากาศยานทำการบินในราชอาณาจักรต้องทำแผนการบินส่งให้แก่หน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศล่วงหน้าก่อนออกเดินทางตามระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่อากาศยานของทางราชการทหารและตำรวจ อาจแจ้งกำหนดการใช้อากาศยานแทนการทำแผนการบินได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ส่วนราชการนั้นกำหนดและแจ้งให้หน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศทราบ
3. กำหนดให้ในกรณีมีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดแผนการบินในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ควบคุมอากาศยานแจ้งหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศโดยเร็วที่สุด และในกรณีที่อากาศยานไม่สามารถวิ่งขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงหลังจากเวลาที่คาดว่าจะวิ่งขึ้นตามที่แจ้งไว้ในแผนการบิน ให้แผนการบินขึ้นนั้นเป็นอันยกเลิกเว้นแต่ผู้ควบคุมอากาศยานจะได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงเวลาที่คาดว่าจะวิ่งขึ้นใหม่
กระทรวงคมนาคมชี้แจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันการยื่นแผนการบิน ซึ่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการใช้อากาศยานไว้แล้ว ผู้ควบคุมอากาศยานต้องยื่นต่อหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งได้รับโอนงานด้านการควบคุมจราจรทางอากาศยานจากกรมการขนส่งทางอากาศ ตามมติคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศของทหารหรือส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการจราจรทางอากาศแก่อากาศยานราชการ ดังนั้น จึงสมควรแก้ไขนิยาม “แผนการบิน” และบทบัญญัติในมาตรา 5 ในส่วนที่กำหนดให้ยื่นแผนการบินและแจ้งกำหนดการใช้อากาศยานต่อส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศในพระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย พ.ศ. 2519 เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติในปัจจุบันและเป็นไปตามภาคผนวก 2 (กฎทางอากาศ) แห่งอนุสัญญาชิคาโก ค.ศ. 1944 ซึ่งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--