คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการจัดตั้งศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทย และรายงานสรุปสาระสำคัญบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านพลังงานระดับรัฐบาลระหว่างกระทรวงพลังงานกับกระทรวงปิโตรเลียม สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และระดับผู้ประกอบการฝ่ายไทยคือ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กับกระทรวงปิโตรเลียม สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ในความร่วมมือด้านวิชาการด้านสำรวจและพัฒนากิจการปิโตรเลียม ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
1. Thailand Petroleum Trading Center หรือ Sriracha Hub
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 ได้มีการเปิดศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทย(Thailand Petroleum Trading Center) ณ ท่าขนถ่ายน้ำมันเขาบ่อยา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยนายกรัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงปิโตรเลียมของประเทศอิหร่าน (H.E.Dr.Mohammad Hadi Nejad Hosseinian) ผู้แทนจากประเทศที่เกี่ยวข้อง ( เช่น อิหร่าน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ รัสเซีย คาทัคสถาน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี) และผู้ประกอบการค้าน้ำมัน 150 บริษัท จาก 20 ประเทศ ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1.1 พิธีลงนามสัญญาซื้อ - ขายน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และบริษัทคู่ค้าต่างประเทศ ในปริมาณรวมประมาณ 30 ล้านบาร์เรล มูลค่าประมาณ 37,000 ล้านบาท และการลงนามบันทึกความเข้าใจการศึกษาเรื่อง "การผสมน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้า"
1.2 การเปิดศูนย์บริการ One - Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมัน ในพิธีเปิดได้บริการออกใบอนุญาต(Certificate of intent) ให้กับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะทำธุรกรรมการค้าน้ำมันที่ศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทย ซึ่งได้จัดตั้งเป็นเขตปลอดภาษี(Free Zone) ที่มีการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการทำธุรกิจน้ำมัน โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าสมาชิกต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ พร้อมนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย
1.3 ได้มีการปล่อยเรือน้ำมันเพื่อส่งออกน้ำมันเบนซินออกเทน 90 ไปประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นการซื้อ - ขายน้ำมันครั้งแรกภายใต้เขตปลอดภาษี (Free Zone) ที่ศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทย
1.4 การนำเสนอวิดีโอเรื่อง "The Complementary Petroleum and Petrochemical Trading Platform of Asia " เป็นการนำเสนอศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการค้าน้ำมันของภูมิภาค
2. โครงการ Strategic Energy Landbridge
กระทรวงพลังงานได้จัดให้มีการเสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโครงการ Strategic Energy Landbridge โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจน้ำมันจาก 20 บริษัท ที่เป็นทั้งผู้ผลิต(Producer) ผู้ค้า (Trader) ผู้ประกอบการขนส่ง(Shipping) และผู้ซื้อ / ผู้บริโภค (Consumer) และผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ จากประเทศผู้ผลิต(อิหร่าน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ คาทัคสถาน รัสเซีย และซาอุดิอาระเบีย) และประเทศผู้ซื้อ (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ณ โรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา ซึ่งผู้เข้าร่วมเสวนามีความเห็นสรุปได้ ดังนี้
2.1 ผู้ผลิต (Producer)
- โครงการท่อขนส่งน้ำมันเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก - ตะวันตก (Strategic Energy Landbridge : SELB) จะทำให้แหล่งสำรองน้ำมันใกล้กับตลาดผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของประเทศผู้ผลิต
- โครงการ SELB ควรมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันครบวงจรและหลากหลาย นอกเหนือจากการขนส่งน้ำมันดิบเพียงอย่างเดียว เช่น อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
- นอกจากนี้ ควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับประเทศต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วนโครงการ ทั้งประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ค้า โดยรัฐบาลไทยจะต้องให้การสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่(political support)
2.2 ผู้ค้า (Trader) และผู้ประกอบการขนส่ง (Shipping)
- โครงการ SELB จะทำให้ผู้ใช้ (end user) สามารถเข้าถึงแหล่งสำรองน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันใกล้มากขึ้น โดยประเทศไทยต้องสร้างรูปแบบทางการค้าที่มีความเป็นพิเศษมากกว่าแหล่งอื่น รวมถึงการสร้างประสิทธิผลด้านราคา (cost effectiveness) และความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิต
- พื้นที่ที่ไม่มีทางออกทะเล(hinterland) จะได้รับประโยชน์จากโครงการ SELB โดยรัฐบาลไทยต้องสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยเฉพาะการเชื่อมไปยังจีนตอนใต้และประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง
- นอกจากการสำรองและขนถ่ายน้ำมันดิบแล้ว โครงการ SELB ควรมีความหลากหลายทั้งกิจกรรมโรงกลั่น ผลิตภัณฑ์น้ำมัน อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการบริการการขนส่งและขนถ่าย (logistics) ซึ่งคล้ายคลึงกับความเห็นของผู้ผลิต
2.3 ผู้ซื้อหรือผู้บริโภค (Consumer)
- ผู้แทนรัฐบาลจีนได้แสดงความสนใจและสนับสนุนโครงการ SELB อย่างมาก เนื่องจากมีความจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเก็บและสำรองน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความมั่นคงของแหล่งน้ำมันที่สามารถจัดซื้อได้ โดยเชื่อมั่นว่าโครงการจะสามารถรองรับความต้องการสำรองน้ำมันของจีนได้
- ผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย โดยโครงการ SELB จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับภูมิภาค ทั้งนี้จำเป็นต้องให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักเข้าร่วมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในโครงการ
- แม้ว่าโครงการ SELB จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งน้ำมันลงได้หากเปรียบเทียบกับการขนส่งทางเรือผ่านช่องแคบมะละกา แต่ความแน่นอนและความมั่นใจในการจัดหาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ที่ประชุมเสวนามีความเห็นว่า ศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทยที่ศรีราชาและโครงการ SELB จะสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างไทยกับสิงคโปร์ได้ เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านยุทธศาสตร์ที่ตั้ง ที่สามารถเข้าถึงตลาดแหล่งใหญ่คือจีนตอนใต้ ดังนั้นการมีศูนย์การค้าน้ำมันทั้งที่ประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ จะช่วยให้เกิดตลาดการค้าน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
1. Thailand Petroleum Trading Center หรือ Sriracha Hub
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 ได้มีการเปิดศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทย(Thailand Petroleum Trading Center) ณ ท่าขนถ่ายน้ำมันเขาบ่อยา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยนายกรัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงปิโตรเลียมของประเทศอิหร่าน (H.E.Dr.Mohammad Hadi Nejad Hosseinian) ผู้แทนจากประเทศที่เกี่ยวข้อง ( เช่น อิหร่าน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ รัสเซีย คาทัคสถาน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี) และผู้ประกอบการค้าน้ำมัน 150 บริษัท จาก 20 ประเทศ ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1.1 พิธีลงนามสัญญาซื้อ - ขายน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และบริษัทคู่ค้าต่างประเทศ ในปริมาณรวมประมาณ 30 ล้านบาร์เรล มูลค่าประมาณ 37,000 ล้านบาท และการลงนามบันทึกความเข้าใจการศึกษาเรื่อง "การผสมน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้า"
1.2 การเปิดศูนย์บริการ One - Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมัน ในพิธีเปิดได้บริการออกใบอนุญาต(Certificate of intent) ให้กับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะทำธุรกรรมการค้าน้ำมันที่ศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทย ซึ่งได้จัดตั้งเป็นเขตปลอดภาษี(Free Zone) ที่มีการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการทำธุรกิจน้ำมัน โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าสมาชิกต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ พร้อมนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย
1.3 ได้มีการปล่อยเรือน้ำมันเพื่อส่งออกน้ำมันเบนซินออกเทน 90 ไปประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นการซื้อ - ขายน้ำมันครั้งแรกภายใต้เขตปลอดภาษี (Free Zone) ที่ศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทย
1.4 การนำเสนอวิดีโอเรื่อง "The Complementary Petroleum and Petrochemical Trading Platform of Asia " เป็นการนำเสนอศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการค้าน้ำมันของภูมิภาค
2. โครงการ Strategic Energy Landbridge
กระทรวงพลังงานได้จัดให้มีการเสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโครงการ Strategic Energy Landbridge โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจน้ำมันจาก 20 บริษัท ที่เป็นทั้งผู้ผลิต(Producer) ผู้ค้า (Trader) ผู้ประกอบการขนส่ง(Shipping) และผู้ซื้อ / ผู้บริโภค (Consumer) และผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ จากประเทศผู้ผลิต(อิหร่าน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ คาทัคสถาน รัสเซีย และซาอุดิอาระเบีย) และประเทศผู้ซื้อ (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ณ โรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา ซึ่งผู้เข้าร่วมเสวนามีความเห็นสรุปได้ ดังนี้
2.1 ผู้ผลิต (Producer)
- โครงการท่อขนส่งน้ำมันเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก - ตะวันตก (Strategic Energy Landbridge : SELB) จะทำให้แหล่งสำรองน้ำมันใกล้กับตลาดผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของประเทศผู้ผลิต
- โครงการ SELB ควรมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันครบวงจรและหลากหลาย นอกเหนือจากการขนส่งน้ำมันดิบเพียงอย่างเดียว เช่น อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
- นอกจากนี้ ควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับประเทศต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วนโครงการ ทั้งประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ค้า โดยรัฐบาลไทยจะต้องให้การสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่(political support)
2.2 ผู้ค้า (Trader) และผู้ประกอบการขนส่ง (Shipping)
- โครงการ SELB จะทำให้ผู้ใช้ (end user) สามารถเข้าถึงแหล่งสำรองน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันใกล้มากขึ้น โดยประเทศไทยต้องสร้างรูปแบบทางการค้าที่มีความเป็นพิเศษมากกว่าแหล่งอื่น รวมถึงการสร้างประสิทธิผลด้านราคา (cost effectiveness) และความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิต
- พื้นที่ที่ไม่มีทางออกทะเล(hinterland) จะได้รับประโยชน์จากโครงการ SELB โดยรัฐบาลไทยต้องสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยเฉพาะการเชื่อมไปยังจีนตอนใต้และประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง
- นอกจากการสำรองและขนถ่ายน้ำมันดิบแล้ว โครงการ SELB ควรมีความหลากหลายทั้งกิจกรรมโรงกลั่น ผลิตภัณฑ์น้ำมัน อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการบริการการขนส่งและขนถ่าย (logistics) ซึ่งคล้ายคลึงกับความเห็นของผู้ผลิต
2.3 ผู้ซื้อหรือผู้บริโภค (Consumer)
- ผู้แทนรัฐบาลจีนได้แสดงความสนใจและสนับสนุนโครงการ SELB อย่างมาก เนื่องจากมีความจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเก็บและสำรองน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความมั่นคงของแหล่งน้ำมันที่สามารถจัดซื้อได้ โดยเชื่อมั่นว่าโครงการจะสามารถรองรับความต้องการสำรองน้ำมันของจีนได้
- ผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย โดยโครงการ SELB จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับภูมิภาค ทั้งนี้จำเป็นต้องให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักเข้าร่วมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในโครงการ
- แม้ว่าโครงการ SELB จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งน้ำมันลงได้หากเปรียบเทียบกับการขนส่งทางเรือผ่านช่องแคบมะละกา แต่ความแน่นอนและความมั่นใจในการจัดหาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ที่ประชุมเสวนามีความเห็นว่า ศูนย์การค้าปิโตรเลียมของประเทศไทยที่ศรีราชาและโครงการ SELB จะสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างไทยกับสิงคโปร์ได้ เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านยุทธศาสตร์ที่ตั้ง ที่สามารถเข้าถึงตลาดแหล่งใหญ่คือจีนตอนใต้ ดังนั้นการมีศูนย์การค้าน้ำมันทั้งที่ประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ จะช่วยให้เกิดตลาดการค้าน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-