แท็ก
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะรัฐมนตรี
มันสำปะหลัง
ธรรมชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้สนับสนุนให้ทุกส่วนราชการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ทำจากมันสำปะหลัง KU-GREEN โดยใช้วิธีกรณีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เฉพาะในช่วงที่มีการรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์บรรจุจากธรรมชาติ ซึ่งไม่ควรเกิน 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548) ทั้งนี้ การให้สิทธิพิเศษดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง ส่งผลดีต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือสามฝ่ายระหว่างมหาววิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลัง KU-GREEN กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะร่วมกันส่งเสริมให้มีการผลิต การตลาด การจำหน่าย และการใช้งานของภาชนะบรรจุ KU-GREEN ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. ตามข้อตกลงในข้อ 1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตกลงให้การสนับสนุนการขยายกำลังการผลิตภาชนะบรรจุ KU-GREEN เพื่อนำไปใช้ในเขตอุทยานแห่งชาติทุกแห่งทั่วประเทศ โดยวิธีการว่าจ้าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผลิตภาชนะบรรจุ KU-GREEN ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติฯ กำหนดส่งมอบครั้งแรกในปี 2546 ในวงเงิน 20 ล้านบาท โดยการว่าจ้างนั้นเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติฯ ดำเนินการสั่งซื้อสั่งจ้างตามเงื่อนไขข้อตกลง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แจ้งว่า ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีกรณีพิเศษได้ เนื่องจากมหาววิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล จึงต้องมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง
3. ศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงกราบเรียนนายก-รัฐมนตรีขอให้พิจารณาสนับสนุนให้ทุกส่วนราชการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุ KU-GREEN โดยใช้วิธีกรณีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การดำเนินการผลิตภาชนะบรรจุ KU-GREEN ของศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานนี้ตามประกาศของสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิพิเศษตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธุ์ 2531 เนื่องจากการดำเนินการของศูนย์ฯ เป็นการนำผลงานวิจัยที่พัฒนาแล้วไปขยายผลและพัฒนา เป็นการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ มีการบริหารและจัดการด้านการตลาด และการผลิตร่วมกับภาคเอกชน
5. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเห็นว่าผลิตภัณฑ์บรรจุ KU-GREEN เป็นผลิตภัณฑ์จากการร่วมทุนทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการวิจัยหรือพัฒนาการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยหรือส่วนราชการประการเดียว จึงอยู่นอกเหนือกรณีที่จะได้รับการยกเว้นให้จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ อย่างไรก็ตาม การจัดทำผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุ KU-GREEN ดังกล่าว เป็นการสนับสนุนผลิตผลการเกษตรภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังเป็นส่วนช่วยเสริมรายได้ของเกษตรกรและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลดปัญหามลภาวะ จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์โดยตรง ทั้งนี้ หากพิจารณาให้สิทธิพิเศษตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร้องขอ อาจมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรี แต่หากเรื่องนี้ไม่มีการนำหรือรณรงค์โดยรัฐก็ยากที่จะก่อให้เกิดความแพร่หลายของภาคประชาชน ดังนั้น หากจะพิจารณาให้สิทธิพิเศษโดยมีผลกระทบน้อยที่สุด ก็ควรกำหนดระยะเวลาเท่าที่จำเป็นในช่วงที่มีการรณรงค์ และควรให้สิทธินี้กับสถาบันการศึกษาอื่นได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือสามฝ่ายระหว่างมหาววิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลัง KU-GREEN กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะร่วมกันส่งเสริมให้มีการผลิต การตลาด การจำหน่าย และการใช้งานของภาชนะบรรจุ KU-GREEN ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. ตามข้อตกลงในข้อ 1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตกลงให้การสนับสนุนการขยายกำลังการผลิตภาชนะบรรจุ KU-GREEN เพื่อนำไปใช้ในเขตอุทยานแห่งชาติทุกแห่งทั่วประเทศ โดยวิธีการว่าจ้าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผลิตภาชนะบรรจุ KU-GREEN ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติฯ กำหนดส่งมอบครั้งแรกในปี 2546 ในวงเงิน 20 ล้านบาท โดยการว่าจ้างนั้นเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติฯ ดำเนินการสั่งซื้อสั่งจ้างตามเงื่อนไขข้อตกลง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แจ้งว่า ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีกรณีพิเศษได้ เนื่องจากมหาววิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล จึงต้องมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง
3. ศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงกราบเรียนนายก-รัฐมนตรีขอให้พิจารณาสนับสนุนให้ทุกส่วนราชการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุ KU-GREEN โดยใช้วิธีกรณีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การดำเนินการผลิตภาชนะบรรจุ KU-GREEN ของศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานนี้ตามประกาศของสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิพิเศษตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธุ์ 2531 เนื่องจากการดำเนินการของศูนย์ฯ เป็นการนำผลงานวิจัยที่พัฒนาแล้วไปขยายผลและพัฒนา เป็นการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ มีการบริหารและจัดการด้านการตลาด และการผลิตร่วมกับภาคเอกชน
5. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเห็นว่าผลิตภัณฑ์บรรจุ KU-GREEN เป็นผลิตภัณฑ์จากการร่วมทุนทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการวิจัยหรือพัฒนาการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยหรือส่วนราชการประการเดียว จึงอยู่นอกเหนือกรณีที่จะได้รับการยกเว้นให้จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ อย่างไรก็ตาม การจัดทำผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุ KU-GREEN ดังกล่าว เป็นการสนับสนุนผลิตผลการเกษตรภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังเป็นส่วนช่วยเสริมรายได้ของเกษตรกรและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลดปัญหามลภาวะ จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์โดยตรง ทั้งนี้ หากพิจารณาให้สิทธิพิเศษตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร้องขอ อาจมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรี แต่หากเรื่องนี้ไม่มีการนำหรือรณรงค์โดยรัฐก็ยากที่จะก่อให้เกิดความแพร่หลายของภาคประชาชน ดังนั้น หากจะพิจารณาให้สิทธิพิเศษโดยมีผลกระทบน้อยที่สุด ก็ควรกำหนดระยะเวลาเท่าที่จำเป็นในช่วงที่มีการรณรงค์ และควรให้สิทธินี้กับสถาบันการศึกษาอื่นได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-