คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 70 ปี ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังเสนอว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดสร้างเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 70 ปี ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ราชบัณฑิตยสถานได้รับการสถาปนามาครบ 70 ปี กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นสมควรจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 70 ปี ราชบัณฑิตยสถาน จำนวนหนึ่งชนิด คือ เหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา จำนวนผลิตไม่เกิน 2,500,000 เหรียญ ซึ่งในการดำเนินการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวนี้ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลายและลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ราคาสิบบาท หนึ่งชนิดออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาส 70 ปี ราชบัณฑิตยสถาน ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงการคลังเสนอว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดสร้างเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 70 ปี ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ราชบัณฑิตยสถานได้รับการสถาปนามาครบ 70 ปี กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นสมควรจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 70 ปี ราชบัณฑิตยสถาน จำนวนหนึ่งชนิด คือ เหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา 10 บาท ประเภทธรรมดา จำนวนผลิตไม่เกิน 2,500,000 เหรียญ ซึ่งในการดำเนินการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวนี้ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลายและลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ราคาสิบบาท หนึ่งชนิดออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาส 70 ปี ราชบัณฑิตยสถาน ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-