คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของหน่วยงานย่อย พ.ศ. …. ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเก้บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของหน่วยงานย่อยพ.ศ. …. แก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ดังนี้
1. การเบิกเงินเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้หน่วยงานย่อยขอเบิกเงินจากส่วนราชการผู้เบิกมาเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินเอง
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานย่อยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ขอเบิกเงินจากส่วนราชการผู้เบิก โดยให้แจ้งรายละเอียดและหลักฐานประกอบการขอเบิก (ถ้ามี) ไปด้วย ซึ่งส่วนราชการผู้เบิกจะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ตลอดจนข้าราชการ ลูกจ้าง ของหน่วยงานย่อยโดยตรงต่อไป
2. การยืมเงินงบประมาณ
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้ผู้ยืมเงินของหน่วยงานย่อยทำสัญญายืมเงินผ่านหน่วยงานย่อย เพื่อเสนอส่วนราชการผู้เบิกให้อนุมัติและจ่ายเงินตามสัญญายืมเงิน
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้ผู้ยืมเงินของหน่วยงานย่อยทำสัญญายืมเงิน และส่งใช้เงินยืมโดยตรงกับส่วนราชการผู้เบิก โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานย่อยเพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
3. การเก็บรักษาเงิน
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้หน่วยงานย่อยเก็บรักษาเงินไว้ในตู้นิรภัยของอำเภอ ซึ่งตั้งอยู่ ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอต่าง ๆ โดยมีคณะกรรมการเก็บรักษาเงินของอำเภอร่วมกันรับผิดชอบ
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้หน่วยงานย่อยเก็บรักษาเงินที่มีอยู่ไว้ในตู้นิรภัย ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานของหน่วยงานย่อย โดยให้หัวหน้าหน่วยงานย่อยแต่งตั้งข้าราชการในหน่วยงานเป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้นได้กำหนดวิธีการเก็บรักษาเงินเพิ่มเติมขึ้นอีกวิธีหนึ่งโดยให้ใช้บริการของธนาคารในการเก็บรักษาเงินได้
4. การนำเงินส่งคลัง
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้มีคณะกรรมการนำส่งของอำเภอดูแลรับผิดชอบนำเงินของหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ในอำเภอนั้นส่งคลัง
- วิธีปฏิบัติใหม่ ยกเลิกคณะกรรมการนำส่งของอำเภอ และกำหนดให้หน่วยงานย่อยแต่ละแห่งนำเงินที่เก็บรักษาไว้ส่งคลังได้เอง เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเก็บรักษาเงินที่กำหนดขึ้นใหม่
5. การบันทึกบัญชี
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้หน่วยงานย่อยบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีหน่วยงานย่อย
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้หน่วยงานย่อยจัดทำรายงานและทะเบียนคุมต่าง ๆ โดยบันทึกในระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อยที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้การปฏิบัติงานในด้านการจัดทำและควบคุมทางบัญชีสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งจะเหมาะสมกับสภาพของหน่วยงานย่อยโดยทั่วไปที่มีอัตรากำลังจำกัดและขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในทางบัญชี
6. การตรวจสอบ
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้นายอำเภอเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบการเงินของส่วนราชการในอำเภอ
- วิธีปฏิบัติใหม่ ให้หัวหน้าหน่วยงานย่อยเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบการเงินของส่วนราชการในอำเภอ และรายงานผลการตรวจสอบให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกเพื่อพิจารณาต่อไป และปรับเปลี่ยนรายละเอียดในการตรวจสอบเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในระบบใหม่
7. กำหนดให้กรมบัญชีกลางมีอำนาจกำหนดประเภทและรูปแบบของใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการจ่ายและรายงานการเงินคงเหลือประจำวันซึ่งเป็นเอกสารในทางการเงิน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม คล่องตัวและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
สาระสำคัญร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเก้บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของหน่วยงานย่อยพ.ศ. …. แก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ดังนี้
1. การเบิกเงินเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้หน่วยงานย่อยขอเบิกเงินจากส่วนราชการผู้เบิกมาเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินเอง
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานย่อยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ขอเบิกเงินจากส่วนราชการผู้เบิก โดยให้แจ้งรายละเอียดและหลักฐานประกอบการขอเบิก (ถ้ามี) ไปด้วย ซึ่งส่วนราชการผู้เบิกจะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ตลอดจนข้าราชการ ลูกจ้าง ของหน่วยงานย่อยโดยตรงต่อไป
2. การยืมเงินงบประมาณ
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้ผู้ยืมเงินของหน่วยงานย่อยทำสัญญายืมเงินผ่านหน่วยงานย่อย เพื่อเสนอส่วนราชการผู้เบิกให้อนุมัติและจ่ายเงินตามสัญญายืมเงิน
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้ผู้ยืมเงินของหน่วยงานย่อยทำสัญญายืมเงิน และส่งใช้เงินยืมโดยตรงกับส่วนราชการผู้เบิก โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานย่อยเพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
3. การเก็บรักษาเงิน
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้หน่วยงานย่อยเก็บรักษาเงินไว้ในตู้นิรภัยของอำเภอ ซึ่งตั้งอยู่ ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอต่าง ๆ โดยมีคณะกรรมการเก็บรักษาเงินของอำเภอร่วมกันรับผิดชอบ
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้หน่วยงานย่อยเก็บรักษาเงินที่มีอยู่ไว้ในตู้นิรภัย ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานของหน่วยงานย่อย โดยให้หัวหน้าหน่วยงานย่อยแต่งตั้งข้าราชการในหน่วยงานเป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้นได้กำหนดวิธีการเก็บรักษาเงินเพิ่มเติมขึ้นอีกวิธีหนึ่งโดยให้ใช้บริการของธนาคารในการเก็บรักษาเงินได้
4. การนำเงินส่งคลัง
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้มีคณะกรรมการนำส่งของอำเภอดูแลรับผิดชอบนำเงินของหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ในอำเภอนั้นส่งคลัง
- วิธีปฏิบัติใหม่ ยกเลิกคณะกรรมการนำส่งของอำเภอ และกำหนดให้หน่วยงานย่อยแต่ละแห่งนำเงินที่เก็บรักษาไว้ส่งคลังได้เอง เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเก็บรักษาเงินที่กำหนดขึ้นใหม่
5. การบันทึกบัญชี
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้หน่วยงานย่อยบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีหน่วยงานย่อย
- วิธีปฏิบัติใหม่ กำหนดให้หน่วยงานย่อยจัดทำรายงานและทะเบียนคุมต่าง ๆ โดยบันทึกในระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อยที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้การปฏิบัติงานในด้านการจัดทำและควบคุมทางบัญชีสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งจะเหมาะสมกับสภาพของหน่วยงานย่อยโดยทั่วไปที่มีอัตรากำลังจำกัดและขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในทางบัญชี
6. การตรวจสอบ
- วิธีปฏิบัติเดิม กำหนดให้นายอำเภอเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบการเงินของส่วนราชการในอำเภอ
- วิธีปฏิบัติใหม่ ให้หัวหน้าหน่วยงานย่อยเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบการเงินของส่วนราชการในอำเภอ และรายงานผลการตรวจสอบให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกเพื่อพิจารณาต่อไป และปรับเปลี่ยนรายละเอียดในการตรวจสอบเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในระบบใหม่
7. กำหนดให้กรมบัญชีกลางมีอำนาจกำหนดประเภทและรูปแบบของใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการจ่ายและรายงานการเงินคงเหลือประจำวันซึ่งเป็นเอกสารในทางการเงิน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม คล่องตัวและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-