คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป และมอบให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงถ้อยคำในมาตรา 6 จากเดิม "ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหักเงินงบประมาณรายได้ประจำปีสมทบเข้าเป็นกองทุน" เป็น "ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหักเงินประมาณการรายรับในงบประมาณรายจ่ายประจำปีสมทบเข้าเป็นกองทุน"
2. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นในมาตรา 7จาก "อธิบดีกรมมหาดไทย อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมโยธาธิการ" เป็น "อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอธิบดีกรมการปกครอง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย"
3. เพิ่มหลักการของบำเหน็จดำรงชีพ โดยให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้รับบำนาญสามารถนำบำเหน็จตกทอดมาใช้ได้ไม่เกิน 15 เท่าของเงินบำนาญ
ส่วนประเด็นอภิปรายที่สำคัญ มีดังนี้
1. ตามร่างมาตรา 46/1 กำหนดให้ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกิน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับนั้นเห็นควรกำหนดจำนวนเงินขั้นสูงไว้ไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อให้เป็นอัตราเดียวกันกับการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้แก่ผู้รับบำนาญของข้าราชการพลเรือนฯ และไม่เกิดผลกระทบกับข้าราชการที่ได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
2. การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับบำเหน็จดำรงชีพของราชการส่วนท้องถิ่น ควรให้มีแนวทางเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพที่ให้กับข้าราชการพลเรือนที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำและประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว ยกเว้นในส่วนที่เป็นเรื่องของข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่ร่างพระราชบัญญัติกำหนด
3. สำหรับค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาล ในจำนวนนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 803 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลโดยสำนักงบประมาณจัดสรรไว้เป็นเงิน 495 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 308 ล้านบาท ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งผู้แทนกระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่า ได้คำนวณตัวเลขแล้ว กองทุนฯ สามารถจ่ายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงถ้อยคำในมาตรา 6 จากเดิม "ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหักเงินงบประมาณรายได้ประจำปีสมทบเข้าเป็นกองทุน" เป็น "ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหักเงินประมาณการรายรับในงบประมาณรายจ่ายประจำปีสมทบเข้าเป็นกองทุน"
2. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นในมาตรา 7จาก "อธิบดีกรมมหาดไทย อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมโยธาธิการ" เป็น "อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอธิบดีกรมการปกครอง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย"
3. เพิ่มหลักการของบำเหน็จดำรงชีพ โดยให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้รับบำนาญสามารถนำบำเหน็จตกทอดมาใช้ได้ไม่เกิน 15 เท่าของเงินบำนาญ
ส่วนประเด็นอภิปรายที่สำคัญ มีดังนี้
1. ตามร่างมาตรา 46/1 กำหนดให้ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกิน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับนั้นเห็นควรกำหนดจำนวนเงินขั้นสูงไว้ไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อให้เป็นอัตราเดียวกันกับการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้แก่ผู้รับบำนาญของข้าราชการพลเรือนฯ และไม่เกิดผลกระทบกับข้าราชการที่ได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
2. การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับบำเหน็จดำรงชีพของราชการส่วนท้องถิ่น ควรให้มีแนวทางเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพที่ให้กับข้าราชการพลเรือนที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำและประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว ยกเว้นในส่วนที่เป็นเรื่องของข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะก็ให้เป็นไปตามที่ร่างพระราชบัญญัติกำหนด
3. สำหรับค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาล ในจำนวนนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 803 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลโดยสำนักงบประมาณจัดสรรไว้เป็นเงิน 495 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 308 ล้านบาท ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งผู้แทนกระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่า ได้คำนวณตัวเลขแล้ว กองทุนฯ สามารถจ่ายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-