คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานการจัดงานเทศกาลชาโลก ปี 2547ณ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 6 - 8 กุมภาพันธ์ 2547 ว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตชาพันธุ์ดีอีกแห่งหนึ่งของโลก มีพื้นที่ปลูกชารวม 97,000 ไร่ สามารถผลิตใบชาแห้งได้ปีละประมาณ 6,000 ตัน ปัจจุบันสามารถส่งออกชาไปจำหน่ายต่างประเทศได้มากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มที่จะส่งออกได้มากขึ้นในอนาคต
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงราย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และบริษัท Tea Board India จำกัด จัดงานเทศกาลชาโลกขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าในการช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูง ในการเปลี่ยนไร่ฝิ่นเป็นสวนชา 2) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชาไทย ให้เป็นที่รู้จักทั้งภายในและต่างประเทศ 3) เพื่อถ่ายทอดความรู้ การผลิตชาและการแปรรูปชาที่มีคุณภาพไปสู่เกษตรกรเป้าหมาย 4) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
ผู้เข้าร่วมในพิธีเปิดงาน
1. ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งเป็นวันเปิดงาน ได้มีการเชิญชวนให้มีการดื่มชาล้านถ้วยพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าที่ช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูง "เปลี่ยนไร่ฝิ่นเป็นสวนชา"
2. ผู้เข้าร่วมงานในวันแรก จำนวน 84,000 คน ประกอบไปด้วย เอกอัครราชทูต อัครราชทูต และผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ 17 ประเทศ เช่น โปแลนด์ ฝรั่งเศส โรมาเนีย ฮังการี แคนาดา ญี่ปุ่น เป็นต้น มีการถ่ายทอดสดทางTV ช่อง 11 และเครือข่ายในต่างประเทศ
3. ในช่วง 3 วันแรกมีผู้เข้าชมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประกวด นิทรรศการ การออกร้าน เวทีกลาง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น รวม 174,300 คน
การจัดนิทรรศการ มีการจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่า ในการช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูง การชิมชานานาชาติ การชงและการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ขบวนการผลิต การปลูก ระบบการให้น้ำ การดูแลรักษาการเก็บเกี่ยว การแปรรูปชา อาหารที่ปรุงจากชา และนิทรรศการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การสัมมนา จะจัดให้มีการสัมมนาแนวทางการพัฒนาชาไทยสู่สากล ซึ่งจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ มาบรรยายให้ความรู้ แสดงความคิดเห็น โดยมีผู้ร่วมสัมมนาประมาณ 300 คน โดยจะมีการสัมมนาระหว่างวันที่9 - 10 กุมภาพันธ์ 2547
การประกวดและการแข่งขัน 1) การประกวดใบชา แบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ ชาพันธุ์อู่หลง และพันธุ์อัสสัม2) การประกวดอาหารหวานและอาหารคาวจากใบชา 3) ออกแบบถ้วยชาและบรรจุภัณฑ์ใบชา 4) การประกวดร้านชิมชา5) การประกวดไม้ดอก 6) การประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม และ 7) การแข่งขันมินิมาราธอน
การแสดงเชิงศิลปวรรณกรรม ประเพณี และสืบตำนานชาไทย การแสดงตำนานจากแดนฝิ่น สู่ถิ่นชาบนจอม่านน้ำขนาดใหญ่ พร้อมเทคนิค แสง สี เสียง ตระการตา
ผลทางเศรษฐกิจ การจัดงานในช่วง 3 วัน ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนรวมทั้งสิ้นประมาณ 42.33ล้านบาท แยกเป็น
1. การเจรจาธุรกิจ มีการเปิดร้านชิมชาเพื่อการเจรจาซื้อขายชาคุณภาพดี จำนวน 30 ร้าน โดยมีผู้สนใจเจรจาเสนอซื้อ 217 ราย มาจากภาคต่าง ๆ ของไทย และชาวต่างประเทศ เช่น สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ซึ่อยู่ระหว่างการเจรจา นอกจากนี้ยังขายชาให้แก่ผู้เข้าชมงานได้ประมาณ 3.02 ล้านบาท
2. การจำหน่ายสินค้า เช่น สินค้า OTOP สินค้าของสมาชิกสหกรณ์กลุ่มต่าง ๆ และสินค้าอื่น ๆ ประมาณ6.10 ล้านบาท
3. วงเงินหมุนเวียน ค่าใช้จ่ายของผู้เดินทางมาชมงาน เช่น ค่าที่พัก อาหาร และค่าพาหนะในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงประมาณ 33.21 ล้านบาท
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดงาน
1. เกษตรกรและผู้เข้าชมงานทั่วไปได้รับทราบถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าที่ทรงมีพระเมตตาในการให้ความช่วยเหลือประชาชนบนที่สูง จนสามารถทำให้เปลี่ยนมาปลูกชาทดแทนฝิ่นได้อย่างถาวร ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนเหล่านั้นดีขึ้น จนเป็นคำกล่าวว่า "จากแดนฝิ่นสู่ถิ่นชา"
2. เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกชา การดูแลรักษา รู้คุณค่าของชา และรายได้จากการปลูกชาทำให้เกิดการตื่นตัวที่จะยกระดับการผลิต คุณภาพชาไทย และช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสประกอบอาชีพเกี่ยวกับชาได้อย่างมั่นคง
3. ทำให้ผู้บริโภครู้จักชาไทย รู้จักการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ทำให้มีผู้นิยมดื่มชามากขึ้น ช่วยให้มีความต้องการชาไทยเพิ่มมากขึ้น
4. ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของชาไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
5. เป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จะเห็นได้จากการที่มีผู้มาเที่ยวชมงานจำนวนมาก
6. ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในจังหวัดเชียงรายเป็นจำนวนมาก และทำให้ผู้ผลิตชาและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มีความพอใจต่อรายได้จากการขายสินค้าในงาน
7. ผู้ผลิตชาและนักธุรกิจค้าชามีความพึงพอใจที่ได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชาคุณภาพดีซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตและจำหน่ายต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงราย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และบริษัท Tea Board India จำกัด จัดงานเทศกาลชาโลกขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าในการช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูง ในการเปลี่ยนไร่ฝิ่นเป็นสวนชา 2) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชาไทย ให้เป็นที่รู้จักทั้งภายในและต่างประเทศ 3) เพื่อถ่ายทอดความรู้ การผลิตชาและการแปรรูปชาที่มีคุณภาพไปสู่เกษตรกรเป้าหมาย 4) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
ผู้เข้าร่วมในพิธีเปิดงาน
1. ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งเป็นวันเปิดงาน ได้มีการเชิญชวนให้มีการดื่มชาล้านถ้วยพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าที่ช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูง "เปลี่ยนไร่ฝิ่นเป็นสวนชา"
2. ผู้เข้าร่วมงานในวันแรก จำนวน 84,000 คน ประกอบไปด้วย เอกอัครราชทูต อัครราชทูต และผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ 17 ประเทศ เช่น โปแลนด์ ฝรั่งเศส โรมาเนีย ฮังการี แคนาดา ญี่ปุ่น เป็นต้น มีการถ่ายทอดสดทางTV ช่อง 11 และเครือข่ายในต่างประเทศ
3. ในช่วง 3 วันแรกมีผู้เข้าชมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประกวด นิทรรศการ การออกร้าน เวทีกลาง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น รวม 174,300 คน
การจัดนิทรรศการ มีการจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่า ในการช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูง การชิมชานานาชาติ การชงและการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ขบวนการผลิต การปลูก ระบบการให้น้ำ การดูแลรักษาการเก็บเกี่ยว การแปรรูปชา อาหารที่ปรุงจากชา และนิทรรศการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การสัมมนา จะจัดให้มีการสัมมนาแนวทางการพัฒนาชาไทยสู่สากล ซึ่งจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ มาบรรยายให้ความรู้ แสดงความคิดเห็น โดยมีผู้ร่วมสัมมนาประมาณ 300 คน โดยจะมีการสัมมนาระหว่างวันที่9 - 10 กุมภาพันธ์ 2547
การประกวดและการแข่งขัน 1) การประกวดใบชา แบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ ชาพันธุ์อู่หลง และพันธุ์อัสสัม2) การประกวดอาหารหวานและอาหารคาวจากใบชา 3) ออกแบบถ้วยชาและบรรจุภัณฑ์ใบชา 4) การประกวดร้านชิมชา5) การประกวดไม้ดอก 6) การประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม และ 7) การแข่งขันมินิมาราธอน
การแสดงเชิงศิลปวรรณกรรม ประเพณี และสืบตำนานชาไทย การแสดงตำนานจากแดนฝิ่น สู่ถิ่นชาบนจอม่านน้ำขนาดใหญ่ พร้อมเทคนิค แสง สี เสียง ตระการตา
ผลทางเศรษฐกิจ การจัดงานในช่วง 3 วัน ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนรวมทั้งสิ้นประมาณ 42.33ล้านบาท แยกเป็น
1. การเจรจาธุรกิจ มีการเปิดร้านชิมชาเพื่อการเจรจาซื้อขายชาคุณภาพดี จำนวน 30 ร้าน โดยมีผู้สนใจเจรจาเสนอซื้อ 217 ราย มาจากภาคต่าง ๆ ของไทย และชาวต่างประเทศ เช่น สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ซึ่อยู่ระหว่างการเจรจา นอกจากนี้ยังขายชาให้แก่ผู้เข้าชมงานได้ประมาณ 3.02 ล้านบาท
2. การจำหน่ายสินค้า เช่น สินค้า OTOP สินค้าของสมาชิกสหกรณ์กลุ่มต่าง ๆ และสินค้าอื่น ๆ ประมาณ6.10 ล้านบาท
3. วงเงินหมุนเวียน ค่าใช้จ่ายของผู้เดินทางมาชมงาน เช่น ค่าที่พัก อาหาร และค่าพาหนะในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงประมาณ 33.21 ล้านบาท
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดงาน
1. เกษตรกรและผู้เข้าชมงานทั่วไปได้รับทราบถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าที่ทรงมีพระเมตตาในการให้ความช่วยเหลือประชาชนบนที่สูง จนสามารถทำให้เปลี่ยนมาปลูกชาทดแทนฝิ่นได้อย่างถาวร ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนเหล่านั้นดีขึ้น จนเป็นคำกล่าวว่า "จากแดนฝิ่นสู่ถิ่นชา"
2. เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกชา การดูแลรักษา รู้คุณค่าของชา และรายได้จากการปลูกชาทำให้เกิดการตื่นตัวที่จะยกระดับการผลิต คุณภาพชาไทย และช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสประกอบอาชีพเกี่ยวกับชาได้อย่างมั่นคง
3. ทำให้ผู้บริโภครู้จักชาไทย รู้จักการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ทำให้มีผู้นิยมดื่มชามากขึ้น ช่วยให้มีความต้องการชาไทยเพิ่มมากขึ้น
4. ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของชาไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
5. เป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จะเห็นได้จากการที่มีผู้มาเที่ยวชมงานจำนวนมาก
6. ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในจังหวัดเชียงรายเป็นจำนวนมาก และทำให้ผู้ผลิตชาและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มีความพอใจต่อรายได้จากการขายสินค้าในงาน
7. ผู้ผลิตชาและนักธุรกิจค้าชามีความพึงพอใจที่ได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชาคุณภาพดีซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตและจำหน่ายต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-