คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานมาตรการเพิ่มเติมในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่าว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่า เพื่อให้การติดตาม เฝ้าระวัง และการแก้ไขปัญหาโรคระบาดดังกล่าวสามารถดำเนินอย่างรวดเร็ว และทันกับเหตุการณ์ และสามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องได้โดยเร็ว ทั้งนี้ ที่ทำการศูนย์ฯ ตั้งอยู่ชั้นที่ 19 ตึกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะดำเนินการต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน 2547
กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคในหลายพื้นที่ได้ดำเนินการร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในการเก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำบริเวณพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกมาตรวจสอบ (จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม นนทบุรีสิงห์บุรี ชัยนาท พิษณุโลก และอุตรดิตถ์) ผลการตรวจสอบไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อไข้หวัดนก
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง ติดตาม และควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) ในสัตว์ป่า (Wildlife)และสัตว์ชนิดที่มิใช่ปศุสัตว์ (Non-livestock) ทั้งในและนอกพื้นที่ธรรมชาติ รวมทั้งในพื้นที่ครอบครองของเอกชน และเพื่อเฝ้าระวังโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคระบาด (epidemic) หรือโรคระบาดใหญ่ (pandemic) อันเนื่องมาจากสัตว์ป่าสัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ ซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรค ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ความเจ็บป่วยของปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงประชาชน (โรคสัตว์สู่คน) และสัตว์ป่า โดยมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำ "โครงการเฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ"เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยเน้นการพิสูจน์ทราบการแพร่กระจายของเชื้อโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ เพื่อจะได้แจ้งเตือนล่วงหน้าไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการวางแผน การตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานวิชาการที่ถูกต้องและแม่นยำในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคในหลายพื้นที่ได้ดำเนินการร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในการเก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำบริเวณพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกมาตรวจสอบ (จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม นนทบุรีสิงห์บุรี ชัยนาท พิษณุโลก และอุตรดิตถ์) ผลการตรวจสอบไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อไข้หวัดนก
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง ติดตาม และควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) ในสัตว์ป่า (Wildlife)และสัตว์ชนิดที่มิใช่ปศุสัตว์ (Non-livestock) ทั้งในและนอกพื้นที่ธรรมชาติ รวมทั้งในพื้นที่ครอบครองของเอกชน และเพื่อเฝ้าระวังโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคระบาด (epidemic) หรือโรคระบาดใหญ่ (pandemic) อันเนื่องมาจากสัตว์ป่าสัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ ซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรค ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ความเจ็บป่วยของปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงประชาชน (โรคสัตว์สู่คน) และสัตว์ป่า โดยมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำ "โครงการเฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ"เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยเน้นการพิสูจน์ทราบการแพร่กระจายของเชื้อโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ เพื่อจะได้แจ้งเตือนล่วงหน้าไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการวางแผน การตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานวิชาการที่ถูกต้องและแม่นยำในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-