เรื่อง การดำเนินงานของกรมทรัพยากรธรณี เรื่อง ซากหอยขมดึกดำบรรพ์ที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ และ
การของบประมาณงบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพฯ โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์
ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับซากหอยดึกดำบรรพ์ที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสังคม) ไปดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ดังนี้
1. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการกันพื้นที่พบแหล่งซากหอยดึกดำบรรพ์ จำนวน 43 ไร่ ออกจากแปลงประทานบัตรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมาตรา 9 ตรี แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศพื้นที่แหล่งพบซากหอยดึกดำบรรพ์ ซึ่งได้กันออกตามข้อ 1 เป็นพื้นที่สำรวจ ทดลอง ศึกษาวิจัย ตามมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศพื้นที่ ตามข้อ 1 เป็นเขตอนุรักษ์ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ เพื่อพัฒนาพื้นที่แหล่งซากหอยดึกดำบรรพ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง และดำเนินการให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรณีวิทยา หรืออุทยานธรณีวิทยา (Geopark) ตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโกต่อไป
สำหรับรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2547 จำนวน 200 ล้านบาท โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ นั้นให้กรมทรัพยากรธรณีตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรธรณี) ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับซากหอยดึกดำบรรพ์ที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ดังนี้
1. ผลการสำรวจ กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจร่วมกับ กฟผ. จำนวน 4 ครั้ง พบว่า
1.1 ชั้นซากหอยมีลักษณะรูปเลนซ์แทรกอยู่ระหว่างชั้นถ่าน K4 ซึ่งอยู่ด้านล่าง และ K3 ซึ่งปิดทับอยู่ด้านบน คลุมพื้นที่ 43 ไร่
1.2 ชั้นหอยมีความหนาสูงสุดประมาณ 12 เมตร ประกอบด้วย ตัวหอยกาบเดี่ยว (gastropod) เพียงชนิดเดียว ไม่มีตะกอนปะปน ตัวหอยมีขนาดต่าง ๆ กัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bellamya sp. มีอายุ 13 ล้านปีจัดอยู่ในวงศ์ Viviparidae มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า mud snail เป็นหอยน้ำจืด อาศัยอยู่บนพื้นดินโคลน กินอาหารจำพวกสาหร่าย ตะไคร่ แพลงค์ตอน สัตว์น้ำเล็ก ๆ และจอกแหนในหนองบึง
1.3 จากการตรวจสอบกับรายงานการค้นพบแหล่งซากหอยดึกดำบรรพ์ทั่วโลก พบว่า
1) ชั้นหอยที่สะสมตัวตามธรรมชาติที่มีอายุใกล้เคียงกับชั้นหอยที่แม่เมาะ คือ มีอายุ 13 - 11.5ล้านปี พบที่หมู่บ้าน Nexing ตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีความหนาถึง 19 เมตร แต่หอยที่พบมีหลายชนิด และทั้งหมดเป็นหอยน้ำเค็ม
2) ชั้นหอยสะสมตัวตามธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งพบที่ชายฝั่งตะวันตกของประเทศออสเตรเลียบริเวณ Shark Bay ประกอบด้วยหอยกาบคู่น้ำเค็ม มีอายุ 4,000 ปี ชั้นหอยแห่งนี้ได้รับการยกระดับให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2534
3) ชั้นหอยดึกดำบรรพ์น้ำจืดที่เหมืองแม่เมาะของประเทศไทย ซึ่งมีความหนาถึง 12 เมตร จึงเป็นชั้นหอยน้ำจืดที่มีความหนามากที่สุดในโลก และมีความสำคัญถึงระดับมรดกโลก
2. การดำเนินการด้านกฎหมาย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้พิจารณาการดำเนินการกันพื้นที่ที่พบซากดึกดำบรรพ์ จำนวน 43 ไร่ ออกจากเขตประทานบัตรของ กฟผ. แปลงเลขที่ 24349/16341 ตามมาตรา 9 ตรี แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ประกาศเป็นพื้นที่สำรวจ ทดลอง ศึกษาวิจัย ตามมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และจะได้ดำเนินการร่วมกับ กฟผ. พัฒนาให้เป็นแหล่งศึกษาของนักเรียน นักศึกษา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศต่อไป
3. ความก้าวหน้าของการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
กรมทรัพยากรธรณีร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อมิให้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และกฎหมายอื่น
นอกจากนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรธรณี) ได้จัดทำรายละเอียดโครงการพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเสนอขออนุมัติงบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2547 จำนวน 200 ล้านบาท ดังนี้
1. ปัจจุบันอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ยังไม่มีการตกแต่งอาคารให้สามารถใช้งานได้ กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง จึงหาทางพัฒนาอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เพื่อให้อาคารพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมรองรับงานศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ และสามารถนำข้อมูลจากการวิจัยมาจัดแสดงหรือบริการความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งให้อาคารพิพิธภัณฑ์ฯ พร้อมเปิดบริการแก่ประชาชนได้ โดยมีเป้าหมายให้ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโดเสาร์ภูกุ้มข้าวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสถานที่เตรียมตัวอย่าง ศึกษาวิจัย อนุรักษ์เก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง เผยแพร่ข้อมูล จัดแสดงนิทรรศการและให้บริการด้านการศึกษาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
2. การจัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ข้อ 2 การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และข้อ 3 การพัฒนาสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนอย่างเป็นธรรม
3. ในการพัฒนาอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
3.1 ปรับปรุงสถาปัตยกรรมอาคารทั่วไป วงเงิน 35 ล้านบาท
3.2 จัดทำระบบ คือ งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร งานระบบปรับอากาศ งานระบบเสียง และงานระบบโทรทัศน์วงจรปิด วงเงิน 65 ล้านบาท
3.3 จัดตกแต่งภายในพร้อมครุภัณฑ์ส่วนห้องปฏิบัติการและงานวิจัย ส่วนสาธารณะและบริการ และส่วนห้องประชุมและสัมมนา วงเงิน 90 ล้านบาท
3.4 จัดทำภูมิทัศน์ วงเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประสานในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
การของบประมาณงบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพฯ โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์
ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับซากหอยดึกดำบรรพ์ที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสังคม) ไปดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ดังนี้
1. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการกันพื้นที่พบแหล่งซากหอยดึกดำบรรพ์ จำนวน 43 ไร่ ออกจากแปลงประทานบัตรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมาตรา 9 ตรี แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศพื้นที่แหล่งพบซากหอยดึกดำบรรพ์ ซึ่งได้กันออกตามข้อ 1 เป็นพื้นที่สำรวจ ทดลอง ศึกษาวิจัย ตามมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศพื้นที่ ตามข้อ 1 เป็นเขตอนุรักษ์ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ เพื่อพัฒนาพื้นที่แหล่งซากหอยดึกดำบรรพ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง และดำเนินการให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรณีวิทยา หรืออุทยานธรณีวิทยา (Geopark) ตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโกต่อไป
สำหรับรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2547 จำนวน 200 ล้านบาท โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ นั้นให้กรมทรัพยากรธรณีตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรธรณี) ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับซากหอยดึกดำบรรพ์ที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ดังนี้
1. ผลการสำรวจ กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจร่วมกับ กฟผ. จำนวน 4 ครั้ง พบว่า
1.1 ชั้นซากหอยมีลักษณะรูปเลนซ์แทรกอยู่ระหว่างชั้นถ่าน K4 ซึ่งอยู่ด้านล่าง และ K3 ซึ่งปิดทับอยู่ด้านบน คลุมพื้นที่ 43 ไร่
1.2 ชั้นหอยมีความหนาสูงสุดประมาณ 12 เมตร ประกอบด้วย ตัวหอยกาบเดี่ยว (gastropod) เพียงชนิดเดียว ไม่มีตะกอนปะปน ตัวหอยมีขนาดต่าง ๆ กัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bellamya sp. มีอายุ 13 ล้านปีจัดอยู่ในวงศ์ Viviparidae มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า mud snail เป็นหอยน้ำจืด อาศัยอยู่บนพื้นดินโคลน กินอาหารจำพวกสาหร่าย ตะไคร่ แพลงค์ตอน สัตว์น้ำเล็ก ๆ และจอกแหนในหนองบึง
1.3 จากการตรวจสอบกับรายงานการค้นพบแหล่งซากหอยดึกดำบรรพ์ทั่วโลก พบว่า
1) ชั้นหอยที่สะสมตัวตามธรรมชาติที่มีอายุใกล้เคียงกับชั้นหอยที่แม่เมาะ คือ มีอายุ 13 - 11.5ล้านปี พบที่หมู่บ้าน Nexing ตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีความหนาถึง 19 เมตร แต่หอยที่พบมีหลายชนิด และทั้งหมดเป็นหอยน้ำเค็ม
2) ชั้นหอยสะสมตัวตามธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งพบที่ชายฝั่งตะวันตกของประเทศออสเตรเลียบริเวณ Shark Bay ประกอบด้วยหอยกาบคู่น้ำเค็ม มีอายุ 4,000 ปี ชั้นหอยแห่งนี้ได้รับการยกระดับให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2534
3) ชั้นหอยดึกดำบรรพ์น้ำจืดที่เหมืองแม่เมาะของประเทศไทย ซึ่งมีความหนาถึง 12 เมตร จึงเป็นชั้นหอยน้ำจืดที่มีความหนามากที่สุดในโลก และมีความสำคัญถึงระดับมรดกโลก
2. การดำเนินการด้านกฎหมาย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้พิจารณาการดำเนินการกันพื้นที่ที่พบซากดึกดำบรรพ์ จำนวน 43 ไร่ ออกจากเขตประทานบัตรของ กฟผ. แปลงเลขที่ 24349/16341 ตามมาตรา 9 ตรี แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ประกาศเป็นพื้นที่สำรวจ ทดลอง ศึกษาวิจัย ตามมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และจะได้ดำเนินการร่วมกับ กฟผ. พัฒนาให้เป็นแหล่งศึกษาของนักเรียน นักศึกษา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศต่อไป
3. ความก้าวหน้าของการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
กรมทรัพยากรธรณีร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อมิให้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และกฎหมายอื่น
นอกจากนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรธรณี) ได้จัดทำรายละเอียดโครงการพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเสนอขออนุมัติงบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2547 จำนวน 200 ล้านบาท ดังนี้
1. ปัจจุบันอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ยังไม่มีการตกแต่งอาคารให้สามารถใช้งานได้ กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง จึงหาทางพัฒนาอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เพื่อให้อาคารพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมรองรับงานศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ และสามารถนำข้อมูลจากการวิจัยมาจัดแสดงหรือบริการความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งให้อาคารพิพิธภัณฑ์ฯ พร้อมเปิดบริการแก่ประชาชนได้ โดยมีเป้าหมายให้ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโดเสาร์ภูกุ้มข้าวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสถานที่เตรียมตัวอย่าง ศึกษาวิจัย อนุรักษ์เก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง เผยแพร่ข้อมูล จัดแสดงนิทรรศการและให้บริการด้านการศึกษาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
2. การจัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ข้อ 2 การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และข้อ 3 การพัฒนาสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนอย่างเป็นธรรม
3. ในการพัฒนาอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
3.1 ปรับปรุงสถาปัตยกรรมอาคารทั่วไป วงเงิน 35 ล้านบาท
3.2 จัดทำระบบ คือ งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร งานระบบปรับอากาศ งานระบบเสียง และงานระบบโทรทัศน์วงจรปิด วงเงิน 65 ล้านบาท
3.3 จัดตกแต่งภายในพร้อมครุภัณฑ์ส่วนห้องปฏิบัติการและงานวิจัย ส่วนสาธารณะและบริการ และส่วนห้องประชุมและสัมมนา วงเงิน 90 ล้านบาท
3.4 จัดทำภูมิทัศน์ วงเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประสานในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-