คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานโครงการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ตามที่มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายปรีชา มาลีนนท์) เป็นประธานอำนวยการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย จากทุกจังหวัด ทุกภาค เพื่อหาสินค้า OTOP ที่มีศักยภาพสำหรับจัดแสดงและจำหน่ายในตลาดสากลตามแนวคิด Local Links Global Reaches
คณะอำนวยการคัดสรรฯ ขอรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ OTOP Product Champion ปี 2546 และการทำงานต่อเนื่อง ดังนี้
1. รอบและแนวทางการคัดสรร ได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดสรรโดยพิจารณาจากความสามารถในการผลิต (Supply Side) ควบคู่ไปกับความต้องการของตลาด (Demand Side) โดยคำนึงถึงความสามารถส่งออกได้(Exportable) และมีความแกร่งของตัวสินค้า (Brand Equity) ผลิตได้อย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistant) ความมีมาตรฐาน (Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction) มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product)
ทั้งนี้ ได้แบ่งสินค้า OTOP ที่เข้าสู่กระบวนการคัดสรรออกเป็น 6 ประเภท คือ ประเภทอาหาร ประเภทเครื่องดื่ม ประเภทผ้า/เครื่องแต่งกาย ประเภทเครื่องใช้/เครื่องประดับตกแต่ง ประเภทศิลปะประดิษฐ์/ของที่ระลึก และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร/ยา
2. ผลการคัดสรร การคัดสรรได้เริ่มดำเนินการในเดือนพฤษภาคม 2546 ตั้งแต่ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาค และกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2546 ซึ่งปรากฏผลโดยสรุป ดังนี้
- มีผู้สมัครส่งผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 16,808 ผลิตภัณฑ์
- อำเภอ/กิ่งอำเภอ คัดสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำแนกเป็นระดับ 1-5 ดาว จำนวน 15,507 ผลิตภัณฑ์
- จังหวัดคัดสรรเป็นระดับ 3-5 ดาวของจังหวัด จำนวน 8,640 ผลิตภัณฑ์
- ภาคทั้ง 4 ภาค และกรุงเทพมหานคร คัดสรรเป็นระดับ 3-5 ดาว จำนวน 6,932 ผลิตภัณฑ์
3. การขยายผลของโครงการคัดสรร ผลของการคัดสรร ซึ่งทำให้ได้สินค้า OTOP ที่ค่อนข้างมีศักยภาพ ระดับ 3-5 ดาว จำนวน 6,932 ผลิตภัณฑ์ ได้นำไปสู่การขยายผลในเรื่องต่าง ๆ คือ
1) การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าระดับ 3-5 ดาว ของภาคต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค ในระหว่างเดือน กรกฎาคม 2546
2) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ ระดับ 3-5 ดาว นำไปจัดแสดงและจำหน่ายในกิจกรรม APEC ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพที่จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต และกรุงเทพมหานคร ในระหว่างเดือน สิงหาคม - ตุลาคม 2546
3) การจัดงานมหกรรมสุดยอด OTOP ไทย โดยนำสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว มาแสดงและจำหน่าย ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2546
4) การจัดงานเมืองแห่งภูมิปัญญาไทย (OTOP CITY) โดยนำสินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาว ของ 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร มาแสดงและจำหน่าย ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 21-28 ธันวาคม 2546
5) นอกจากนั้น จังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานคร ได้สนับสนุนให้มีการนำสินค้า OTOP ที่ผ่านการคัดสรรไปแสดงและจำหน่ายในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
6) การจัดทำฐานข้อมูล (Profile) ของสินค้า OTOP ที่เข้าสู่กระบวนการคัดสรร ตั้งแต่ระดับ 1-5 ดาว เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ และคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะอนุกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิต คณะอนุกรรมการส่งเสริมการตลาด คณะอนุกรรมการมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และคณะอนุกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับภูมิภาค รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ทุกจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ก็จะได้ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสินคา OTOP ในจังหวัดของตนเองด้วย
อนึ่ง ฐานข้อมูลสินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาว ถูกนำไปบันทึกไว้ในเว๊บไซต์ ไทยตำบล ดอทคอม เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการตลาดอีกทางหนึ่งด้วย
7) การเชื่อมโยงเครือข่าย (Cluster) ของผู้ผลิตสินค้า OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน การเพิ่มกำลังการผลิตโดยการร่วมมือซึ่งกันและกัน รวมทั้งจะทำให้การวางแผนสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ของโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ตรงกับปัญหาและความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP แต่ละประเภทมากขึ้น
4. การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2547
คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ได้กำหนแผนงานและงบประมาณ ที่จะดำเนินการตามโครงการ OTOP Product Champion ในปี 2547 ไว้แล้ว โดยได้มีการประเมินผลการคัดสรรในปี 2546 พร้อมปัญหาและข้อเสนอแนะด้านต่าง ๆ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการของพัฒนาการจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะได้นำไปกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานในปี 2547 ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเชื่อว่าหากดำเนินการโครงการ OTOP Product Champion อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) ที่มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
ตามที่มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายปรีชา มาลีนนท์) เป็นประธานอำนวยการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย จากทุกจังหวัด ทุกภาค เพื่อหาสินค้า OTOP ที่มีศักยภาพสำหรับจัดแสดงและจำหน่ายในตลาดสากลตามแนวคิด Local Links Global Reaches
คณะอำนวยการคัดสรรฯ ขอรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ OTOP Product Champion ปี 2546 และการทำงานต่อเนื่อง ดังนี้
1. รอบและแนวทางการคัดสรร ได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดสรรโดยพิจารณาจากความสามารถในการผลิต (Supply Side) ควบคู่ไปกับความต้องการของตลาด (Demand Side) โดยคำนึงถึงความสามารถส่งออกได้(Exportable) และมีความแกร่งของตัวสินค้า (Brand Equity) ผลิตได้อย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistant) ความมีมาตรฐาน (Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction) มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product)
ทั้งนี้ ได้แบ่งสินค้า OTOP ที่เข้าสู่กระบวนการคัดสรรออกเป็น 6 ประเภท คือ ประเภทอาหาร ประเภทเครื่องดื่ม ประเภทผ้า/เครื่องแต่งกาย ประเภทเครื่องใช้/เครื่องประดับตกแต่ง ประเภทศิลปะประดิษฐ์/ของที่ระลึก และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร/ยา
2. ผลการคัดสรร การคัดสรรได้เริ่มดำเนินการในเดือนพฤษภาคม 2546 ตั้งแต่ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาค และกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2546 ซึ่งปรากฏผลโดยสรุป ดังนี้
- มีผู้สมัครส่งผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 16,808 ผลิตภัณฑ์
- อำเภอ/กิ่งอำเภอ คัดสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำแนกเป็นระดับ 1-5 ดาว จำนวน 15,507 ผลิตภัณฑ์
- จังหวัดคัดสรรเป็นระดับ 3-5 ดาวของจังหวัด จำนวน 8,640 ผลิตภัณฑ์
- ภาคทั้ง 4 ภาค และกรุงเทพมหานคร คัดสรรเป็นระดับ 3-5 ดาว จำนวน 6,932 ผลิตภัณฑ์
3. การขยายผลของโครงการคัดสรร ผลของการคัดสรร ซึ่งทำให้ได้สินค้า OTOP ที่ค่อนข้างมีศักยภาพ ระดับ 3-5 ดาว จำนวน 6,932 ผลิตภัณฑ์ ได้นำไปสู่การขยายผลในเรื่องต่าง ๆ คือ
1) การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าระดับ 3-5 ดาว ของภาคต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค ในระหว่างเดือน กรกฎาคม 2546
2) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ ระดับ 3-5 ดาว นำไปจัดแสดงและจำหน่ายในกิจกรรม APEC ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพที่จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต และกรุงเทพมหานคร ในระหว่างเดือน สิงหาคม - ตุลาคม 2546
3) การจัดงานมหกรรมสุดยอด OTOP ไทย โดยนำสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว มาแสดงและจำหน่าย ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2546
4) การจัดงานเมืองแห่งภูมิปัญญาไทย (OTOP CITY) โดยนำสินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาว ของ 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร มาแสดงและจำหน่าย ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 21-28 ธันวาคม 2546
5) นอกจากนั้น จังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานคร ได้สนับสนุนให้มีการนำสินค้า OTOP ที่ผ่านการคัดสรรไปแสดงและจำหน่ายในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
6) การจัดทำฐานข้อมูล (Profile) ของสินค้า OTOP ที่เข้าสู่กระบวนการคัดสรร ตั้งแต่ระดับ 1-5 ดาว เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ และคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะอนุกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิต คณะอนุกรรมการส่งเสริมการตลาด คณะอนุกรรมการมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และคณะอนุกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับภูมิภาค รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ทุกจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ก็จะได้ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสินคา OTOP ในจังหวัดของตนเองด้วย
อนึ่ง ฐานข้อมูลสินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาว ถูกนำไปบันทึกไว้ในเว๊บไซต์ ไทยตำบล ดอทคอม เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการตลาดอีกทางหนึ่งด้วย
7) การเชื่อมโยงเครือข่าย (Cluster) ของผู้ผลิตสินค้า OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน การเพิ่มกำลังการผลิตโดยการร่วมมือซึ่งกันและกัน รวมทั้งจะทำให้การวางแผนสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ของโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ตรงกับปัญหาและความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP แต่ละประเภทมากขึ้น
4. การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2547
คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ได้กำหนแผนงานและงบประมาณ ที่จะดำเนินการตามโครงการ OTOP Product Champion ในปี 2547 ไว้แล้ว โดยได้มีการประเมินผลการคัดสรรในปี 2546 พร้อมปัญหาและข้อเสนอแนะด้านต่าง ๆ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการของพัฒนาการจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะได้นำไปกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานในปี 2547 ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเชื่อว่าหากดำเนินการโครงการ OTOP Product Champion อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) ที่มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-