คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ต่อการที่ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ แจ้งรัฐสภาแสดงเจตจำนงค์จะเจรจา FTA กับไทย เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อคราวการหารือระหว่างการประชุมผู้นำเอเปก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2546 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งตามกฎหมายสหรัฐฯ ฝ่ายบริหารจะต้องแจ้งต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นและการเจรจาจะเริ่มขึ้นได้หลังจากนั้น 90 นั้น
ทั้งนี้ นาย Robert Zoellick, USTR ได้มีหนังสือถึงรัฐสภาสหรัฐฯ แสดงเจตจำนงที่จะเปิดเจรจา FTA กับประเทศไทยแล้ว โดยได้ระบุว่าจะเริ่มเจรจาได้ภายในเดือนมิถุนายน 2547 โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะให้มีการลดภาษีสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร การเปิดตลาดบริการและการลงทุน การแก้ปัญหาเรื่องสุขอนามัย กฎระเบียบพิธีการทางศุลากากร การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ การคุ้มครองแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการจัดซื้อจัดจ้าง โดยรัฐฯ ให้มีความโปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ หวังว่าการทำ FTA กับไทยจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ขยายตัวมากขึ้น
สำหรับการเตรียมการของไทยนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำกรอบท่าทีไทยในการเจรจาเพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ) พิจารณา โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ ขอบเขตการเจรจาจะครอบคลุมการเปิดตลาดสินค้า บริการ และการลงทุน โดยมีเป้าหมายให้ลดภาษีสินค้าทุกรายการเป็นศูนย์ทันทีหรืออย่างน้อยภายใน 5 ปี ส่วนสินค้าที่อ่อนไหวจะมีเวลาลดภาษีนานกว่า เน้นการแก้ปัญหาเรื่องมาตรการด้านสุขอนามัยและมาตรฐานสินค้า เพื่อมิให้การกำหนดมาตรฐานที่สูงจนเป็นการกีดกันทางการค้า ส่วนการเปิดตลาดภาคบริการและการลงทุนจะเปิดแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยระบุรายการที่จะเปิดเสรีตามความเหมาะสม รวมทั้งให้มีการกำหนดระเบียบด้านพิธีการศุลกากรที่มีความโปร่งใสและอำนวยความสะดวกต่อนักธุรกิจ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อากรขยายการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ นาย Robert Zoellick, USTR ได้มีหนังสือถึงรัฐสภาสหรัฐฯ แสดงเจตจำนงที่จะเปิดเจรจา FTA กับประเทศไทยแล้ว โดยได้ระบุว่าจะเริ่มเจรจาได้ภายในเดือนมิถุนายน 2547 โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะให้มีการลดภาษีสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร การเปิดตลาดบริการและการลงทุน การแก้ปัญหาเรื่องสุขอนามัย กฎระเบียบพิธีการทางศุลากากร การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ การคุ้มครองแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการจัดซื้อจัดจ้าง โดยรัฐฯ ให้มีความโปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ หวังว่าการทำ FTA กับไทยจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ขยายตัวมากขึ้น
สำหรับการเตรียมการของไทยนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำกรอบท่าทีไทยในการเจรจาเพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ) พิจารณา โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ ขอบเขตการเจรจาจะครอบคลุมการเปิดตลาดสินค้า บริการ และการลงทุน โดยมีเป้าหมายให้ลดภาษีสินค้าทุกรายการเป็นศูนย์ทันทีหรืออย่างน้อยภายใน 5 ปี ส่วนสินค้าที่อ่อนไหวจะมีเวลาลดภาษีนานกว่า เน้นการแก้ปัญหาเรื่องมาตรการด้านสุขอนามัยและมาตรฐานสินค้า เพื่อมิให้การกำหนดมาตรฐานที่สูงจนเป็นการกีดกันทางการค้า ส่วนการเปิดตลาดภาคบริการและการลงทุนจะเปิดแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยระบุรายการที่จะเปิดเสรีตามความเหมาะสม รวมทั้งให้มีการกำหนดระเบียบด้านพิธีการศุลกากรที่มีความโปร่งใสและอำนวยความสะดวกต่อนักธุรกิจ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อากรขยายการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-