คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 5 โรง ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนน้ำพุง และเขื่อนแก่งกระจาน วงเงินลงทุนรวม 1,837.16 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงานไปพิจารณาดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กในแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสมอย่างเป็นระบบด้วย
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กทั้ง 5 โรงตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 เป็นโรงไฟฟ้าเดิมซึ่งมีอายุการใช้งานนาน อุปกรณ์การผลิตจึงเสื่อมสภาพ อุปกรณ์หลักหมดอายุ และมีปัญหาเรื่องอะไหล่มาก เนื่องจากได้ก่อสร้างและเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 30 ปีแล้ว ไม่ได้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แต่อย่างใด ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาการผลิตไฟฟ้า จึงสมควรปรับปรุงเพื่อยืดระยะเวลาการใช้งานของเครื่อง เพิ่มประสิทธิภาพ และความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า
โครงการดังกล่าวมีวงเงินลงทุน 1,837.16 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในส่วนเงินตราต่างประเทศ 1,052.93 ล้านบาท และการลงทุนในส่วนของเงินบาท 784.23 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว สำหรับการปรับปรุงเขื่อนแก่งกระจานซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นั้น กระทรวงพลังงาน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ทำการหารือแล้ว กรมชลประทานไม่ขัดข้องกับการดำเนินการปรับปรุงโรงไฟฟ้าดังกล่าว
อนึ่ง จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รายงานว่า โครงการมีความเหมาะสมเชิงเศรษฐกิจและการเงิน โดยมีต้นทุนการผลิต (Production cost) ณ ปี 2545 เฉลี่ยของทั้ง 5 โรงไฟฟ้าประมาณ 0.75 บาท/กิโลวัตต์ — ชม. ที่อัตราส่วนร้อยละ 8 และมีอัตราตอบแทนต่อส่วนของทุน (ROE) เมื่อเทียบกับราคาขายเฉลี่ยให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่ากับร้อยละ 26.74 ผลตอบแทนสุทธิ (NPV) 25 ปี เท่ากับ 1509.16 ล้านบาท
2. กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่าการลงทุนตามโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน มีความเสี่ยงในการลงทุนอยู่ในระดับต่ำ และการปรับปรุงโรงไฟฟ้าทั้ง 5 โรง ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่สำคัญ หากสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดการนำเข้าน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศที่นำมาใช้ในระบบการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ สำหรับเงินลงทุนในส่วนของเงินตราต่างประเทศ ให้พิจารณาใช้เงินกู้จากต่างประเทศหรือเงินกู้ในประเทศที่จะเอื้อประโยชน์แก่หน่วยงานและประเทศสูงสุด รวมทั้งให้พิจารณาการใช้สินเชื่อผู้ผลิต (Supplier’s credit) เป็นทางเลือกด้วย โดยให้เสนอขอรับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อนดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กทั้ง 5 โรงตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 เป็นโรงไฟฟ้าเดิมซึ่งมีอายุการใช้งานนาน อุปกรณ์การผลิตจึงเสื่อมสภาพ อุปกรณ์หลักหมดอายุ และมีปัญหาเรื่องอะไหล่มาก เนื่องจากได้ก่อสร้างและเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 30 ปีแล้ว ไม่ได้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แต่อย่างใด ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาการผลิตไฟฟ้า จึงสมควรปรับปรุงเพื่อยืดระยะเวลาการใช้งานของเครื่อง เพิ่มประสิทธิภาพ และความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้า
โครงการดังกล่าวมีวงเงินลงทุน 1,837.16 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในส่วนเงินตราต่างประเทศ 1,052.93 ล้านบาท และการลงทุนในส่วนของเงินบาท 784.23 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว สำหรับการปรับปรุงเขื่อนแก่งกระจานซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นั้น กระทรวงพลังงาน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ทำการหารือแล้ว กรมชลประทานไม่ขัดข้องกับการดำเนินการปรับปรุงโรงไฟฟ้าดังกล่าว
อนึ่ง จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รายงานว่า โครงการมีความเหมาะสมเชิงเศรษฐกิจและการเงิน โดยมีต้นทุนการผลิต (Production cost) ณ ปี 2545 เฉลี่ยของทั้ง 5 โรงไฟฟ้าประมาณ 0.75 บาท/กิโลวัตต์ — ชม. ที่อัตราส่วนร้อยละ 8 และมีอัตราตอบแทนต่อส่วนของทุน (ROE) เมื่อเทียบกับราคาขายเฉลี่ยให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่ากับร้อยละ 26.74 ผลตอบแทนสุทธิ (NPV) 25 ปี เท่ากับ 1509.16 ล้านบาท
2. กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่าการลงทุนตามโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน มีความเสี่ยงในการลงทุนอยู่ในระดับต่ำ และการปรับปรุงโรงไฟฟ้าทั้ง 5 โรง ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่สำคัญ หากสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดการนำเข้าน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศที่นำมาใช้ในระบบการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ สำหรับเงินลงทุนในส่วนของเงินตราต่างประเทศ ให้พิจารณาใช้เงินกู้จากต่างประเทศหรือเงินกู้ในประเทศที่จะเอื้อประโยชน์แก่หน่วยงานและประเทศสูงสุด รวมทั้งให้พิจารณาการใช้สินเชื่อผู้ผลิต (Supplier’s credit) เป็นทางเลือกด้วย โดยให้เสนอขอรับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อนดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--