คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในพื้นที่จังหวัดภาคใต้และการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทยจนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2548 ดังนี้
1. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนไปยังจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา เพื่อให้เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่มและคลื่นลมแรง ดังนี้
(1) แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติในระยะนี้ สำหรับชาวเรือควรพิจารณาเดินเรือด้วยความระมัดระวังเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
(2) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ติดตามภาพถ่ายดาวเทียม สภาวะอากาศกลุ่มเมฆฝนจากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ( www.tmd.go.th) ทุกชั่วโมง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
(3) ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันที พร้อมกับรายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบทุกระยะจนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ (ระหว่างวันที่ 20 — 24 ตุลาคม 2548)
พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ใน 7 อำเภอ 44 ตำบล 249 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนและสิ่งสาธารณประโยชน์เสียหาย ดังนี้
1) ด้านชีวิต บาดเจ็บ 1 คน ราษฎรเดือดร้อน 10,485 คน 3,149 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 355 สาย สะพาน 8 แห่ง ฝาย 13 แห่ง บ่อน้ำ 65 บ่อ พื้นที่การเกษตร 25,000 ไร่ บ้านเรือนราษฎรเสียหายบางส่วน 252 หลัง บ่อปลา/กุ้ง 81 แห่ง ปศุสัตว์ 87 ตัว ท่อระบายน้ำ 37 แห่ง ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
3. สถานการณ์อุทกภัยแยกรายจังหวัด
3.1 จังหวัดชุมพร พื้นประสบภัย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร ปะทิว ท่าแซะ และสวี ใน 35 ตำบล 228 หมู่บ้าน สาเหตุเนื่องจากมีฝนตกหนักมากในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่อำเภอท่าแซะ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2548 เป็นต้นมา ทำให้ปริมาณน้ำในคลองท่าแซะสูงเอ่อล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและไหลลงคลองท่าตะเภาผ่านอำเภอเมืองชุมพรลงสู่ทะเล
ความเสียหายรวม บาดเจ็บ 1 คน ราษฎรเดือดร้อน 9,285 คน 2,649 ครัวเรือน ถนน 331 สาย สะพาน 8 แห่ง ฝาย 12 แห่ง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 7 หลัง ปศุสัตว์ 87 ตัว พื้นที่การเกษตร 10,000 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 81 แห่ง บ่อน้ำ 65 แห่ง ท่อระบายน้ำ 37 แห่ง มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
สถานการณ์ปัจจุบัน (ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548) ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 22 ตำบล ดังนี้
(1) อำเภอเมืองชุมพร คงมีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลตากแดด บางลึกขุนกระทิง และหาดพันไกร รวม 12 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,297 ครัวเรือน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 7 หลัง พื้นที่สวน 60 ไร่ ปศุสัตว์ 87 ตัว ถนนเสียหาย 95 สาย ฝาย 3 แห่ง ท่อระบายน้ำ 32 แห่ง คูระบายน้ำ 6 สาย บ่อปลา 64 บ่อ บ่อกุ้ง 5 บ่อ สะพาน 1 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ สำหรับในเขตพื้นที่เศรษฐกิจของเทศบาลเมืองชุมพร ยังไม่ประสบปัญหาอุทกภัย
- ถนนเพชรเกษม (เอเชีย 41) ช่วง กม.ที่ 2+000 - 3+000 ใกล้แยกปฐมพร บริเวณชุมพรเมืองใหม่ ช่วงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 22 ต.ค.2548 น้ำท่วมผิวจราจรสูง 0.50-0.70 เมตร ทำให้ปิดการจราจรลงสู่ภาคใต้ รถเล็กผ่านไม่ได้ โดยใช้เส้นทางสายรองแทน และระดับน้ำลดลงเปิดให้การคมนาคมลงสู่ภาคใต้ใช้ได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 03.00 น. ของวันที่ 23 ต.ค. 2548
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดชุมพร อำเภอเมืองชุมพร ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร และ ตชด. 2 ชป. จัดส่งเรือท้องแบน 8 ลำ พร้อมถุงยังชีพ รวม 2,000 ชุด ข้าวกล่อง 1,500 กล่อง น้ำดื่ม ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย
- ตำรวจทางหลวง แขวงการทาง ทางหลวงชนบท ได้สำรวจเส้นทาง ติดป้ายเตือนพร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ในการแนะนำให้ใช้เส้นทางอื่นที่ปลอดภัย
(2) อำเภอปะทิว ระดับน้ำในพื้นที่ส่วนใหญ่ลดลงหมดแล้ว มีท่วมขังในที่ลุ่ม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลชุมโค (หมู่ที่ 2,6) ตำบลปากคลอง (หมู่ที่ 1,4) ตำบลดอนยาง (หมู่ที่ 2,9 ) เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวติดชายฝั่งทะเลมีน้ำทะเลหนุน คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่มขึ้นสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 วันนี้ ถนนได้รับความเสียหาย 180 สาย คอสะพาน 5 แห่ง ฝาย 7 แห่ง มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ เส้นทางคมนาคมสายหลักใช้สัญจรไปมาได้ทุกสาย
(3) อำเภอท่าแซะ มีพื้นที่ประสบภัย 8 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลนากระตามสองพี่น้อง รับร่อ สลุย ท่าข้าม หินแก้ว ทรัพย์อนันต์ และท่าแซะ ถนนเสียหาย 48 สาย พื้นที่การเกษตร 5,000 ไร่ บ่อน้ำ 65 แห่ง บ่อปลา 12 บ่อ ฝ ย 1 แห่ง ประชาชนเดือดร้อน 165 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอท่าแซะและ อบจ.ชุมพร แจกจ่ายถุงยังชีพให้กับราษฎร จำนวน 1,200 ชุด ข้าวกล่อง 600 กล่อง น้ำดื่ม 1,200 ขวด
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร ได้จัดส่งเรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 10 ลำ และศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลภาคใต้ตอนบน จังหวัดชุมพร สนับสนุนเรือยาง 1 ลำ โดยมีกำลังพลจากจังหวัดทหารบกชุมพรร่วมปฏิบัติงานขนย้ายสิ่งของและอพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัย
(4) อำเภอสวี มีพื้นที่ประสบภัย 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งระยะ นาสัก เขาทะลุ วิสัยใต้ เขาค่ายครน และนาโพธิ์ รวม 26 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,425 คน 2,184 ครัวเรือน ถนน 57 สาย ฝาย 1 แห่ง คอสะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 5 แห่ง
การให้ความช่วยเหลือ
อำเภอได้จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบความเสียหาย และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา จุดวัดระดับน้ำ 3 แห่ง ประจำวันที่ 24 ต.ค.2548 เวลา 16.00 น. ดังนี้
(1) คลองท่าแซะ อ.ท่าแซะ วัดได้ 14.96 เมตร (ระดับตลิ่ง 15.20 เมตร) ลดลง 0.19 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 0.24 เมตร
(2) คลองท่าตะเภา (บ้านวังครก) อ.ท่าแซะ วัดได้ 9.73 เมตร (ระดับตลิ่ง 11.50 เมตร) ลดลง 0.24 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.77 เมตร (จุดรับน้ำจากคลองรับล่อ ที่ลงสู่คลองท่าตะเภา)
(3) คลองท่าตะเภา สะพานเทศบาล 2 (ในเขตเทศบาลเมืองชุมพร) วัดได้ 3.11 เมตร (ระดับตลิ่ง 3.80 เมตร) ลดลง 0.04 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 0.69 เมตร
อนึ่ง ชลประทานจังหวัดชุมพรได้ผันน้ำจากคลองท่าตะเภาผ่านประตูระบายน้ำบ้านหัววังลงสู่หนองใหญ่ผันน้ำผ่านประตูระบายน้ำสามแก้วลงคลองพนังตัก เพื่อลดปริมาณน้ำในคลองท่าตะเภาที่จะผ่านเขตเทศบาลเมืองชุมพร (ประมาณ 450 ลูกบาศก์เมตร/วินาที) โดยให้ปริมาณน้ำดังกล่าวระบายผ่านประตูระบายน้ำ หัววัง-พนังตักเพื่อไหลคลองบางแก้วลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ทำให้สามารถบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจของเทศบาลเมืองชุมพรได้
3.2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางสะพานหัวหิน และปราณบุรี ใน 9 ตำบล 21 หมู่บ้าน
ความเสียหายรวม ราษฎรเดือดร้อน 1,200 คน 500 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 245 หลัง ถนน 24 สาย ฝาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 15,000 ไร่ มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
การให้ความช่วยเหลือ
1) ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ไปอำนวยการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยและได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อปพร. อาสาสมัครรักษาดินแดน ตำรวจตระเวนชายแดน มูลนิธิ ฯลฯ ไปช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยโดยด่วน
2) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ และเรือท้องแบน 4 ลำ เครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี โดยอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยแล้ว
สถานการณ์ปัจจุบัน ( ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548 ) ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี และอำเภอบางสะพาน ได้แก่
(1) อำเภอหัวหิน ในช่วงเช้าของวันที่ 24 ต.ค. 2548 น้ำป่าจากน้ำตกป่าละอูไหลหลากท่วมผิวจราจรถนนเพชรเกษม กม.235-238 ตำบลหนองแก(เพชรเกษมสายในจากเขาตะเกียบไปสวนสน) ระดับน้ำสูง 0.50-0.80 เมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และมีน้ำท่วมผิวจราจรในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ตลาดฉัตรไชย ชุมชนพงษ์นารน ชุมชนเขาตะเกียบ ชุมชนรอยัลโฮม ชุมชนเจริญพัฒนา 1 ชุมชนเจริญพัฒนา 2 ระดับน้ำท่วมผิวจราจรสูง 0.30 เมตร รถเล็กสามารถผ่านไปมาได้ นอกจากนี้ เทศบาลเมืองหัวหินได้สนับสนุนกระสอบทรายจัดทำแนวป้องกันน้ำที่จะไหลหลากเข้าท่วมบริเวณวังไกลกังวล สถานการณ์คลี่คลายตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 24 ตุลาคม 2548
(2) อำเภอปราณบุรี มีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล คือ ตำบลวังก์พง หนองตาแต้ม (ม.2,3,4,) และเขาน้อย ในพื้นที่ลุ่มการเกษตรซึ่งมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ อำเภอปราณบุรีส่งเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยอาสาสมัครเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ว
(3) อำเภอบางสะพาน ยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล คือ ตำบลพงศ์ประศาสน์ กำเนิดนพคุณ และแม่รำพึง บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลุ่ม ประกอบกับเนื่องจากน้ำทะเลหนุนทำให้น้ำไหลลงสู่ทะเลช้าลง สำหรับบริเวณโรงพยาบาลบางสะพานซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม อำเภอได้ร่วมประชุมกับโรงพยาบาลและได้กำหนดมาตรการป้องกัน คือ 1) ขนย้ายวัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นที่สูง 2) เตรียมเครื่องสูบน้ำและระบบเตือนภัยเบื้องต้น 3) เตรียมการอพยพผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลข้างเคียง คาดว่าในช่วง 2-3 วันหากฝนไม่ตกลงมาเพิ่มเติม สถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ
4. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคใต้ ( ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548 )
4.1 แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีปริมาณน้ำในอ่าง 564 ล้าน ลบ.ม. (80 %ของความจุ 710 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 2.7 ล้าน ลบ.ม.
4.2 ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณน้ำในอ่าง 283 ล้าน ลบ.ม.(63 %ของความจุ 445 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 2.7 ล้าน ลบ.ม.
4.3 รัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำในอ่าง 4,511 ล้าน ลบ.ม.(80 %ของความจุ 5,639 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 10.4 ล้าน ลบ.ม.
4.4 บางลาง จ.ยะลา มีปริมาณน้ำในอ่าง 675 ล้าน ลบ.ม. (48 % ของความจุ 1,404 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 3.6 ล้าน ลบ.ม.
5. การคาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (ระหว่างวันที่ 24-30 ตุลาคม 2548)
ในช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. 2548 ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ มีฝนหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกบางแห่ง หลังจากนั้นฝนลดน้อยลง ในช่วงวันที่ 28-30 ต.ค. 2548 ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองโดยเริ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนและอุณหภูมิจะลดลงอีก ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีผลกระทบในวันต่อไป และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่างในวันที่ 28 ต.ค. 2548 และจะทวีกำลังแรงขึ้นอีก โดยในวันที่ 30 ต.ค. 2548 จะเข้าใกล้ชายฝั่งปลายแหลมญวนมากขึ้น ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. 2548 จังหวัดราชบุรีและภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ มีฝนหนาแน่นอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากของพื้นที่เสี่ยงภัยได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
1. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนไปยังจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา เพื่อให้เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่มและคลื่นลมแรง ดังนี้
(1) แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติในระยะนี้ สำหรับชาวเรือควรพิจารณาเดินเรือด้วยความระมัดระวังเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
(2) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ติดตามภาพถ่ายดาวเทียม สภาวะอากาศกลุ่มเมฆฝนจากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ( www.tmd.go.th) ทุกชั่วโมง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
(3) ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันที พร้อมกับรายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบทุกระยะจนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ (ระหว่างวันที่ 20 — 24 ตุลาคม 2548)
พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ใน 7 อำเภอ 44 ตำบล 249 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนและสิ่งสาธารณประโยชน์เสียหาย ดังนี้
1) ด้านชีวิต บาดเจ็บ 1 คน ราษฎรเดือดร้อน 10,485 คน 3,149 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 355 สาย สะพาน 8 แห่ง ฝาย 13 แห่ง บ่อน้ำ 65 บ่อ พื้นที่การเกษตร 25,000 ไร่ บ้านเรือนราษฎรเสียหายบางส่วน 252 หลัง บ่อปลา/กุ้ง 81 แห่ง ปศุสัตว์ 87 ตัว ท่อระบายน้ำ 37 แห่ง ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
3. สถานการณ์อุทกภัยแยกรายจังหวัด
3.1 จังหวัดชุมพร พื้นประสบภัย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร ปะทิว ท่าแซะ และสวี ใน 35 ตำบล 228 หมู่บ้าน สาเหตุเนื่องจากมีฝนตกหนักมากในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่อำเภอท่าแซะ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2548 เป็นต้นมา ทำให้ปริมาณน้ำในคลองท่าแซะสูงเอ่อล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและไหลลงคลองท่าตะเภาผ่านอำเภอเมืองชุมพรลงสู่ทะเล
ความเสียหายรวม บาดเจ็บ 1 คน ราษฎรเดือดร้อน 9,285 คน 2,649 ครัวเรือน ถนน 331 สาย สะพาน 8 แห่ง ฝาย 12 แห่ง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 7 หลัง ปศุสัตว์ 87 ตัว พื้นที่การเกษตร 10,000 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 81 แห่ง บ่อน้ำ 65 แห่ง ท่อระบายน้ำ 37 แห่ง มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
สถานการณ์ปัจจุบัน (ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548) ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 22 ตำบล ดังนี้
(1) อำเภอเมืองชุมพร คงมีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลตากแดด บางลึกขุนกระทิง และหาดพันไกร รวม 12 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,297 ครัวเรือน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 7 หลัง พื้นที่สวน 60 ไร่ ปศุสัตว์ 87 ตัว ถนนเสียหาย 95 สาย ฝาย 3 แห่ง ท่อระบายน้ำ 32 แห่ง คูระบายน้ำ 6 สาย บ่อปลา 64 บ่อ บ่อกุ้ง 5 บ่อ สะพาน 1 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ สำหรับในเขตพื้นที่เศรษฐกิจของเทศบาลเมืองชุมพร ยังไม่ประสบปัญหาอุทกภัย
- ถนนเพชรเกษม (เอเชีย 41) ช่วง กม.ที่ 2+000 - 3+000 ใกล้แยกปฐมพร บริเวณชุมพรเมืองใหม่ ช่วงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 22 ต.ค.2548 น้ำท่วมผิวจราจรสูง 0.50-0.70 เมตร ทำให้ปิดการจราจรลงสู่ภาคใต้ รถเล็กผ่านไม่ได้ โดยใช้เส้นทางสายรองแทน และระดับน้ำลดลงเปิดให้การคมนาคมลงสู่ภาคใต้ใช้ได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 03.00 น. ของวันที่ 23 ต.ค. 2548
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดชุมพร อำเภอเมืองชุมพร ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร และ ตชด. 2 ชป. จัดส่งเรือท้องแบน 8 ลำ พร้อมถุงยังชีพ รวม 2,000 ชุด ข้าวกล่อง 1,500 กล่อง น้ำดื่ม ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย
- ตำรวจทางหลวง แขวงการทาง ทางหลวงชนบท ได้สำรวจเส้นทาง ติดป้ายเตือนพร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ในการแนะนำให้ใช้เส้นทางอื่นที่ปลอดภัย
(2) อำเภอปะทิว ระดับน้ำในพื้นที่ส่วนใหญ่ลดลงหมดแล้ว มีท่วมขังในที่ลุ่ม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลชุมโค (หมู่ที่ 2,6) ตำบลปากคลอง (หมู่ที่ 1,4) ตำบลดอนยาง (หมู่ที่ 2,9 ) เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวติดชายฝั่งทะเลมีน้ำทะเลหนุน คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่มขึ้นสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 วันนี้ ถนนได้รับความเสียหาย 180 สาย คอสะพาน 5 แห่ง ฝาย 7 แห่ง มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ เส้นทางคมนาคมสายหลักใช้สัญจรไปมาได้ทุกสาย
(3) อำเภอท่าแซะ มีพื้นที่ประสบภัย 8 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลนากระตามสองพี่น้อง รับร่อ สลุย ท่าข้าม หินแก้ว ทรัพย์อนันต์ และท่าแซะ ถนนเสียหาย 48 สาย พื้นที่การเกษตร 5,000 ไร่ บ่อน้ำ 65 แห่ง บ่อปลา 12 บ่อ ฝ ย 1 แห่ง ประชาชนเดือดร้อน 165 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดชุมพร ร่วมกับอำเภอท่าแซะและ อบจ.ชุมพร แจกจ่ายถุงยังชีพให้กับราษฎร จำนวน 1,200 ชุด ข้าวกล่อง 600 กล่อง น้ำดื่ม 1,200 ขวด
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร ได้จัดส่งเรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 10 ลำ และศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลภาคใต้ตอนบน จังหวัดชุมพร สนับสนุนเรือยาง 1 ลำ โดยมีกำลังพลจากจังหวัดทหารบกชุมพรร่วมปฏิบัติงานขนย้ายสิ่งของและอพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัย
(4) อำเภอสวี มีพื้นที่ประสบภัย 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งระยะ นาสัก เขาทะลุ วิสัยใต้ เขาค่ายครน และนาโพธิ์ รวม 26 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,425 คน 2,184 ครัวเรือน ถนน 57 สาย ฝาย 1 แห่ง คอสะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 5 แห่ง
การให้ความช่วยเหลือ
อำเภอได้จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบความเสียหาย และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา จุดวัดระดับน้ำ 3 แห่ง ประจำวันที่ 24 ต.ค.2548 เวลา 16.00 น. ดังนี้
(1) คลองท่าแซะ อ.ท่าแซะ วัดได้ 14.96 เมตร (ระดับตลิ่ง 15.20 เมตร) ลดลง 0.19 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 0.24 เมตร
(2) คลองท่าตะเภา (บ้านวังครก) อ.ท่าแซะ วัดได้ 9.73 เมตร (ระดับตลิ่ง 11.50 เมตร) ลดลง 0.24 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.77 เมตร (จุดรับน้ำจากคลองรับล่อ ที่ลงสู่คลองท่าตะเภา)
(3) คลองท่าตะเภา สะพานเทศบาล 2 (ในเขตเทศบาลเมืองชุมพร) วัดได้ 3.11 เมตร (ระดับตลิ่ง 3.80 เมตร) ลดลง 0.04 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 0.69 เมตร
อนึ่ง ชลประทานจังหวัดชุมพรได้ผันน้ำจากคลองท่าตะเภาผ่านประตูระบายน้ำบ้านหัววังลงสู่หนองใหญ่ผันน้ำผ่านประตูระบายน้ำสามแก้วลงคลองพนังตัก เพื่อลดปริมาณน้ำในคลองท่าตะเภาที่จะผ่านเขตเทศบาลเมืองชุมพร (ประมาณ 450 ลูกบาศก์เมตร/วินาที) โดยให้ปริมาณน้ำดังกล่าวระบายผ่านประตูระบายน้ำ หัววัง-พนังตักเพื่อไหลคลองบางแก้วลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ทำให้สามารถบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจของเทศบาลเมืองชุมพรได้
3.2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางสะพานหัวหิน และปราณบุรี ใน 9 ตำบล 21 หมู่บ้าน
ความเสียหายรวม ราษฎรเดือดร้อน 1,200 คน 500 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 245 หลัง ถนน 24 สาย ฝาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 15,000 ไร่ มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
การให้ความช่วยเหลือ
1) ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ไปอำนวยการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยและได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อปพร. อาสาสมัครรักษาดินแดน ตำรวจตระเวนชายแดน มูลนิธิ ฯลฯ ไปช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยโดยด่วน
2) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ และเรือท้องแบน 4 ลำ เครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี โดยอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยแล้ว
สถานการณ์ปัจจุบัน ( ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548 ) ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี และอำเภอบางสะพาน ได้แก่
(1) อำเภอหัวหิน ในช่วงเช้าของวันที่ 24 ต.ค. 2548 น้ำป่าจากน้ำตกป่าละอูไหลหลากท่วมผิวจราจรถนนเพชรเกษม กม.235-238 ตำบลหนองแก(เพชรเกษมสายในจากเขาตะเกียบไปสวนสน) ระดับน้ำสูง 0.50-0.80 เมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และมีน้ำท่วมผิวจราจรในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ตลาดฉัตรไชย ชุมชนพงษ์นารน ชุมชนเขาตะเกียบ ชุมชนรอยัลโฮม ชุมชนเจริญพัฒนา 1 ชุมชนเจริญพัฒนา 2 ระดับน้ำท่วมผิวจราจรสูง 0.30 เมตร รถเล็กสามารถผ่านไปมาได้ นอกจากนี้ เทศบาลเมืองหัวหินได้สนับสนุนกระสอบทรายจัดทำแนวป้องกันน้ำที่จะไหลหลากเข้าท่วมบริเวณวังไกลกังวล สถานการณ์คลี่คลายตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 24 ตุลาคม 2548
(2) อำเภอปราณบุรี มีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล คือ ตำบลวังก์พง หนองตาแต้ม (ม.2,3,4,) และเขาน้อย ในพื้นที่ลุ่มการเกษตรซึ่งมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ อำเภอปราณบุรีส่งเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยอาสาสมัครเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ว
(3) อำเภอบางสะพาน ยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล คือ ตำบลพงศ์ประศาสน์ กำเนิดนพคุณ และแม่รำพึง บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลุ่ม ประกอบกับเนื่องจากน้ำทะเลหนุนทำให้น้ำไหลลงสู่ทะเลช้าลง สำหรับบริเวณโรงพยาบาลบางสะพานซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม อำเภอได้ร่วมประชุมกับโรงพยาบาลและได้กำหนดมาตรการป้องกัน คือ 1) ขนย้ายวัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นที่สูง 2) เตรียมเครื่องสูบน้ำและระบบเตือนภัยเบื้องต้น 3) เตรียมการอพยพผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลข้างเคียง คาดว่าในช่วง 2-3 วันหากฝนไม่ตกลงมาเพิ่มเติม สถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ
4. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคใต้ ( ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548 )
4.1 แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีปริมาณน้ำในอ่าง 564 ล้าน ลบ.ม. (80 %ของความจุ 710 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 2.7 ล้าน ลบ.ม.
4.2 ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณน้ำในอ่าง 283 ล้าน ลบ.ม.(63 %ของความจุ 445 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 2.7 ล้าน ลบ.ม.
4.3 รัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำในอ่าง 4,511 ล้าน ลบ.ม.(80 %ของความจุ 5,639 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 10.4 ล้าน ลบ.ม.
4.4 บางลาง จ.ยะลา มีปริมาณน้ำในอ่าง 675 ล้าน ลบ.ม. (48 % ของความจุ 1,404 ล้าน ลบ.ม.) มีน้ำไหลลงอ่าง 3.6 ล้าน ลบ.ม.
5. การคาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (ระหว่างวันที่ 24-30 ตุลาคม 2548)
ในช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. 2548 ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ มีฝนหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกบางแห่ง หลังจากนั้นฝนลดน้อยลง ในช่วงวันที่ 28-30 ต.ค. 2548 ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองโดยเริ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนและอุณหภูมิจะลดลงอีก ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีผลกระทบในวันต่อไป และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่างในวันที่ 28 ต.ค. 2548 และจะทวีกำลังแรงขึ้นอีก โดยในวันที่ 30 ต.ค. 2548 จะเข้าใกล้ชายฝั่งปลายแหลมญวนมากขึ้น ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. 2548 จังหวัดราชบุรีและภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ มีฝนหนาแน่นอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากของพื้นที่เสี่ยงภัยได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--