คณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ พร้อมทั้งความเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และเห็นชอบในหลักการของแผนงานโครงการภายใต้5 ยุทธศาสตร์ จำนวน 34 โครงการ โดยให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณกลางปี 2547 และงบประมาณปี 2548 สนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว เพื่อให้การกำกับดูแลการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นแกนหลักในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นประจำทุกปี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทุกภาคของประเทศเพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนา ซึ่ง สศช.ได้ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเสร็จแล้ว และจัดให้มีการสัมมนาขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ที่จังหวัดขอนแก่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย5 ยุทธศาสตร์ 16 แนวทาง ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับฐานการผลิตหลักของภาค โดยอาศัยศักยภาพการผลิตในพื้นที่เชื่อมโยงกับฐานการผลิตหลักของประเทศ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) การยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรจากสินค้าที่มีมูลค่าต่ำไปสู่สินค้าที่มีโอกาสทางการตลาดและมีมูลค่าเพิ่มสูง 2) การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมของภาคโดยเชื่อมโยงกับฐานการผลิตหลักและชายฝั่งทะเลตะวันออก 3) การเพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้ของภาคบริการทางด้านแรงงานและการท่องเที่ยว
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ประกอบด้วย 4 โครงการ 1) โครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ 2) โครงการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อผลิตลูกโคขุนคุณภาพสูงแบบโพนยางคำและกำแพงแสน3) โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตเครือข่ายวิสาหกิจไหม (Silk Clustering) 4) แผนงานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว 4.1) โครงการพิพิธภัณฑ์และศูนย์สาธิตข้าวหอมมะลิ 4.2) โครงการพิพิธภัณฑ์อารยธรรมขอม4.3) โครงการสร้างโลกใหม่ให้ช้างไทย 4.4) โครงการเส้นทางศึกษาธรรมชาติลอยฟ้า Sky Walker
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ใช้ความได้เปรียบด้านที่ตั้งของภาคร่วมมือกับกลุ่มอินโดจีนเพื่อขยายฐานอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดนของภาค ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและเร่งรัดการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือ 2) การส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มประเทศอินโดจีน 3) การพัฒนาเมืองหลักชายแดนและด่านชายแดนให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ประกอบด้วย 9 โครงการ 1) โครงการพัฒนาเมืองชายแดน : อุบลราชธานี หนองคาย มุกดาหาร นครพนม อุดรธานี เลย 2) โครงการพัฒนาด่านชายแดน : ท่าลี่ บึงกาฬ บ้านแพงท่าอุเทน ช่องเม็ก ช่องสะงำ ช่องจอม 3) โครงการศึกษาพัฒนามุกดาหารเป็น Distribution Center 4) โครงการศึกษาความเหมาะสมเพื่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมสะหวันเซโน 5) โครงการศึกษาความเหมาะสมเพื่อตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรสะหวันเขต 6) โครงการปรับปรุงระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจเป้าหมายไทย - ลาว 7) โครงการจัดคณะผู้แทนการค้าการลงทุนไปเยือนกัมพูชา ลาว พม่า 8) สนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ ณ ประเทศไทย9) จัดประชุมสภาธุรกิจแห่งยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างศักยภาพและโอกาสให้คนจน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การสร้างโอกาสการมีงานทำและความมั่นคงในอาชีพทั้งเกษตรและนอกภาคเกษตร 2) การยกระดับคุณภาพชีวิต 3) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 4) การบริหารจัดการแบบ AFP
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ประกอบด้วย 7 โครงการ 1) โครงการบริการตรวจวิเคราะห์และรับรองคุณภาพเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP 2) โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP3) โครงการอบรมคนงานเพื่อเตรียมตัวไปทำงานต่างประเทศ 4) โครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศร่วมกับ ธ.ก.ส. 5) พัฒนาความพร้อมแก่แรงงานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ 6) โครงการเคาะประตูบ้านเพื่อป้องกันปัญหาหลอกลวงแรงงาน 7) โครงการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการไปทำงานต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อคืนสมดุลสู่ธรรมชาติ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) เร่งรัดการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้อย่างเป็นองค์รวม(Holistic) และเป็นระบบ 2) พัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอสำหรับการผลิต การอุปโภคและบริโภคทั้งภาคเมืองเกษตรและอุตสาหกรรม 3) สร้างจิตสำนึกและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ประกอบด้วย 10 โครงการ 1) โครงการจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง - ชี - มูล 2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาป่าชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง - ชี - มูล3) โครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกไผ่เลี้ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) โครงการจัดการทรัพยากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5) โครงการจัดทำแผนจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแบบองค์รวมภาคฯ 6) โครงการฟื้นฟูสภาพดินและน้ำ 7) โครงการปลูกต้นไม้ป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มในลุ่มน้ำโขง - ชี - มูล 8) โครงการจัดหาน้ำเพื่อการผลิตการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9) โครงการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคให้เพียงพอและดื่มได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10) โครงการจัดรูปที่ดินในภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การสร้างคนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 แนวทาง 1) การยกระดับการศึกษาและความรู้ (Knowledge) ให้พร้อมสู่สังคมฐานความรู้ 2) การยกระดับทักษะฝีมือ (Skills) และผลิตภาพของกำลังแรงงานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องและการใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพคนและเศรษฐกิจฐานราก
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ประกอบด้วย 4 โครงการ 1) โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่(SMEs) 2) โครงการพัฒนาระบบแนะแนวการศึกษาวิชาชีพและการจัดหางาน 3) โครงการสร้างเครือข่ายเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาแก่เพื่อนบ้าน 4) โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทุกภาคของประเทศเพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนา ซึ่ง สศช.ได้ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเสร็จแล้ว และจัดให้มีการสัมมนาขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ที่จังหวัดขอนแก่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย5 ยุทธศาสตร์ 16 แนวทาง ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับฐานการผลิตหลักของภาค โดยอาศัยศักยภาพการผลิตในพื้นที่เชื่อมโยงกับฐานการผลิตหลักของประเทศ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) การยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรจากสินค้าที่มีมูลค่าต่ำไปสู่สินค้าที่มีโอกาสทางการตลาดและมีมูลค่าเพิ่มสูง 2) การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมของภาคโดยเชื่อมโยงกับฐานการผลิตหลักและชายฝั่งทะเลตะวันออก 3) การเพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้ของภาคบริการทางด้านแรงงานและการท่องเที่ยว
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ประกอบด้วย 4 โครงการ 1) โครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ 2) โครงการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อผลิตลูกโคขุนคุณภาพสูงแบบโพนยางคำและกำแพงแสน3) โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตเครือข่ายวิสาหกิจไหม (Silk Clustering) 4) แผนงานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว 4.1) โครงการพิพิธภัณฑ์และศูนย์สาธิตข้าวหอมมะลิ 4.2) โครงการพิพิธภัณฑ์อารยธรรมขอม4.3) โครงการสร้างโลกใหม่ให้ช้างไทย 4.4) โครงการเส้นทางศึกษาธรรมชาติลอยฟ้า Sky Walker
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ใช้ความได้เปรียบด้านที่ตั้งของภาคร่วมมือกับกลุ่มอินโดจีนเพื่อขยายฐานอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดนของภาค ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและเร่งรัดการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือ 2) การส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มประเทศอินโดจีน 3) การพัฒนาเมืองหลักชายแดนและด่านชายแดนให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ประกอบด้วย 9 โครงการ 1) โครงการพัฒนาเมืองชายแดน : อุบลราชธานี หนองคาย มุกดาหาร นครพนม อุดรธานี เลย 2) โครงการพัฒนาด่านชายแดน : ท่าลี่ บึงกาฬ บ้านแพงท่าอุเทน ช่องเม็ก ช่องสะงำ ช่องจอม 3) โครงการศึกษาพัฒนามุกดาหารเป็น Distribution Center 4) โครงการศึกษาความเหมาะสมเพื่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมสะหวันเซโน 5) โครงการศึกษาความเหมาะสมเพื่อตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรสะหวันเขต 6) โครงการปรับปรุงระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจเป้าหมายไทย - ลาว 7) โครงการจัดคณะผู้แทนการค้าการลงทุนไปเยือนกัมพูชา ลาว พม่า 8) สนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ ณ ประเทศไทย9) จัดประชุมสภาธุรกิจแห่งยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างศักยภาพและโอกาสให้คนจน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การสร้างโอกาสการมีงานทำและความมั่นคงในอาชีพทั้งเกษตรและนอกภาคเกษตร 2) การยกระดับคุณภาพชีวิต 3) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 4) การบริหารจัดการแบบ AFP
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ประกอบด้วย 7 โครงการ 1) โครงการบริการตรวจวิเคราะห์และรับรองคุณภาพเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP 2) โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP3) โครงการอบรมคนงานเพื่อเตรียมตัวไปทำงานต่างประเทศ 4) โครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศร่วมกับ ธ.ก.ส. 5) พัฒนาความพร้อมแก่แรงงานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ 6) โครงการเคาะประตูบ้านเพื่อป้องกันปัญหาหลอกลวงแรงงาน 7) โครงการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการไปทำงานต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อคืนสมดุลสู่ธรรมชาติ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) เร่งรัดการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้อย่างเป็นองค์รวม(Holistic) และเป็นระบบ 2) พัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอสำหรับการผลิต การอุปโภคและบริโภคทั้งภาคเมืองเกษตรและอุตสาหกรรม 3) สร้างจิตสำนึกและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ประกอบด้วย 10 โครงการ 1) โครงการจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง - ชี - มูล 2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาป่าชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง - ชี - มูล3) โครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกไผ่เลี้ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) โครงการจัดการทรัพยากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5) โครงการจัดทำแผนจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแบบองค์รวมภาคฯ 6) โครงการฟื้นฟูสภาพดินและน้ำ 7) โครงการปลูกต้นไม้ป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มในลุ่มน้ำโขง - ชี - มูล 8) โครงการจัดหาน้ำเพื่อการผลิตการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9) โครงการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคให้เพียงพอและดื่มได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10) โครงการจัดรูปที่ดินในภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การสร้างคนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 แนวทาง 1) การยกระดับการศึกษาและความรู้ (Knowledge) ให้พร้อมสู่สังคมฐานความรู้ 2) การยกระดับทักษะฝีมือ (Skills) และผลิตภาพของกำลังแรงงานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องและการใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพคนและเศรษฐกิจฐานราก
โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ประกอบด้วย 4 โครงการ 1) โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่(SMEs) 2) โครงการพัฒนาระบบแนะแนวการศึกษาวิชาชีพและการจัดหางาน 3) โครงการสร้างเครือข่ายเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาแก่เพื่อนบ้าน 4) โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-