คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การผ่อนผันการใช้น้ำบาดาลสำหรับภาคอุตสาหกรรม ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 และวันที่ 30 ธันวาคม 2546) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2547 ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายและได้ข้อยุติ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การบริหารจัดการน้ำบาดาล ปัจจุบันภารกิจในการบริหารจัดการน้ำได้รวมอยู่ที่กระทรวงทรัพยากร-ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพียงแห่งเดียวส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำสามารถดำเนินการได้อย่างมีเอกภาพ โดยมีนโยบายปรับลดการใช้น้ำลงอีกร้อยละ 40 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจในพื้นที่และให้มีการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจังจากปัญหาแผ่นดินทรุดอันเนื่องจากการใช้น้ำบาดาลทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าในหลายพื้นที่ยังคงเกิดปัญหาแผ่นดินทรุดแต่มีอัตราที่ลดลง ดังนั้น จึงต้องเฝ้าระวังการใช้น้ำบาดาลอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ปัญหาการเกิดแผ่นดินทรุดดังกล่าว อาจมิใช่เกิดจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องมีการศึกษาหาสาเหตุอย่างจริงจังต่อไป
2. การกำหนดหลักเกณฑ์ผ่อนผันการใช้น้ำบาดาลสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยหลักการของมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมีเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีการลดและเลิกการใช้น้ำบาดาลอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่หากมีการยกเลิกการใช้น้ำอย่างเด็ดขาด ย่อมมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำบาดาลในการผลิตและกระบวนการผลิตอย่างแท้จริง ซึ่งได้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการใช้น้ำบาดาล ดังนี้
2.1 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นในการอนุมัติจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจะไม่อนุญาตให้ภาคอุตสาหกรรมดำเนินการใดที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายชุมชนหรือประเทศโดยรวมแต่จะสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความสมดุลที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
2.2 การผ่อนผันการใช้น้ำบาดาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ระบบน้ำประปาเข้าถึงหรือสามารถเชื่อมต่อกับระบบประปา ได้อนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เท่านั้น ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้ว หากพบว่าผู้ประกอบการรายใดหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด และให้การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวงปรับปรุงการให้บริการน้ำแก่ภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2.3 การผ่อนผันให้อุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำบาดาลในการผลิตและกระบวนการผลิตอย่างแท้จริง และยังไม่สามารถใช้น้ำประปาแทนได้ ซึ่งจะพิจารณาผ่อนผันแก่ผู้ประกอบการเป็นราย ๆ ในแต่ละพื้นที่เท่าที่จำเป็นนั้น ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำรายละเอียดประเภทอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำบาดาล ซึ่งจะได้พิจารณาร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกครั้ง
2.4 ในการพิจารณาผ่อนผันหรือการกำหนดให้มีการลดหรือเลิกการใช้น้ำบาดาลจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนและกำหนดระยะเวลาการผ่อนผันที่ชัดเจนให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงมหาดไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2547 หลังจากนั้นให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด และหากผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติดังกล่าวให้ระงับการใช้น้ำบาดาลทันที สำหรับหน่วยงานของรัฐที่มีน้ำประปาเข้าถึงให้ใช้น้ำประปาทดแทนเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ภาคเอกชน
2.5 ในระยะยาวให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบร่วมกับกระทรวงทรัพยากร- ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำยุทธศาสตร์น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม โดยไม่จำกัดเฉพาะการหาแหล่งน้ำมาใช้เท่านั้น แต่ให้รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อสามารถจัดการน้ำที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้(Reuse/Recycle) ได้อีก
3. การดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้มอบให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนการลดหรือเลิกการใช้น้ำบาดาล โดยให้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการใช้น้ำบาดาลสำหรับภาคอุตสาหกรรม และการหาแนวทางแก้ไขปัญหาในกรณีพื้นที่ที่ระบบประปายังเข้าไม่ถึง ทั้งนี้ ให้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินงานภายในเดือนมีนาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 และวันที่ 30 ธันวาคม 2546) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2547 ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายและได้ข้อยุติ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การบริหารจัดการน้ำบาดาล ปัจจุบันภารกิจในการบริหารจัดการน้ำได้รวมอยู่ที่กระทรวงทรัพยากร-ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพียงแห่งเดียวส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำสามารถดำเนินการได้อย่างมีเอกภาพ โดยมีนโยบายปรับลดการใช้น้ำลงอีกร้อยละ 40 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจในพื้นที่และให้มีการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจังจากปัญหาแผ่นดินทรุดอันเนื่องจากการใช้น้ำบาดาลทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าในหลายพื้นที่ยังคงเกิดปัญหาแผ่นดินทรุดแต่มีอัตราที่ลดลง ดังนั้น จึงต้องเฝ้าระวังการใช้น้ำบาดาลอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ปัญหาการเกิดแผ่นดินทรุดดังกล่าว อาจมิใช่เกิดจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องมีการศึกษาหาสาเหตุอย่างจริงจังต่อไป
2. การกำหนดหลักเกณฑ์ผ่อนผันการใช้น้ำบาดาลสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยหลักการของมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมีเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีการลดและเลิกการใช้น้ำบาดาลอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่หากมีการยกเลิกการใช้น้ำอย่างเด็ดขาด ย่อมมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำบาดาลในการผลิตและกระบวนการผลิตอย่างแท้จริง ซึ่งได้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการใช้น้ำบาดาล ดังนี้
2.1 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นในการอนุมัติจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจะไม่อนุญาตให้ภาคอุตสาหกรรมดำเนินการใดที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายชุมชนหรือประเทศโดยรวมแต่จะสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความสมดุลที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
2.2 การผ่อนผันการใช้น้ำบาดาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ระบบน้ำประปาเข้าถึงหรือสามารถเชื่อมต่อกับระบบประปา ได้อนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เท่านั้น ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้ว หากพบว่าผู้ประกอบการรายใดหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด และให้การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวงปรับปรุงการให้บริการน้ำแก่ภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2.3 การผ่อนผันให้อุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำบาดาลในการผลิตและกระบวนการผลิตอย่างแท้จริง และยังไม่สามารถใช้น้ำประปาแทนได้ ซึ่งจะพิจารณาผ่อนผันแก่ผู้ประกอบการเป็นราย ๆ ในแต่ละพื้นที่เท่าที่จำเป็นนั้น ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำรายละเอียดประเภทอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำบาดาล ซึ่งจะได้พิจารณาร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกครั้ง
2.4 ในการพิจารณาผ่อนผันหรือการกำหนดให้มีการลดหรือเลิกการใช้น้ำบาดาลจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนและกำหนดระยะเวลาการผ่อนผันที่ชัดเจนให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงมหาดไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2547 หลังจากนั้นให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด และหากผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติดังกล่าวให้ระงับการใช้น้ำบาดาลทันที สำหรับหน่วยงานของรัฐที่มีน้ำประปาเข้าถึงให้ใช้น้ำประปาทดแทนเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ภาคเอกชน
2.5 ในระยะยาวให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบร่วมกับกระทรวงทรัพยากร- ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำยุทธศาสตร์น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม โดยไม่จำกัดเฉพาะการหาแหล่งน้ำมาใช้เท่านั้น แต่ให้รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อสามารถจัดการน้ำที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้(Reuse/Recycle) ได้อีก
3. การดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้มอบให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนการลดหรือเลิกการใช้น้ำบาดาล โดยให้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการใช้น้ำบาดาลสำหรับภาคอุตสาหกรรม และการหาแนวทางแก้ไขปัญหาในกรณีพื้นที่ที่ระบบประปายังเข้าไม่ถึง ทั้งนี้ ให้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินงานภายในเดือนมีนาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-