คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 และมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบรวมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) และคณะกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าด้วยกัน
2. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ พ.ศ. …. ที่ปรับปรุงใหม่ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ซึ่งมีนายก-รัฐมนตรีเป็นประธาน โดยคณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติ ดังนี้
1. เรื่อง การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
1) เห็นชอบในการรวมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) และคณะกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ"
2) เห็นชอบการปรับองค์ประกอบคณะกรรมการ โดยใช้ กพข. เป็นหลัก โดยเพิ่มรองนายกรัฐมนตรี(นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นรองประธานกรรมการ และเพิ่มกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
3) เห็นชอบการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พ.ศ. 2545 เป็น "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ พ.ศ. …." โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเฉพาะชื่อระเบียบ หลักการและเหตุผล องค์ประกอบของคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและภารกิจให้สอดคล้องกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. กรอบแนวคิดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
1) เห็นชอบกรอบแนวคิดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยปรับปรุงเพิ่มเติมด้านทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
2) เห็นชอบให้ประสานและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเรื่องที่เร่งด่วนในช่วง 2 ปี
3) มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาเรื่องการสรรหาอัจฉริยะประจำหมู่บ้าน
3. เรื่อง การพัฒนาโลจิสติกส์ในประเทศไทย
1) ให้มีการจัดตั้งทีมงานโดยรับความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณา
2) การแก้ไขปัญหา ICD ที่ลาดกระบัง เห็นควรให้กระทรวงคมนาคมจัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาปรับปรุง และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ พ.ศ. …. ที่ปรับปรุงใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ" เรียกโดยย่อว่า "กพย." ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
2. ให้ กพย. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกรอบ ทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และผลักดันให้มีการนำกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการ
3. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ เรียกโดยย่อว่า"สพย." เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กพย.
4. เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัตินโยบายและแผนงานพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศที่ กพย. เสนอแล้ว ให้ กพย. กำหนดขั้นตอน วิธีการ และแนวทางดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานดังกล่าว รวมทั้งกำหนดหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรอื่นที่จะให้รับผิดชอบปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย
5. ให้ กพย. มีอำนาจปรับ แก้ไข หรือยุบเลิกแผนงาน หรือกิจกรรมที่ได้อนุมัติไปแล้วนั้น รวมตลอดถึงการปรับวงเงินรายจ่ายได้ตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบรวมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) และคณะกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าด้วยกัน
2. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ พ.ศ. …. ที่ปรับปรุงใหม่ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ซึ่งมีนายก-รัฐมนตรีเป็นประธาน โดยคณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติ ดังนี้
1. เรื่อง การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
1) เห็นชอบในการรวมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) และคณะกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ"
2) เห็นชอบการปรับองค์ประกอบคณะกรรมการ โดยใช้ กพข. เป็นหลัก โดยเพิ่มรองนายกรัฐมนตรี(นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นรองประธานกรรมการ และเพิ่มกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
3) เห็นชอบการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พ.ศ. 2545 เป็น "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ พ.ศ. …." โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเฉพาะชื่อระเบียบ หลักการและเหตุผล องค์ประกอบของคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและภารกิจให้สอดคล้องกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. กรอบแนวคิดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
1) เห็นชอบกรอบแนวคิดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยปรับปรุงเพิ่มเติมด้านทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
2) เห็นชอบให้ประสานและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเรื่องที่เร่งด่วนในช่วง 2 ปี
3) มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาเรื่องการสรรหาอัจฉริยะประจำหมู่บ้าน
3. เรื่อง การพัฒนาโลจิสติกส์ในประเทศไทย
1) ให้มีการจัดตั้งทีมงานโดยรับความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณา
2) การแก้ไขปัญหา ICD ที่ลาดกระบัง เห็นควรให้กระทรวงคมนาคมจัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาปรับปรุง และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ พ.ศ. …. ที่ปรับปรุงใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ" เรียกโดยย่อว่า "กพย." ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
2. ให้ กพย. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกรอบ ทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และผลักดันให้มีการนำกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการ
3. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศ เรียกโดยย่อว่า"สพย." เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กพย.
4. เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัตินโยบายและแผนงานพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศที่ กพย. เสนอแล้ว ให้ กพย. กำหนดขั้นตอน วิธีการ และแนวทางดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานดังกล่าว รวมทั้งกำหนดหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรอื่นที่จะให้รับผิดชอบปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย
5. ให้ กพย. มีอำนาจปรับ แก้ไข หรือยุบเลิกแผนงาน หรือกิจกรรมที่ได้อนุมัติไปแล้วนั้น รวมตลอดถึงการปรับวงเงินรายจ่ายได้ตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547--จบ--
-กภ-