คณะรัฐมนตรีพิจารณาการเร่งรัดจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายไตรมาส (Quarterly GrossDomestic Product : QGDP) ของประเทศไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการจัดทำข้อมูลให้รวดเร็วขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการประเมินเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการจัดส่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำ QGDP และรัฐวิสาหกิจทุกแห่งจัดส่งข้อมูลงบลงทุนให้ สศช. ภายใน 7 สัปดาห์นับแต่สิ้นไตรมาส ทั้งนี้ให้จัดส่งในระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งของปี 2547 เป็นต้นไป
2. ให้ถือเป็นนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่จะเร่งรัดการเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานที่แต่ละหน่วยงานจัดเก็บให้รวดเร็ว มีความถูกต้อง และมีความโปร่งใส ทั้งข้อมูลที่จัดเก็บได้จากกระบวนการบริหารภาครัฐ และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม เพื่อสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ทั้งนี้ สศช. รายงานว่า ปัจจุบัน สศช. สามารถเผยแพร่ข้อมูล QGDP ได้ภายใน 11 สัปดาห์หลังจากสิ้นไตรมาส โดยมีกำหนดเผยแพร่ทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนสิ้นไตรมาส (ประมาณ 11 สัปดาห์) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ และการวางแผนธุรกิจของภาคเอกชนและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศสศช. จึงได้บรรจุแผนงานการปรับลดระยะเวลาการเผยแพร่ข้อมูล QGDP ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ สศช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายการเผยแพร่ข้อมูลให้รวดเร็วขึ้นจากเดิม 1 สัปดาห์ในปี 2547และเร็วขึ้นอีก 1 สัปดาห์ในปี 2549
จากการสำรวจการเก็บข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่จัดส่งข้อมูลให้ สศช. มีความเป็นไปได้ที่จะเร่งรัดจัดทำข้อมูลสถิติ QGDP ให้รวดเร็วขึ้นจากสภาพข้อมูลในปัจจุบันได้ ดังนี้
1. ข้อมูลประเภทพื้นฐานทั่วไป มีหน่วยงานที่สามารถจัดส่งให้ได้ภายใน 7 สัปดาห์ จำนวน 58 รายการหรือร้อยละ 56.9 ของจำนวนรายการที่ต้องใช้ โดยไม่นับรวมข้อมูลที่ สศช. รวบรวมจากภาคเอกชนโดยตรง และข้อมูลอื่น ๆ ที่มีการเผยแพร่เร็วกว่า 7 สัปดาห์อยู่แล้ว และมีรายการข้อมูลที่อยู่ในวิสัยที่จะเร่งรัดจากเดิม 8 สัปดาห์ได้จำนวน31 รายการ (ร้อยละ 30.4) และมีเพียงส่วนน้อยที่จำเป็นต้องเร่งรัดและใช้ความพยายามมากขึ้นเนื่องจากยังคงรายงานข้อมูลล่าช้ามากกว่า 8 สัปดาห์ ซึ่งมีเพียง 13 รายการ (ร้อยละ 12.7)
2. จากการสำรวจข้อมูลการลงทุนของรัฐวิสาหกิจจำนวน 72 แห่ง เป็นประจำทุกไตรมาส โดยวิธีการส่งแบบสอบถามสำรวจข้อมูล และปัจจุบันได้รับคืนเพียงประมาณร้อยละ 50 และมีความล่าช้าประมาณ 8 สัปดาห์ โดยรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าการลงทุนสูงได้รับครบทุกแห่ง คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของมูลค่าการลงทุนรวมของรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการจัดทำข้อมูลให้รวดเร็วขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการประเมินเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการจัดส่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำ QGDP และรัฐวิสาหกิจทุกแห่งจัดส่งข้อมูลงบลงทุนให้ สศช. ภายใน 7 สัปดาห์นับแต่สิ้นไตรมาส ทั้งนี้ให้จัดส่งในระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งของปี 2547 เป็นต้นไป
2. ให้ถือเป็นนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่จะเร่งรัดการเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานที่แต่ละหน่วยงานจัดเก็บให้รวดเร็ว มีความถูกต้อง และมีความโปร่งใส ทั้งข้อมูลที่จัดเก็บได้จากกระบวนการบริหารภาครัฐ และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม เพื่อสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ทั้งนี้ สศช. รายงานว่า ปัจจุบัน สศช. สามารถเผยแพร่ข้อมูล QGDP ได้ภายใน 11 สัปดาห์หลังจากสิ้นไตรมาส โดยมีกำหนดเผยแพร่ทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนสิ้นไตรมาส (ประมาณ 11 สัปดาห์) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ และการวางแผนธุรกิจของภาคเอกชนและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศสศช. จึงได้บรรจุแผนงานการปรับลดระยะเวลาการเผยแพร่ข้อมูล QGDP ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ สศช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายการเผยแพร่ข้อมูลให้รวดเร็วขึ้นจากเดิม 1 สัปดาห์ในปี 2547และเร็วขึ้นอีก 1 สัปดาห์ในปี 2549
จากการสำรวจการเก็บข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่จัดส่งข้อมูลให้ สศช. มีความเป็นไปได้ที่จะเร่งรัดจัดทำข้อมูลสถิติ QGDP ให้รวดเร็วขึ้นจากสภาพข้อมูลในปัจจุบันได้ ดังนี้
1. ข้อมูลประเภทพื้นฐานทั่วไป มีหน่วยงานที่สามารถจัดส่งให้ได้ภายใน 7 สัปดาห์ จำนวน 58 รายการหรือร้อยละ 56.9 ของจำนวนรายการที่ต้องใช้ โดยไม่นับรวมข้อมูลที่ สศช. รวบรวมจากภาคเอกชนโดยตรง และข้อมูลอื่น ๆ ที่มีการเผยแพร่เร็วกว่า 7 สัปดาห์อยู่แล้ว และมีรายการข้อมูลที่อยู่ในวิสัยที่จะเร่งรัดจากเดิม 8 สัปดาห์ได้จำนวน31 รายการ (ร้อยละ 30.4) และมีเพียงส่วนน้อยที่จำเป็นต้องเร่งรัดและใช้ความพยายามมากขึ้นเนื่องจากยังคงรายงานข้อมูลล่าช้ามากกว่า 8 สัปดาห์ ซึ่งมีเพียง 13 รายการ (ร้อยละ 12.7)
2. จากการสำรวจข้อมูลการลงทุนของรัฐวิสาหกิจจำนวน 72 แห่ง เป็นประจำทุกไตรมาส โดยวิธีการส่งแบบสอบถามสำรวจข้อมูล และปัจจุบันได้รับคืนเพียงประมาณร้อยละ 50 และมีความล่าช้าประมาณ 8 สัปดาห์ โดยรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าการลงทุนสูงได้รับครบทุกแห่ง คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของมูลค่าการลงทุนรวมของรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-