คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เกี่ยวกับการประกันตัวผู้ต้องหาคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยกำหนดห้ามข้าราชการใช้ตำแหน่งประกันตัวเฉพาะผู้ต้องหาที่กระทำละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นผู้ผลิต ผู้ค้าส่งหรือเจ้าของแหล่งเก็บสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
สำหรับเรื่องนี้ สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทยได้ร้องเรียนว่า ผู้ประกอบการคาราโอเกะได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทำให้ต้องหาหลักทรัพย์หรือเงินสดจำนวนค่อนข้างสูงในการประกันตัว ทั้ง ๆ ที่การกระทำดังกล่าวยังไม่ทราบว่าเป็นความผิดตามที่ผู้กล่าวหากล่าวอ้างหรือไม่ หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อเรียกผลประโยชน์ทางการค้าของผู้เสียหายเอง จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ กรณีการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงโดยการเผยแพร่เพลงโดยผู้ประกอบการคาราโอเกะ เป็นเรื่องที่เจ้าของลิขสิทธิ์ดำเนินการจับกุมผู้ประกอบการคาราโอเกะที่ละเมิดสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ ซึ่งบางครั้งผู้ถูกจับกุมอาจเป็นผู้ประกอบการที่สุจริตหรือบางรายทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และบางกรณีก็ยังไม่ชัดเจนว่าผู้ถูกจับกุมได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ประกอบกับผู้ประกอบการคาราโอเกะส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย และเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารรายเล็ก ๆที่ขายอาหารอยู่เป็นปกติ ซึ่งหากยึดแนวปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ผู้ประกอบการเหล่านี้จะต้องมีหลักทรัพย์หรือเงินสดมาประกันตัวในอัตราค่อนข้างสูง (50,000 บาท - 200,000 บาท) และหากไม่มีเงินประกันตัวอาจถูกควบคุมหรือขัง จึงได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าว
เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวใช้กับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกกรณี รวมทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงโดยการเผยแพร่หรือเปิดเพลงโดยผู้ประกอบการคาราโอเกะด้วย แต่นโยบายของรัฐบาลในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ในการปราบปรามผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าละเมิด โดยเฉพาะในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์จะเน้นปราบปรามแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าละเมิด ซึ่งมีการกระทำเป็นกระบวนการและเป็นการกระทำผิดโดยมีเจตนา จึงเป็นความผิดที่ชัดเจนและไม่ควรให้ข้าราชการเข้าไปยุ่งเกี่ยวโดยใช้ตำแหน่งในการประกันตัวผู้ต้องหาตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวตามเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำหรับเรื่องนี้ สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทยได้ร้องเรียนว่า ผู้ประกอบการคาราโอเกะได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทำให้ต้องหาหลักทรัพย์หรือเงินสดจำนวนค่อนข้างสูงในการประกันตัว ทั้ง ๆ ที่การกระทำดังกล่าวยังไม่ทราบว่าเป็นความผิดตามที่ผู้กล่าวหากล่าวอ้างหรือไม่ หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อเรียกผลประโยชน์ทางการค้าของผู้เสียหายเอง จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ กรณีการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงโดยการเผยแพร่เพลงโดยผู้ประกอบการคาราโอเกะ เป็นเรื่องที่เจ้าของลิขสิทธิ์ดำเนินการจับกุมผู้ประกอบการคาราโอเกะที่ละเมิดสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ ซึ่งบางครั้งผู้ถูกจับกุมอาจเป็นผู้ประกอบการที่สุจริตหรือบางรายทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และบางกรณีก็ยังไม่ชัดเจนว่าผู้ถูกจับกุมได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ประกอบกับผู้ประกอบการคาราโอเกะส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย และเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารรายเล็ก ๆที่ขายอาหารอยู่เป็นปกติ ซึ่งหากยึดแนวปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ผู้ประกอบการเหล่านี้จะต้องมีหลักทรัพย์หรือเงินสดมาประกันตัวในอัตราค่อนข้างสูง (50,000 บาท - 200,000 บาท) และหากไม่มีเงินประกันตัวอาจถูกควบคุมหรือขัง จึงได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าว
เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวใช้กับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกกรณี รวมทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงโดยการเผยแพร่หรือเปิดเพลงโดยผู้ประกอบการคาราโอเกะด้วย แต่นโยบายของรัฐบาลในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ในการปราบปรามผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าละเมิด โดยเฉพาะในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์จะเน้นปราบปรามแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าละเมิด ซึ่งมีการกระทำเป็นกระบวนการและเป็นการกระทำผิดโดยมีเจตนา จึงเป็นความผิดที่ชัดเจนและไม่ควรให้ข้าราชการเข้าไปยุ่งเกี่ยวโดยใช้ตำแหน่งในการประกันตัวผู้ต้องหาตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวตามเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-