คณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์สับปะรด ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) เกี่ยวกับการจัดทำระบบ Zoning ความร่วมมือของทุกฝ่ายภายในประเทศทั้งกลุ่มเกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด และการจัดการของรัฐบาลในลักษณะของการจัดตั้งบริษัทกลาง โดยร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ไปดำเนินการด้วย
ยุทธศาสตร์สับปะรดประกอบด้วยมาตรการ 4 ด้าน คือ
1. ด้านวัตถุดิบ ประกอบด้วย การจัดทำระบบ Zoning การส่งเสริมการรวมตัวของภาคเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และช่วงเวลา รวมทั้งลดต้นทุนการผลิต
2. ด้านการสร้างสมดุลระหว่างวัตถุดิบกับการแปรรูป ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการจัดระบบ ContractFarming ระหว่างกลุ่มเกษตรกรและโรงงานสับปะรดให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้โรงงานมีการผลิตที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยในระดับสากล (GMP HACCP) สนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในเชิงพาณิชย์สนับสนุนด้านสินเชื่อผ่อนปรนแก่เกษตรกรและโรงงาน และที่สำคัญคือ การจัดตั้งบริษัทกลางเพื่อเชื่อมโยงระบบการผลิตการแปรรูป และการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดให้เกิดเอกภาพและมั่นคง โดยการจัดตั้งบริษัทกลางจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาคเกษตร (กลุ่มเกษตรกร) ภาคอุตสาหกรรม (โรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด) และภาครัฐ (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : สสว.) ในสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 35 : 35 : 30 มีเงินทุนจดทะเบียนเริ่มต้น30 ล้านบาท
3. ด้านการสร้างเอกภาพและส่งเสริมการส่งออก ได้แก่ การรณรงค์การบริโภคสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ในประเทศให้มากขึ้น การจัดระเบียบการส่งออกโดยใช้กลไกของบริษัทกลาง สนับสนุนการสร้างตราสินค้าสับปะรดไทยในตลาดโลก ส่งเสริมการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนสับปะรดไทย - อินโดนีเซีย - ฟิลิปปินส์ เพื่อสร้างเสถียรภาพราคาตลาดโลก และการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่างๆ
4. ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการ นโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ จากเดิมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ และการสนับสนุนสำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทยให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้ราคาสับปะรดมีเสถียรภาพ เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง เกิดดุลยภาพระหว่างการผลิตวัตถุดิบกับการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม การจัดตั้งบริษัทกลางจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศขั้นต่ำปีละ 3,925 ล้านบาท และก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการผลิต และการส่งออก ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดได้ 40,000 ล้านบาท ในปี 2555 ตามที่กำหนดเป้าหมายไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
ยุทธศาสตร์สับปะรดประกอบด้วยมาตรการ 4 ด้าน คือ
1. ด้านวัตถุดิบ ประกอบด้วย การจัดทำระบบ Zoning การส่งเสริมการรวมตัวของภาคเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และช่วงเวลา รวมทั้งลดต้นทุนการผลิต
2. ด้านการสร้างสมดุลระหว่างวัตถุดิบกับการแปรรูป ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการจัดระบบ ContractFarming ระหว่างกลุ่มเกษตรกรและโรงงานสับปะรดให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้โรงงานมีการผลิตที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยในระดับสากล (GMP HACCP) สนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในเชิงพาณิชย์สนับสนุนด้านสินเชื่อผ่อนปรนแก่เกษตรกรและโรงงาน และที่สำคัญคือ การจัดตั้งบริษัทกลางเพื่อเชื่อมโยงระบบการผลิตการแปรรูป และการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดให้เกิดเอกภาพและมั่นคง โดยการจัดตั้งบริษัทกลางจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาคเกษตร (กลุ่มเกษตรกร) ภาคอุตสาหกรรม (โรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด) และภาครัฐ (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : สสว.) ในสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 35 : 35 : 30 มีเงินทุนจดทะเบียนเริ่มต้น30 ล้านบาท
3. ด้านการสร้างเอกภาพและส่งเสริมการส่งออก ได้แก่ การรณรงค์การบริโภคสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ในประเทศให้มากขึ้น การจัดระเบียบการส่งออกโดยใช้กลไกของบริษัทกลาง สนับสนุนการสร้างตราสินค้าสับปะรดไทยในตลาดโลก ส่งเสริมการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนสับปะรดไทย - อินโดนีเซีย - ฟิลิปปินส์ เพื่อสร้างเสถียรภาพราคาตลาดโลก และการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่างๆ
4. ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการ นโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ จากเดิมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ และการสนับสนุนสำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทยให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้ราคาสับปะรดมีเสถียรภาพ เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง เกิดดุลยภาพระหว่างการผลิตวัตถุดิบกับการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม การจัดตั้งบริษัทกลางจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศขั้นต่ำปีละ 3,925 ล้านบาท และก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการผลิต และการส่งออก ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดได้ 40,000 ล้านบาท ในปี 2555 ตามที่กำหนดเป้าหมายไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-