เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่อง
การปรับโครงสร้างกิจการพลังงานภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน
คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการพลังงานภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน ตามที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และรับทราบความเห็น ผลการพิจารณา และผลการดำเนินการของกระทรวงพลังงานในเรื่องดังกล่าว
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอความเห้นและข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ เกี่ยวกับเรื่องการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานต่อคณะรัฐมนตรี รวม 4 ประเด็น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ แล้วเห็นชอบให้กระทรวงพลังงานจัดทำความเห็น ผลการพิจารณาและผลการดำเนินการต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ
กระทรวงพลังงานได้รายงานผลการพิจารณาเกี่ยวกับความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ สรุปได้ดังนี้
1. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ควรให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างยั่งยืน
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่าจากการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์พลังงาน เมื่อวันที่ 28สิงหาคม 2546 ได้มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาพลังงานทดแทนจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 8 ใน 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินมาตรการสนับสนุนและการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบ
2. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 2 คือ โครงสร้างเชิงบริหารนโยบาย การกำกับดูแล และการดำเนินการ
2.1 ให้แยกบทบาทการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการปฏิบัติการออกจากกันอย่างชัดเจนโดยให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน
2.2 องค์กรกำกับดูแลจะต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ประกอบการ มีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินงานอย่างเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากการเมือง และมีความน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้การดำเนินงานต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ
2.3 ในการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ ให้มีการยกร่าง พ.ร.บ. การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยร่าง พ.ร.บ. ควรตั้งอยู่บนหลักการ ดังนี้
1) ประกันสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปีพุทธศักราช2540
2) ให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้บริโภค ชุมชนท้องถิ่นและผู้ประกอบการอิสระ ภายใต้กฎ กติกา ที่ดูแลความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
3) เป็นไปตามแนวทางการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม2542 เห็นชอบตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจเสนอ ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. …. ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ควรนำมาปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ให้จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการพลังงานขึ้นภายใต้กระทรวงพลังงาน โดยมีการแยกอำนาจหน้าที่ของการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการและผู้กำหนดนโยบายออกจากกันอย่างชัดเจน แต่อยู่ภายใต้นโยบายของรัฐ แลเพื่อให้การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการพลังงานบรรลุวัตถุประสงค์ จะต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย และรวบรวมความเห็นทุกฝ่าย รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อประกอบการพิจารณา เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ทำให้กิจการไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุด
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 3 คือ โครงสร้างเชิงระบบปฏิรูปโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหาการผูกขาด และเพิ่มประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อสาธารณะ
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 เกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้า Enhanced Single Buyer (ESB) กำหนดให้แยกบัญชีการเงินระหว่างธุรกิจผลิตกับธุรกิจระบบส่งไฟฟ้า เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถแข่งขันในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเป็นธรรมส่งเสริมให้กิจการไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง
4. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 4 คือ โครงสร้างเชิงนโยบาย การพัฒนาพลังงาน และการจัดการพลังงานโดยท้องถิ่น ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีส่วนร่วมในการจัดการพลังงานและผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ขยะ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่ารัฐได้ส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัตถุเหลือใช้มาผลิตไฟฟ้ามาโดยตลอด และปัจจุบันมีการสนับสนุนให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 3.5 ของกำลังการผลิตใหม่ทั้งหมด ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14พฤษภาคม 2545 เห็นชอบร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก ซึ่งเป็นการกระจายโอกาสไปยังพื้นที่ห่างไกลให้มีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า อันเป็นการใช้ทรัพยากรจากท้องถิ่นในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายให้กับการไฟฟ้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
การปรับโครงสร้างกิจการพลังงานภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน
คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่อง การปรับโครงสร้างกิจการพลังงานภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน ตามที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และรับทราบความเห็น ผลการพิจารณา และผลการดำเนินการของกระทรวงพลังงานในเรื่องดังกล่าว
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอความเห้นและข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ เกี่ยวกับเรื่องการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานต่อคณะรัฐมนตรี รวม 4 ประเด็น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ แล้วเห็นชอบให้กระทรวงพลังงานจัดทำความเห็น ผลการพิจารณาและผลการดำเนินการต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ
กระทรวงพลังงานได้รายงานผลการพิจารณาเกี่ยวกับความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ สรุปได้ดังนี้
1. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ควรให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างยั่งยืน
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่าจากการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์พลังงาน เมื่อวันที่ 28สิงหาคม 2546 ได้มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาพลังงานทดแทนจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 8 ใน 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินมาตรการสนับสนุนและการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบ
2. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 2 คือ โครงสร้างเชิงบริหารนโยบาย การกำกับดูแล และการดำเนินการ
2.1 ให้แยกบทบาทการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการปฏิบัติการออกจากกันอย่างชัดเจนโดยให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน
2.2 องค์กรกำกับดูแลจะต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ประกอบการ มีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินงานอย่างเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากการเมือง และมีความน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้การดำเนินงานต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ
2.3 ในการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ ให้มีการยกร่าง พ.ร.บ. การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยร่าง พ.ร.บ. ควรตั้งอยู่บนหลักการ ดังนี้
1) ประกันสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปีพุทธศักราช2540
2) ให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้บริโภค ชุมชนท้องถิ่นและผู้ประกอบการอิสระ ภายใต้กฎ กติกา ที่ดูแลความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
3) เป็นไปตามแนวทางการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม2542 เห็นชอบตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจเสนอ ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. …. ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ควรนำมาปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ให้จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการพลังงานขึ้นภายใต้กระทรวงพลังงาน โดยมีการแยกอำนาจหน้าที่ของการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการและผู้กำหนดนโยบายออกจากกันอย่างชัดเจน แต่อยู่ภายใต้นโยบายของรัฐ แลเพื่อให้การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการพลังงานบรรลุวัตถุประสงค์ จะต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย และรวบรวมความเห็นทุกฝ่าย รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อประกอบการพิจารณา เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ทำให้กิจการไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุด
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 3 คือ โครงสร้างเชิงระบบปฏิรูปโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหาการผูกขาด และเพิ่มประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อสาธารณะ
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 เกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้า Enhanced Single Buyer (ESB) กำหนดให้แยกบัญชีการเงินระหว่างธุรกิจผลิตกับธุรกิจระบบส่งไฟฟ้า เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถแข่งขันในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเป็นธรรมส่งเสริมให้กิจการไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง
4. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ ประเด็นที่ 4 คือ โครงสร้างเชิงนโยบาย การพัฒนาพลังงาน และการจัดการพลังงานโดยท้องถิ่น ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีส่วนร่วมในการจัดการพลังงานและผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ขยะ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว แจ้งว่ารัฐได้ส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัตถุเหลือใช้มาผลิตไฟฟ้ามาโดยตลอด และปัจจุบันมีการสนับสนุนให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 3.5 ของกำลังการผลิตใหม่ทั้งหมด ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14พฤษภาคม 2545 เห็นชอบร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก ซึ่งเป็นการกระจายโอกาสไปยังพื้นที่ห่างไกลให้มีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า อันเป็นการใช้ทรัพยากรจากท้องถิ่นในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายให้กับการไฟฟ้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-