คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติอนุมัติในหลักการว่า งบประมาณเพื่อชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส.) จำนวน 267,664,763.69 บาท จำแนกเป็น ต้นเงินกู้ 201,066,055 บาท ดอกเบี้ย 66,498,718.69 บาท ตามมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสำหรับโครงการตามนโยบายของรัฐบาล จำนวน 12 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมทดแทนการการปลูกสับปะรด ระยะที่ 1-3 จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 2. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม 10 จังหวัด 3. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในเขตนิคมสหกรณ์ชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 4. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดสุพรรณบุรี 5. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 6. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดสกลนคร ระยะที่ 1 7. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดสกลนคร ระยะที่ 2 8. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม กิ่งอำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ 9. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดเพชรบูรณ์ 10. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 11. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อและปลาน้ำจืดในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดนครนายก 12. โครงการพิเศษช่วยชาวไร่อ้อยประสบความแห้งแล้ง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า รัฐบาลมีนโยบายใหความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและภัยธรรมชาติ ธ.ก.ส. จึงได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตของเกษตรกร โดยมอบให้ ธ.ก.ส. จัดหาเงินทุนในรูปสินเชื่อและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ด้านวิชาการ จำนวน 12 โครงการ ซึ่ง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2547 เกษตรกรมีหนี้ค้างชำระ จำนวน 1,051 ราย ต้นเงินกู้คงเป็นหนี้ จำนวน 201,066,045 บาท ดอกเบี้ย จำนวน 165,842,044.82 บาท และเกษตรกรกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว ประสบปัญหาจากหลาย ๆ สาเหตุ เป็นต้นว่า เกษตรกรขาดประสบการณ์ เจ้าหน้าที่ของรัฐมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอที่จะให้คำแนะนำเกษตรกรเมื่อเกิดปัญหา และปัญหาจากภัยธรรมชาติติดต่อกันหลายปี เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่ผลผลิตตกต่ำ ส่งผลให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแต่ละราย โดยติดตามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งจากวิธีการให้ความรู้ด้านวิชาการ ให้สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูการผลิต กำหนดมาตรการลดภาระค่าใช้จ่าย โดย ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ยเงินกู้และขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปอีกกว่า 10 ปี แต่ปัญหาจากภัยธรรมชาติและสภาพแวดล้อมก็ยังเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า รัฐบาลมีนโยบายใหความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและภัยธรรมชาติ ธ.ก.ส. จึงได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตของเกษตรกร โดยมอบให้ ธ.ก.ส. จัดหาเงินทุนในรูปสินเชื่อและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ด้านวิชาการ จำนวน 12 โครงการ ซึ่ง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2547 เกษตรกรมีหนี้ค้างชำระ จำนวน 1,051 ราย ต้นเงินกู้คงเป็นหนี้ จำนวน 201,066,045 บาท ดอกเบี้ย จำนวน 165,842,044.82 บาท และเกษตรกรกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว ประสบปัญหาจากหลาย ๆ สาเหตุ เป็นต้นว่า เกษตรกรขาดประสบการณ์ เจ้าหน้าที่ของรัฐมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอที่จะให้คำแนะนำเกษตรกรเมื่อเกิดปัญหา และปัญหาจากภัยธรรมชาติติดต่อกันหลายปี เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่ผลผลิตตกต่ำ ส่งผลให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแต่ละราย โดยติดตามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งจากวิธีการให้ความรู้ด้านวิชาการ ให้สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูการผลิต กำหนดมาตรการลดภาระค่าใช้จ่าย โดย ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ยเงินกู้และขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปอีกกว่า 10 ปี แต่ปัญหาจากภัยธรรมชาติและสภาพแวดล้อมก็ยังเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--