คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการดูแลราคาสินค้าอุปโภคหลังการปรับเงินเดือนข้าราชการ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
มาตรการในการกำกับดูแล
1. มาตรการจัดระบบการบริหารจัดการ
1) ตั้งศูนย์บริหารจัดการแก้ไขปัญหาราคาสินค้า (Operation Room) ณ กรมการค้าภายใน โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลราคาและสถานการณ์สินค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวม 75 จังหวัด เป็นประจำทุกวัน ทำให้สามารถประเมินสถานการณ์ในภาพรวมทั้งในประเทศ และในระดับจังหวัดได้ชัดเจนและรวดเร็ว โดยถ้าราคาสินค้าในจังหวัดใดสูงขึ้นผิดปกติก็สามารถเข้าไปดำเนินการแก้ไขได้ทันที
2) จัดระดับความสำคัญของสินค้าและบริการ เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบดูแลราคา และเพื่อเป็นการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Sensitive List (สินค้าที่มีปัญหาทางด้านปริมาณหรือราคา เช่น ปริมาณตึงตัว ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น) Priority Watch List (สินค้าที่แนวโน้มจะมีปัญหาด้านปริมาณหรือราคา) และ Watch List (สินค้าที่มีสถานการณ์ปกติ)
3) จัดระบบการวัดผลกระทบต้นทุนต่อราคาสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในต้นทุนการผลิตสินค้า เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าขนส่ง เป็นต้น โดยมีสูตรการคำนวณผลกระทบอย่างชัดเจน ตัวย่างเช่น กรณีมีการปรับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วย (รวม FT) สูงขึ้นร้อยละ 4.84 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2547 จะส่งผลให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0036 - 1.9414 โดยเม็ดพลาสติกได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และแคลเซียมคาร์ไบด์ได้รับผลกระทบมากที่สุด
4) จัดตั้งศูนย์บริการประชาชน (Call Center) โดย (1) ในส่วนกลางที่กรมการค้าภายใน โทรศัพท์สายด่วน 1569 และ (2) ส่วนภูมิภาคจัดตั้งที่สำนักงานการค้าภายในจังหวัด หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เพื่อให้บริการข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียน ตลอดจนการประสานแก้ไขปัญหา
2. มาตรการกฎหมาย
1) กำหนดรายการสินค้าและบริการควบคุมเพิ่มเติม (จากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน 21 รายการ) ตามความจำเป็นและตามสถานการณ์ของสินค้าแต่ละชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ที่ขณะนี้มีต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น
2) กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกักตุนสินค้า โดยกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้แทนจำหน่าย แจ้งปริมาณสถานที่เก็บ และห้ามการขนย้าย เพื่อให้ทราบปริมาณในการครอบครองสินค้า และการกระจายสินค้าอย่างเป็นธรรม
3) กำหนดมาตรการไม่ให้ราคาเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเกินสมควร โดยให้แจ้งการปรับราคาก่อนนำสินค้าออกจำหน่าย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของราคาการกำหนดราคาจำหน่ายสูงสุด อัตรากำไรสูงสุดต่อหน่วย และการกำหนดส่วนเหลื่อมการค้าในแต่ละช่วงการค้า เป็นต้น
4) เข้มงวดการให้ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตร โดยขณะนี้มีสินค้าที่ต้องปิดป้ายแสดงราคาจำนวน 257 รายการหลัก ซึ่งสามารถจำแนกย่อยสินค้าได้อีกเป็นหมื่นชนิด เพื่อให้มีการเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมทางการค้า รวมทั้งการรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค
3. มาตรการตรวจสอบ
1) ตรวจสอบพฤติกรรมการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นแก่การครองชีพอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อป้องกันและปราบปรามการฉวยโอกาสทางการค้า ทั้งด้านราคาและปริมาณ
2) ตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมุ่งเน้นมากขึ้นในการตรวจสอบด้านหีบห่อ โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ เช่น ก๊าซหุงต้ม ข้าวสาร และน้ำตาลทราย รวมทั้งการตรวจสอบเครื่องชั่งตามตลาดสด ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าในแหล่งชุมชนต่าง ๆ
3) ตรวจสอบไม่ให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ตรวจสอบการปิดป้ายแสดงราคา การจำหน่ายสินค้าควบคุมเกินราคาที่กำหนด และการปฏิเสธการจำหน่ายสินค้าควบคุม เป็นต้น
มาตรการสนับสนุนการดูแลผู้บริโภค มีดังนี้
1) การช่วยบรรเทาค่าครองชีพ โดยจัดให้มีโครงการธงฟ้าราคาประหยัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาถูกจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
2) การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคในการซื้อสินค้า โดยการจัดให้มีโครงการตลาดสดดีเด่น โครงการร้านค้าก๊าซหุงต้มคุณภาพดี และโครงการน้ำมันเต็มลิตร ซึ่งเป็นหลักประกันว่าผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบเมื่อซื้อสินค้า หรือบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
มาตรการในการกำกับดูแล
1. มาตรการจัดระบบการบริหารจัดการ
1) ตั้งศูนย์บริหารจัดการแก้ไขปัญหาราคาสินค้า (Operation Room) ณ กรมการค้าภายใน โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลราคาและสถานการณ์สินค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวม 75 จังหวัด เป็นประจำทุกวัน ทำให้สามารถประเมินสถานการณ์ในภาพรวมทั้งในประเทศ และในระดับจังหวัดได้ชัดเจนและรวดเร็ว โดยถ้าราคาสินค้าในจังหวัดใดสูงขึ้นผิดปกติก็สามารถเข้าไปดำเนินการแก้ไขได้ทันที
2) จัดระดับความสำคัญของสินค้าและบริการ เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบดูแลราคา และเพื่อเป็นการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Sensitive List (สินค้าที่มีปัญหาทางด้านปริมาณหรือราคา เช่น ปริมาณตึงตัว ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น) Priority Watch List (สินค้าที่แนวโน้มจะมีปัญหาด้านปริมาณหรือราคา) และ Watch List (สินค้าที่มีสถานการณ์ปกติ)
3) จัดระบบการวัดผลกระทบต้นทุนต่อราคาสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในต้นทุนการผลิตสินค้า เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าขนส่ง เป็นต้น โดยมีสูตรการคำนวณผลกระทบอย่างชัดเจน ตัวย่างเช่น กรณีมีการปรับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วย (รวม FT) สูงขึ้นร้อยละ 4.84 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2547 จะส่งผลให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0036 - 1.9414 โดยเม็ดพลาสติกได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และแคลเซียมคาร์ไบด์ได้รับผลกระทบมากที่สุด
4) จัดตั้งศูนย์บริการประชาชน (Call Center) โดย (1) ในส่วนกลางที่กรมการค้าภายใน โทรศัพท์สายด่วน 1569 และ (2) ส่วนภูมิภาคจัดตั้งที่สำนักงานการค้าภายในจังหวัด หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เพื่อให้บริการข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียน ตลอดจนการประสานแก้ไขปัญหา
2. มาตรการกฎหมาย
1) กำหนดรายการสินค้าและบริการควบคุมเพิ่มเติม (จากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน 21 รายการ) ตามความจำเป็นและตามสถานการณ์ของสินค้าแต่ละชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ที่ขณะนี้มีต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น
2) กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกักตุนสินค้า โดยกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้แทนจำหน่าย แจ้งปริมาณสถานที่เก็บ และห้ามการขนย้าย เพื่อให้ทราบปริมาณในการครอบครองสินค้า และการกระจายสินค้าอย่างเป็นธรรม
3) กำหนดมาตรการไม่ให้ราคาเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเกินสมควร โดยให้แจ้งการปรับราคาก่อนนำสินค้าออกจำหน่าย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของราคาการกำหนดราคาจำหน่ายสูงสุด อัตรากำไรสูงสุดต่อหน่วย และการกำหนดส่วนเหลื่อมการค้าในแต่ละช่วงการค้า เป็นต้น
4) เข้มงวดการให้ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตร โดยขณะนี้มีสินค้าที่ต้องปิดป้ายแสดงราคาจำนวน 257 รายการหลัก ซึ่งสามารถจำแนกย่อยสินค้าได้อีกเป็นหมื่นชนิด เพื่อให้มีการเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมทางการค้า รวมทั้งการรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค
3. มาตรการตรวจสอบ
1) ตรวจสอบพฤติกรรมการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นแก่การครองชีพอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อป้องกันและปราบปรามการฉวยโอกาสทางการค้า ทั้งด้านราคาและปริมาณ
2) ตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมุ่งเน้นมากขึ้นในการตรวจสอบด้านหีบห่อ โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ เช่น ก๊าซหุงต้ม ข้าวสาร และน้ำตาลทราย รวมทั้งการตรวจสอบเครื่องชั่งตามตลาดสด ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าในแหล่งชุมชนต่าง ๆ
3) ตรวจสอบไม่ให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ตรวจสอบการปิดป้ายแสดงราคา การจำหน่ายสินค้าควบคุมเกินราคาที่กำหนด และการปฏิเสธการจำหน่ายสินค้าควบคุม เป็นต้น
มาตรการสนับสนุนการดูแลผู้บริโภค มีดังนี้
1) การช่วยบรรเทาค่าครองชีพ โดยจัดให้มีโครงการธงฟ้าราคาประหยัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาถูกจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
2) การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคในการซื้อสินค้า โดยการจัดให้มีโครงการตลาดสดดีเด่น โครงการร้านค้าก๊าซหุงต้มคุณภาพดี และโครงการน้ำมันเต็มลิตร ซึ่งเป็นหลักประกันว่าผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบเมื่อซื้อสินค้า หรือบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-