คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้ธุรกิจเอกชนจ้างงานนักเรียน นักศึกษา นอกเวลาเรียนตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. โดยข้อเท็จจริง นายจ้างจะรับนักเรียน/นักศึกษา เข้าทำงานนอกเวลาเรียนในฐานะผู้รับการฝึกงาน เพราะว่าถ้านักเรียน/นักศึกษามีสถานะเป็นลูกจ้าง นายจ้างมีภาระต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หลายประการ เช่น การจ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน เงินสมทบกรณีว่างงาน เป็นต้น
2. เมื่อนายจ้างรับนักเรียน/นักศึกษาเข้าทำงานในฐานะผู้รับการฝึกงาน จึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537
3. ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ให้แรงจูงใจธุรกิจเอกชนเพื่อสนับสนุนการฝึกการสอนงานด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นายจ้างด้วยการให้นายจ้างสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกการสอนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ได้ร้อยละ 150 ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2539 ซึ่งยังอิงอยู่กับกฎหมายเดิม คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537 กระทรวงการคลังจึงกำลังดำเนินการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเอกชนได้รับแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับ คือตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. โดยข้อเท็จจริง นายจ้างจะรับนักเรียน/นักศึกษา เข้าทำงานนอกเวลาเรียนในฐานะผู้รับการฝึกงาน เพราะว่าถ้านักเรียน/นักศึกษามีสถานะเป็นลูกจ้าง นายจ้างมีภาระต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หลายประการ เช่น การจ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน เงินสมทบกรณีว่างงาน เป็นต้น
2. เมื่อนายจ้างรับนักเรียน/นักศึกษาเข้าทำงานในฐานะผู้รับการฝึกงาน จึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537
3. ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ให้แรงจูงใจธุรกิจเอกชนเพื่อสนับสนุนการฝึกการสอนงานด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นายจ้างด้วยการให้นายจ้างสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกการสอนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ได้ร้อยละ 150 ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2539 ซึ่งยังอิงอยู่กับกฎหมายเดิม คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537 กระทรวงการคลังจึงกำลังดำเนินการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเอกชนได้รับแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับ คือตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-