คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับปรุงโครงสร้างระบบการวิจัยของประเทศ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการและมอบรอง นายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ให้เหมาะสมเพื่อแยกแยะบทบาทของหน่วยงานในฐานะหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุนในการวิจัย และในฐานะหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการวิจัยให้ชัดเจนรวมทั้งให้รับความเห็นของ คณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย ดังนี้
1.1 งบประมาณด้านการวิจัย ตามร่างระเบียบฯ ควรจะคลอบคลุมไปถึงเงินนอกงบประมาณด้วยหรือไม่
1.2 การส่งเสริมการสนับสนุนงานวิจัย ควรให้ความสำคัญต่องานวิจัยประยุกต์ และงานวิจันพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน
2. แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธานคณะกรรมการ มีศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ นายเตช บุนนาคนายสมพงษ์ วนาภา และนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นกรรมการ โดยมี นายจิรพันธ์ อรรถจินดา เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ (ชั่วคราว) เพื่อทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ จนกว่าจะมีการจัดตั้งองค์การมหาชน ตามข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว โดยให้เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก มีอัตรากำลังไม่เกิน 30 คน เป็นการภายใน โดยอาศัยงบประมาณ กฎ ระเบียบ และเจ้าหน้าที่ของ วช.ทั้งนี้ อาจยืมตัวบุคลากรจากหน่วยงานอื่นมาปฏิบัติงานด้วยก็ได้
4. ยกเลิกคณะทำงานด้านนโยบายการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17ธันวาคม 2545
5. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) กำกับดูแลการจัดตั้งองค์การมหาชนใหม่ 2 แห่ง ให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน พร้อมทั้งเป็นผู้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นชั่วคราวตามข้อ 3
วช. รายงานว่า คณะทำงานนโยบายด้านการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติ ซึ่งเป็นคณะทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 ได้มีการประชุมพิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ(การพัฒนาระบบการวิจัยของประเทศ) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546 โดยได้มีมติมอบหมายให้ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธานคณะทำงานเพื่อบูรณาการองค์กรในระบบการวิจัยของประเทศ พิจารณาเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงระบบการวิจัยของประเทศที่เหมาะสม โดยนำผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่1) โครงการปรับโครงสร้างระบบการวิจัยของประเทศที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ สกว. รับไปดำเนินการวิจัย2) โครงการวิจัยตามนโยบายเร่งด่วน การจัดทำโครงสร้างภารกิจของสภาวิจัยแห่งชาติ และ วช. ของนายโกวิทย์ กังสนันท์และ 3) ยุทธศาสตร์และแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ ระยะปานกลาง (พ.ศ. 2548 - 2550) โดยมีข้อเสนอการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในระบบการวิจัยของประเทศ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ จำนวนไม่เกิน 11 คน เพื่อทำหน้าที่ดูแลกำกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และกำกับงบประมาณการวิจัยของประเทศทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาการขาดบูรณาการการวิจัยและการขาดความเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยกับยุทธศาสตร์ของชาติ ตลอดจนการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
2. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ เป็นองค์กรจัดตั้งใหม่ มีลักษณะเป็นองค์การมหาชนที่มีขนาดเล็ก ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ โดยแยกส่วนมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการวิจัยของ วช. เดิม ผนวกกับผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ
3. วช. อีกส่วนหนึ่ง เปลี่ยนเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยที่ตอบสนองกับยุทธศาสตร์การวิจัย
4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และองค์กรอื่น ๆ (สวทช. และ สวรส.) ทำหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย เพื่อสร้างและต่อยอดองค์ความรู้และบริหารและดำเนินการวิจัยเฉพาะทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบในหลักการและมอบรอง นายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ให้เหมาะสมเพื่อแยกแยะบทบาทของหน่วยงานในฐานะหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุนในการวิจัย และในฐานะหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการวิจัยให้ชัดเจนรวมทั้งให้รับความเห็นของ คณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย ดังนี้
1.1 งบประมาณด้านการวิจัย ตามร่างระเบียบฯ ควรจะคลอบคลุมไปถึงเงินนอกงบประมาณด้วยหรือไม่
1.2 การส่งเสริมการสนับสนุนงานวิจัย ควรให้ความสำคัญต่องานวิจัยประยุกต์ และงานวิจันพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน
2. แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธานคณะกรรมการ มีศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ นายเตช บุนนาคนายสมพงษ์ วนาภา และนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นกรรมการ โดยมี นายจิรพันธ์ อรรถจินดา เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ (ชั่วคราว) เพื่อทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ จนกว่าจะมีการจัดตั้งองค์การมหาชน ตามข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว โดยให้เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก มีอัตรากำลังไม่เกิน 30 คน เป็นการภายใน โดยอาศัยงบประมาณ กฎ ระเบียบ และเจ้าหน้าที่ของ วช.ทั้งนี้ อาจยืมตัวบุคลากรจากหน่วยงานอื่นมาปฏิบัติงานด้วยก็ได้
4. ยกเลิกคณะทำงานด้านนโยบายการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17ธันวาคม 2545
5. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) กำกับดูแลการจัดตั้งองค์การมหาชนใหม่ 2 แห่ง ให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน พร้อมทั้งเป็นผู้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นชั่วคราวตามข้อ 3
วช. รายงานว่า คณะทำงานนโยบายด้านการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติ ซึ่งเป็นคณะทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 ได้มีการประชุมพิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ(การพัฒนาระบบการวิจัยของประเทศ) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546 โดยได้มีมติมอบหมายให้ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธานคณะทำงานเพื่อบูรณาการองค์กรในระบบการวิจัยของประเทศ พิจารณาเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงระบบการวิจัยของประเทศที่เหมาะสม โดยนำผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่1) โครงการปรับโครงสร้างระบบการวิจัยของประเทศที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ สกว. รับไปดำเนินการวิจัย2) โครงการวิจัยตามนโยบายเร่งด่วน การจัดทำโครงสร้างภารกิจของสภาวิจัยแห่งชาติ และ วช. ของนายโกวิทย์ กังสนันท์และ 3) ยุทธศาสตร์และแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ ระยะปานกลาง (พ.ศ. 2548 - 2550) โดยมีข้อเสนอการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในระบบการวิจัยของประเทศ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ จำนวนไม่เกิน 11 คน เพื่อทำหน้าที่ดูแลกำกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และกำกับงบประมาณการวิจัยของประเทศทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาการขาดบูรณาการการวิจัยและการขาดความเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยกับยุทธศาสตร์ของชาติ ตลอดจนการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
2. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ เป็นองค์กรจัดตั้งใหม่ มีลักษณะเป็นองค์การมหาชนที่มีขนาดเล็ก ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ โดยแยกส่วนมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการวิจัยของ วช. เดิม ผนวกกับผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ
3. วช. อีกส่วนหนึ่ง เปลี่ยนเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยที่ตอบสนองกับยุทธศาสตร์การวิจัย
4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และองค์กรอื่น ๆ (สวทช. และ สวรส.) ทำหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย เพื่อสร้างและต่อยอดองค์ความรู้และบริหารและดำเนินการวิจัยเฉพาะทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-