คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ครั้งที่ 1/2547 สรุปได้ดังนี้
เรื่องที่ 1 การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจของไทย (cluster)
1. รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานผลักดันเครือข่ายวิสาหกิจ
2. มอบหมายให้ สศช. เป็นผู้รับผิดชอบวางแนวทางและระบบการทำงาน เพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจในภาพรวม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจในระดับปฏิบัติ และมีผู้แทนเข้าร่วมทำงานกับภาคเอกชนในสาขาต่างๆ
3. มอบหมายให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจทั้ง 9 เครือข่ายวิสาหกิจที่ได้กำหนดไว้ เพื่อภาครัฐจะได้ช่วยผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
เรื่องที่ 2 การจัดการประชุมนานาชาติประจำปี 2547 (International Conference)
เห็นชอบการจัดประชุมนานาชาติเรื่อง Competitiveness: Challenges and Opportunities for Asian Countries ในระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเน็นตัล กรุงเทพมหานคร โดยให้ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างเหมาจัดงาน ในกรอบวงเงิน 25 ล้านบาท โดยจัดสรรงบประมาณจากแผนงานพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (1,000 ล้านบาท) พร้อมทั้งให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เรื่องที่ 3 การขับเคลื่อนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ
เห็นชอบแผนการดำเนินงาน 4 ด้าน ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูล 1) ให้ สศช. รับผิดชอบด้านการจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ และสัดส่วนมูลค่าเพิ่มจากโลจิสติกส์ (Contribution) ที่มีต่อมูลค่าผลผลิตรวม (GDP) ของประเทศ 2) ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ รับผิดชอบด้านข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า 3) ให้สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยรับผิดชอบด้านข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรม
2. ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล 1) เห็นชอบแผนงานสร้างระบบเครือข่ายข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ระยะ 3 ปี ในกรอบวงเงิน 1,250 ล้านบาท โดยเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ในปีแรกและปีที่สองไปพร้อมกัน 2) ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการบริหารจัดการโครงการในช่วงของการพัฒนาระบบ และรับไปพิจารณารูปแบบกลไกการบริหารระบบอย่างถาวรต่อไป
3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1) ให้กระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการในระยะเร่งด่วน เพื่อนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป 2) ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางการเจรจาต่อรอง เรื่องอัตราค่าระวางเรือ กับสายการเดินเรือต่างประเทศ เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ส่งสินค้าทางเรือของประเทศไทยมากขึ้น
4. ด้านการพัฒนาบุคลากร ให้สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ประเมินความต้องการบุคลากรตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และจัดทำแผนการสร้างบุคลากรให้ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่กำหนดไว้
เรื่องที่ 4 การสร้างความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย
เห็นชอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราเพื่อมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางของโลกทางด้านผลิตภัณฑ์ยางพารา (World Center of Rubber Products) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ให้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางล้อ โดยให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสนับสนุนให้มีการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ยางล้อระดับภูมิภาคเอเชียขึ้นในประเทศ (Tire Expo) โดยให้สถาบันยานยนต์เป็นเจ้าภาพหลัก
2. ให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการร่วมมือและประสานงานด้านการตลาดกับหน่วยงานด้านการส่งออกของมาเลเซียและสมาคมถุงมือยางอาเซียน และจัดตั้งโรงงานทดสอบและห้องทดสอบผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมถุงมือยางไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกัน
3. ให้มีการพัฒนาโครงการ Latex Biotechnology เป็นโครงการระดับชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สวทช. สกว. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
4. เร่งสร้างนักวิจัยด้านอุตสาหกรรมยางให้เพิ่มขึ้น โดยมอบหมายให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (นายชัยอนันต์ สมุทวณิช) รับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
5. การสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางธรรมชาติทดแทน โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมจัดทำรายละเอียดแผนงานการใช้ยางธรรมชาติในประเทศให้เพิ่มขึ้น โดยเมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
6. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการทบทวนโครงสร้างการยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด
7. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการต่างประเทศ เร่งรัดและติดตามเรื่อง FAA ที่สหรัฐ-อเมริกาได้ให้สิทธิประเทศไทยในการผลิตยางล้อเครื่องบิน โดยมีการรับรองคุณภาพ เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
เรื่องที่ 1 การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจของไทย (cluster)
1. รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานผลักดันเครือข่ายวิสาหกิจ
2. มอบหมายให้ สศช. เป็นผู้รับผิดชอบวางแนวทางและระบบการทำงาน เพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจในภาพรวม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจในระดับปฏิบัติ และมีผู้แทนเข้าร่วมทำงานกับภาคเอกชนในสาขาต่างๆ
3. มอบหมายให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจทั้ง 9 เครือข่ายวิสาหกิจที่ได้กำหนดไว้ เพื่อภาครัฐจะได้ช่วยผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
เรื่องที่ 2 การจัดการประชุมนานาชาติประจำปี 2547 (International Conference)
เห็นชอบการจัดประชุมนานาชาติเรื่อง Competitiveness: Challenges and Opportunities for Asian Countries ในระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเน็นตัล กรุงเทพมหานคร โดยให้ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างเหมาจัดงาน ในกรอบวงเงิน 25 ล้านบาท โดยจัดสรรงบประมาณจากแผนงานพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (1,000 ล้านบาท) พร้อมทั้งให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เรื่องที่ 3 การขับเคลื่อนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ
เห็นชอบแผนการดำเนินงาน 4 ด้าน ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูล 1) ให้ สศช. รับผิดชอบด้านการจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ และสัดส่วนมูลค่าเพิ่มจากโลจิสติกส์ (Contribution) ที่มีต่อมูลค่าผลผลิตรวม (GDP) ของประเทศ 2) ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ รับผิดชอบด้านข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า 3) ให้สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยรับผิดชอบด้านข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรม
2. ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล 1) เห็นชอบแผนงานสร้างระบบเครือข่ายข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ระยะ 3 ปี ในกรอบวงเงิน 1,250 ล้านบาท โดยเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ในปีแรกและปีที่สองไปพร้อมกัน 2) ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการบริหารจัดการโครงการในช่วงของการพัฒนาระบบ และรับไปพิจารณารูปแบบกลไกการบริหารระบบอย่างถาวรต่อไป
3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1) ให้กระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการในระยะเร่งด่วน เพื่อนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป 2) ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางการเจรจาต่อรอง เรื่องอัตราค่าระวางเรือ กับสายการเดินเรือต่างประเทศ เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ส่งสินค้าทางเรือของประเทศไทยมากขึ้น
4. ด้านการพัฒนาบุคลากร ให้สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ประเมินความต้องการบุคลากรตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และจัดทำแผนการสร้างบุคลากรให้ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่กำหนดไว้
เรื่องที่ 4 การสร้างความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย
เห็นชอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราเพื่อมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางของโลกทางด้านผลิตภัณฑ์ยางพารา (World Center of Rubber Products) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ให้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางล้อ โดยให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสนับสนุนให้มีการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ยางล้อระดับภูมิภาคเอเชียขึ้นในประเทศ (Tire Expo) โดยให้สถาบันยานยนต์เป็นเจ้าภาพหลัก
2. ให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการร่วมมือและประสานงานด้านการตลาดกับหน่วยงานด้านการส่งออกของมาเลเซียและสมาคมถุงมือยางอาเซียน และจัดตั้งโรงงานทดสอบและห้องทดสอบผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมถุงมือยางไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกัน
3. ให้มีการพัฒนาโครงการ Latex Biotechnology เป็นโครงการระดับชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สวทช. สกว. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
4. เร่งสร้างนักวิจัยด้านอุตสาหกรรมยางให้เพิ่มขึ้น โดยมอบหมายให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (นายชัยอนันต์ สมุทวณิช) รับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
5. การสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางธรรมชาติทดแทน โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมจัดทำรายละเอียดแผนงานการใช้ยางธรรมชาติในประเทศให้เพิ่มขึ้น โดยเมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
6. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการทบทวนโครงสร้างการยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด
7. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการต่างประเทศ เร่งรัดและติดตามเรื่อง FAA ที่สหรัฐ-อเมริกาได้ให้สิทธิประเทศไทยในการผลิตยางล้อเครื่องบิน โดยมีการรับรองคุณภาพ เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-