คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการปรับค่าตอบแทนภาคราชการ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบข้อเสนอการปรับค่าตอบแทนภาคราชการสำหรับข้าราชการและลูกจ้างส่วนราชการ โดยไม่รวมข้าราชการตุลาการและอัยการ
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ พ.ศ. ....
3. เห็นชอบบัญชีเทียบอันดับและขั้น ระดับและชั้น ระดับและขั้น จากบัญชีอัตราเงินเดือนที่ใช้ในปัจจุบันเข้าสู่บัญชีอัตราเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. .... และ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการออกระเบียบเพื่อรองรับการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ และพิจารณาช่วยเหลือการครองชีพของข้าราชการบำนาญในอัตราร้อยละ 3 เช่นเดียวกับข้าราชการและลูกจ้างส่วนราชการ
ทั้งนี้ ในส่วนของข้าราชการระดับ 1 - 7 ให้ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ณ วันที่ 1 เมษายน 2547 คนละ 2 ขั้น ด้วย
มาตรการปรับค่าตอบแทนภาคราชการมีสาระสำคัญ คือ
1. มาตรการปรับค่าตอบแทนภาคราชการประกอบด้วย การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ และการให้ค่าตอบแทนพิเศษ ดังนี้
1.1 การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ
1.1.1 วัตถุประสงค์เพื่อชดเชยอำนาจซื้อของข้าราชการที่ลดลงจากการที่ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากระหว่างปี พ.ศ. 2537 - 2546 และเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงานของข้าราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการในระดับปฏิบัติการ โดยไม่รวมข้าราชการตุลาการและอัยการซึ่งได้ปรับเพิ่มในอัตราที่สูงไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544
1.1.2 แนวทางการปรับอัตราเงินเดือน
1) ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 เท่ากัน ทุกอัตราตามร่างพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. .... โดยให้มีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2547 และให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับเงินช่วยเหลือการครองชีพให้แก่ข้าราชการบำนาญในอัตราเดียวกันด้วย
2) ให้ใช้บัญชีใหม่หลังการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามผลการประเมินประสิทธิภาพผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในรอบตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547 แล้ว ตามบัญชีเทียบอันดับและขั้น ระดับและชั้น ระดับและขั้นจากบัญชีอัตราเงินเดือนที่ใช้ในปัจจุบันเข้าสู่บัญชีอัตราเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนฯ
3) ให้กระทรวงการคลังออกระเบียบโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 1 - 7 ที่ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นสูงสุดของอันดับและขั้นก่อนสูงสุดของอันดับตามบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ ได้รับเพิ่มอีกประมาณร้อยละ 4 และร้อยละ 2 ตามลำดับ ทั้งนี้ ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทอื่นออกระเบียบในลักษณะเดียวกันสำหรับข้าราชการในอันดับ ระดับ หรือชั้น ที่เทียบได้และได้รับเงินเดือนในลักษณะดังกล่าว
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตามแนวทางและวิธีการดังกล่าวจะใช้เงินงบประมาณ 11,000 ล้านบาท (ครึ่งปี)
1.2 ค่าตอบแทนพิเศษ
1.2.1 วัตถุประสงค์ สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับข้าราชการกลุ่มที่มีผลกระทบสูงต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลงานราชการโดยไม่สร้างภาระบำเหน็จบำนาญ
1.2.2 แนวทาง กำหนดให้มีค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการผู้มีผลกระทบสูงต่อประสิทธิภาพงานราชการ 3 ประเภท
1.2.3 วิธีการ ให้กระทรวงการคลังออกระเบียบโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ ตามแนวทางข้อ 1.2.2
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ ปรับอัตราเงินเดือนและกำหนดให้มีบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการ เพื่อใช้แทนบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 เพื่อให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 เท่ากันทุกอัตรา และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบข้อเสนอการปรับค่าตอบแทนภาคราชการสำหรับข้าราชการและลูกจ้างส่วนราชการ โดยไม่รวมข้าราชการตุลาการและอัยการ
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ พ.ศ. ....
3. เห็นชอบบัญชีเทียบอันดับและขั้น ระดับและชั้น ระดับและขั้น จากบัญชีอัตราเงินเดือนที่ใช้ในปัจจุบันเข้าสู่บัญชีอัตราเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. .... และ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการออกระเบียบเพื่อรองรับการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ และพิจารณาช่วยเหลือการครองชีพของข้าราชการบำนาญในอัตราร้อยละ 3 เช่นเดียวกับข้าราชการและลูกจ้างส่วนราชการ
ทั้งนี้ ในส่วนของข้าราชการระดับ 1 - 7 ให้ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ณ วันที่ 1 เมษายน 2547 คนละ 2 ขั้น ด้วย
มาตรการปรับค่าตอบแทนภาคราชการมีสาระสำคัญ คือ
1. มาตรการปรับค่าตอบแทนภาคราชการประกอบด้วย การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ และการให้ค่าตอบแทนพิเศษ ดังนี้
1.1 การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ
1.1.1 วัตถุประสงค์เพื่อชดเชยอำนาจซื้อของข้าราชการที่ลดลงจากการที่ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากระหว่างปี พ.ศ. 2537 - 2546 และเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงานของข้าราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการในระดับปฏิบัติการ โดยไม่รวมข้าราชการตุลาการและอัยการซึ่งได้ปรับเพิ่มในอัตราที่สูงไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544
1.1.2 แนวทางการปรับอัตราเงินเดือน
1) ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 เท่ากัน ทุกอัตราตามร่างพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. .... โดยให้มีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2547 และให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับเงินช่วยเหลือการครองชีพให้แก่ข้าราชการบำนาญในอัตราเดียวกันด้วย
2) ให้ใช้บัญชีใหม่หลังการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามผลการประเมินประสิทธิภาพผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในรอบตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547 แล้ว ตามบัญชีเทียบอันดับและขั้น ระดับและชั้น ระดับและขั้นจากบัญชีอัตราเงินเดือนที่ใช้ในปัจจุบันเข้าสู่บัญชีอัตราเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนฯ
3) ให้กระทรวงการคลังออกระเบียบโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 1 - 7 ที่ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นสูงสุดของอันดับและขั้นก่อนสูงสุดของอันดับตามบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ ได้รับเพิ่มอีกประมาณร้อยละ 4 และร้อยละ 2 ตามลำดับ ทั้งนี้ ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทอื่นออกระเบียบในลักษณะเดียวกันสำหรับข้าราชการในอันดับ ระดับ หรือชั้น ที่เทียบได้และได้รับเงินเดือนในลักษณะดังกล่าว
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตามแนวทางและวิธีการดังกล่าวจะใช้เงินงบประมาณ 11,000 ล้านบาท (ครึ่งปี)
1.2 ค่าตอบแทนพิเศษ
1.2.1 วัตถุประสงค์ สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับข้าราชการกลุ่มที่มีผลกระทบสูงต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลงานราชการโดยไม่สร้างภาระบำเหน็จบำนาญ
1.2.2 แนวทาง กำหนดให้มีค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการผู้มีผลกระทบสูงต่อประสิทธิภาพงานราชการ 3 ประเภท
1.2.3 วิธีการ ให้กระทรวงการคลังออกระเบียบโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ ตามแนวทางข้อ 1.2.2
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ ปรับอัตราเงินเดือนและกำหนดให้มีบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการ เพื่อใช้แทนบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 เพื่อให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 เท่ากันทุกอัตรา และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-