คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดเป้าหมาย มาตรการ แนวทาง รายละเอียดของการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการ กำหนดเวลาและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่าคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้พิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการแล้วเห็นว่า การปรับโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของข้าราชการทั้งระบบอย่างเต็มรูปแบบยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ในทันที ก.พ.ร. จึงเห็นสมควรกำหนดเป้าหมาย มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการในระยะเฉพาะหน้า ดังนี้
1. เป้าหมาย
มุ่งเน้นให้ข้าราชการมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเหมาะสมกับการครองชีพ สามารถอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีเวลาทุ่มเทให้กับงานราชการอย่างเต็มที่
2. มาตรการ ในการปรับค่าตอบแทนของข้าราชการ ควรใช้มาตรการ ดังนี้
2.1 ใช้มาตรการระยะสั้น โดยปรับอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการทุกประเภท ซึ่งมีบัญชีอัตราเงินแนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2536 และลูกจ้างส่วนราชการ ยกเว้น ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการอัยการ
2.2 ไม่เป็นภาระผูกผันในระยะยาวแก่รัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารค่าตอบแทนในอนาคตได้อย่างคล่องตัว
2.3 จัดค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการในหลายรูปแบบทั้งที่เป็นส่วนเพิ่มของอัตราเงินเดือน ค่าตอบแทนตามข้อตกลงว่าด้วยผลงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการ เงินเพิ่มประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนหรือเงินรางวัลสำหรับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
3. แนวทาง
ปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการโดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ การปรับเงินเดือนของข้าราชการ และการให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการ โดยวงเงินงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงค่าตอบแทนดังกล่าวประมาณ 33,140 ล้านบาทต่อปี (ครึ่งปีแรกประมาณ 16,570 ล้านบาท) กล่าวคือ การปรับเงินเดือนของข้าราชการ 22,000 ล้านบาทต่อปี การให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการ 11,140 ล้านบาทต่อปี
4. รายละเอียดของการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการ
4.1 ส่วนที่ 1 ปรับเงินเดือนให้แก่ข้าราชการทุกระดับในอัตราร้อยละ 3 ของอัตราเงินที่ได้รับอยู่ และปรับเงินเดือนให้อีก 2 ขั้น สำหรับข้าราชการระดับ 1-7
4.2 ส่วนที่ 2 การให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 กำหนดค่าตอบแทนหรือเงินเพิ่มพิเศษตามลักษณะของการปฏิบัติงาน ซึ่งมีปัจจัยตัวแปร 5 ประการ คือ 1) การขาดแคลนของวิชาชีพ 2) การเลี่ยงภัย ตรากตรำ ไม่น่าอภิรมย์ 3) พื้นที่พิเศษ 4) ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมจากภารกิจประจำ สำหรับกรณีดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรี และให้กระทรวงการคลังออกเป็นระเบียบให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษได้ 5) การดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะและอื่น ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ผู้บริหารที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารทั้งผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 9-10-11) และผู้บริหารระดับกลาง (ระดับ 8) ของทุกหน่วยงานให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มอีก 1 เท่าตัว
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะและผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มอีก 1 เท่าตัว
กลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 8 และ 8ว ทุกคนให้ได้รับเงินเพิ่มคนละ 3,500 บาท
ทั้งนี้ ในแต่ละกลุ่มอาจกำหนดให้มีเงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานประกอบด้วยก็ได้
ประเภทที่ 2 กำหนดค่าตอบแทนหรือเงินเพิ่มพิเศษตามผลงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน
1) กำหนดเป็นเงินเพิ่มให้กับผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 10-11) ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อปรับเข้าสู่ระบบใหม่ โดยผู้บริหารต้องทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการและต้องได้รับการประเมินผลงาน ถ้าไม่ผ่านการประเมินผลงานตามเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดอาจต้องถูกปรับเปลี่ยนให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น เช่น อัตรากำลังทดแทน และงดจ่ายเงินเพิ่มดังกล่าว การให้เงินเพิ่มกับผู้บริหารดังกล่าวนี้ ได้กำหนดโดยยึดราคาของตำแหน่งเป็นสำคัญ คือ นำเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่ได้รับไปหักออกจากราคาของตำแหน่ง และอาจแปรผันไปตามระดับของผลงาน
2) กำหนดเป็นเงินเพิ่มให้กับผู้บริการระดับรองลงไปของหน่วยงานนำร่องหรือกลุ่มท้าทาย โดยกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งแบบตายตัว การจ่ายเงินเพิ่มดังกล่าวให้นำเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่ได้รับไปหักออกก่อน และอาจแปรผันไปตามระดับของผลงาน
ประเภทที่ 3 กำหนดเงินรางวัลให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูง
5. กำหนดเวลาและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน
5.1 ส่วนที่ 1 การปรับเงินเดือนข้าราชการ สามารถเริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป
5.2 ส่วนที่ 2 การให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่น ๆ
ประเภทที่ 1 จ่ายรายเดือนตั้งแต่ เดือนเมษายน 2547 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 2 เหมาจ่ายราย 6 เดือนตามผลการประเมิน โดยจ่ายครั้งแรกสำหรับผลงานในช่วงเมษายน 2547 - กันยายน 2547
ประเภทที่ 3 เหมาจ่ายปลายปีตามผลงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่าคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้พิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการแล้วเห็นว่า การปรับโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของข้าราชการทั้งระบบอย่างเต็มรูปแบบยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ในทันที ก.พ.ร. จึงเห็นสมควรกำหนดเป้าหมาย มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการในระยะเฉพาะหน้า ดังนี้
1. เป้าหมาย
มุ่งเน้นให้ข้าราชการมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเหมาะสมกับการครองชีพ สามารถอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีเวลาทุ่มเทให้กับงานราชการอย่างเต็มที่
2. มาตรการ ในการปรับค่าตอบแทนของข้าราชการ ควรใช้มาตรการ ดังนี้
2.1 ใช้มาตรการระยะสั้น โดยปรับอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการทุกประเภท ซึ่งมีบัญชีอัตราเงินแนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2536 และลูกจ้างส่วนราชการ ยกเว้น ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการอัยการ
2.2 ไม่เป็นภาระผูกผันในระยะยาวแก่รัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารค่าตอบแทนในอนาคตได้อย่างคล่องตัว
2.3 จัดค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการในหลายรูปแบบทั้งที่เป็นส่วนเพิ่มของอัตราเงินเดือน ค่าตอบแทนตามข้อตกลงว่าด้วยผลงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการ เงินเพิ่มประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนหรือเงินรางวัลสำหรับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
3. แนวทาง
ปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการโดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ การปรับเงินเดือนของข้าราชการ และการให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการ โดยวงเงินงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงค่าตอบแทนดังกล่าวประมาณ 33,140 ล้านบาทต่อปี (ครึ่งปีแรกประมาณ 16,570 ล้านบาท) กล่าวคือ การปรับเงินเดือนของข้าราชการ 22,000 ล้านบาทต่อปี การให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการ 11,140 ล้านบาทต่อปี
4. รายละเอียดของการปรับปรุงค่าตอบแทนของข้าราชการ
4.1 ส่วนที่ 1 ปรับเงินเดือนให้แก่ข้าราชการทุกระดับในอัตราร้อยละ 3 ของอัตราเงินที่ได้รับอยู่ และปรับเงินเดือนให้อีก 2 ขั้น สำหรับข้าราชการระดับ 1-7
4.2 ส่วนที่ 2 การให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 กำหนดค่าตอบแทนหรือเงินเพิ่มพิเศษตามลักษณะของการปฏิบัติงาน ซึ่งมีปัจจัยตัวแปร 5 ประการ คือ 1) การขาดแคลนของวิชาชีพ 2) การเลี่ยงภัย ตรากตรำ ไม่น่าอภิรมย์ 3) พื้นที่พิเศษ 4) ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมจากภารกิจประจำ สำหรับกรณีดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรี และให้กระทรวงการคลังออกเป็นระเบียบให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษได้ 5) การดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะและอื่น ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ผู้บริหารที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารทั้งผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 9-10-11) และผู้บริหารระดับกลาง (ระดับ 8) ของทุกหน่วยงานให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มอีก 1 เท่าตัว
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะและผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไปให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มอีก 1 เท่าตัว
กลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 8 และ 8ว ทุกคนให้ได้รับเงินเพิ่มคนละ 3,500 บาท
ทั้งนี้ ในแต่ละกลุ่มอาจกำหนดให้มีเงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานประกอบด้วยก็ได้
ประเภทที่ 2 กำหนดค่าตอบแทนหรือเงินเพิ่มพิเศษตามผลงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน
1) กำหนดเป็นเงินเพิ่มให้กับผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 10-11) ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อปรับเข้าสู่ระบบใหม่ โดยผู้บริหารต้องทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการและต้องได้รับการประเมินผลงาน ถ้าไม่ผ่านการประเมินผลงานตามเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดอาจต้องถูกปรับเปลี่ยนให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น เช่น อัตรากำลังทดแทน และงดจ่ายเงินเพิ่มดังกล่าว การให้เงินเพิ่มกับผู้บริหารดังกล่าวนี้ ได้กำหนดโดยยึดราคาของตำแหน่งเป็นสำคัญ คือ นำเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่ได้รับไปหักออกจากราคาของตำแหน่ง และอาจแปรผันไปตามระดับของผลงาน
2) กำหนดเป็นเงินเพิ่มให้กับผู้บริการระดับรองลงไปของหน่วยงานนำร่องหรือกลุ่มท้าทาย โดยกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งแบบตายตัว การจ่ายเงินเพิ่มดังกล่าวให้นำเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่ได้รับไปหักออกก่อน และอาจแปรผันไปตามระดับของผลงาน
ประเภทที่ 3 กำหนดเงินรางวัลให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูง
5. กำหนดเวลาและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน
5.1 ส่วนที่ 1 การปรับเงินเดือนข้าราชการ สามารถเริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป
5.2 ส่วนที่ 2 การให้ค่าตอบแทนพิเศษอื่น ๆ
ประเภทที่ 1 จ่ายรายเดือนตั้งแต่ เดือนเมษายน 2547 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 2 เหมาจ่ายราย 6 เดือนตามผลการประเมิน โดยจ่ายครั้งแรกสำหรับผลงานในช่วงเมษายน 2547 - กันยายน 2547
ประเภทที่ 3 เหมาจ่ายปลายปีตามผลงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-