คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการจัดหารถโบกี้รถบรรทุกตู้สินค้า จำนวน 112 คัน และรถจักร 7 คัน วงเงินงบประมาณรวม 903.460 ล้านบาท โดยให้ รฟท. กู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข พร้อมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันเงินกู้ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) (การรถไฟแห่งประเทศไทย) (รฟท.) เสนอ
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2545 ผู้แทนรัฐบาลไทยและอินโดนีเซีย ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยวิธีระบบหักบัญชี (Account Trade) โดยฝ่ายไทยจะจัดซื้อเครื่องบินปีกตรึง รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า และวัสดุผลิตปุ๋ย จากประเทศอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยจะจำหน่ายข้าวไทยให้กับประเทศอินโดนีเซีย
2. รฟท. มีแผนการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าระยะแรก จำนวน 112 คัน และรถจักร 7 คัน วงเงินงบประมาณ 903.460 ล้านบาท (รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 273.460 ล้านบาท รถจักร 630 ล้านบาท) เพื่อการรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางสายตะวันออก (Inland Container Depo : ICD ลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง) โดยเฉพาะช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ ประกอบกับขณะนี้ รฟท. ได้ก่อสร้างทางคู่ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทราแล้วเสร็จ ทำให้สามารถเดินขบวนรถสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 24 ขบวนต่อวัน (ใช้รถจักร 5 คัน รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 299 คัน) เป็น 34 ขบวนต่อวัน และกำลังดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่สายฉะเชิงเทรา - ศรีราชา-แหลมฉบัง (ระยะทาง 70 กม.) ซึ่งจะทำให้เดินขบวนรถได้มากขึ้น และการก่อสร้าง ICD แห่งที่ 2 ที่ลาดกระบัง จะมีผลให้ รฟท. สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสูงสุดเพิ่มจากปีละ 400,000 TEU (Twenty foot Equivalent Unit : TEU) ในปัจจุบันเป็นปีละ 1.2 ล้าน TEU รวมทั้งก่อสร้างย่านเพื่อกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) ในภูมิภาค เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการขนส่งสินค้าจากลักษณะเหมาคัน (Car Load) มาเป็นลักษณะ Unit Train หรือ Block Train จึงได้แจ้งให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาต่อไป
3. กระทรวงพาณิชย์แจ้งให้ รฟท. ทราบว่า นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการฯ ดังกล่าว ในข้อ 2 แล้ว มีบัญชาให้ รฟท. เจรจากับอินโดนีเซีย เพื่อทำสัญญาซื้อขายรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า จำนวน 396 คัน ให้ต่อรองราคาและประเด็นด้านเทคนิคของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภารกิจของ รฟท. โดยให้มีหลักการเป็นการค้าแบบหักบัญชีหรือการค้าแลกเปลี่ยนซึ่งมีมูลค่าเท่ากัน
4. จากบันทึกข้อตกลงในข้อ 1 และแผนของ รฟท. ในข้อ 2 รฟท. ได้ดำเนินการเจรจาจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า จากบริษัท PT Industri Kereta Api (PT INKA) ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าครั้งนี้เป็นการเจรจาซื้อโดยตรงกับบริษัท PT INKA ไม่มีการประกวดราคาแข่งขัน โดยในส่วนของการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าจำนวน 112 คัน จะใช้วิธีการค้าแบบหักบัญชีกับบริษัท PT INKA ซึ่งฝ่ายไทยจะชำระค่าสินค้าให้อินโดนีเซียด้วยข้าวไทยจำนวนเท่าสินค้า ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงข้างต้น และได้เจรจาต่อรองราคาในประเด็นเทคนิคกับบริษัท PT INKA เกี่ยวกับโบกี้บรรทุกตู้สินค้าจนได้ข้อยุติเรื่องราคาที่คันละ 53,000 USD.
5. คณะกรรมการ รฟท. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 เห็นชอบโครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าระยะแรก จำนวน 112 คัน และรถจักร 7 คัน วงเงินงบประมาณ 903.460 ล้านบาท โดย รฟท. กู้เงินเพื่อใช้จ่ายโครงการ
6. รฟท. ได้ประสานกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเห็นว่า วิธีการค้าแบบหักบัญชีมีความเป็นไปได้สูง เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวม และกระทรวงพาณิชย์ยินดีให้ความร่วมมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินกู้ให้กับ รฟท. อีกทางหนึ่งด้วย แต่เนื่องจาก รฟท. ไม่มีแหล่งเงินที่จะรองรับค่าใช้จ่าย จะต้องขอกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
7. ผลตอบแทนการลงทุน (Internal Rate of Return : IRR) ร้อยละ 29.3 มูลค่าสุทธิปัจจุบัน (Net Present Value : NPV) เมื่อคิดที่อัตราละร้อยละ 8 จะมีค่า 941 ล้านบาท (โครงการ 25 ปี) แต่โครงการระยะที่ 2 จะมีผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ร้อยละ 7.0 มูลค่าสุทธิปัจจุบัน (NPV) จะมีค่า -141 ล้านบาท แสดงว่าโครงการระยะแรกมีผลตอบแทนที่ดีมาก รฟท. จะมีกำไรจากการลงทุนนี้
8. คค. พิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่ รฟท. เสนอ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของ รฟท. เพื่อลดภาระการขาดทุน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยระบบรางตามนโยบายรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2545 ผู้แทนรัฐบาลไทยและอินโดนีเซีย ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยวิธีระบบหักบัญชี (Account Trade) โดยฝ่ายไทยจะจัดซื้อเครื่องบินปีกตรึง รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า และวัสดุผลิตปุ๋ย จากประเทศอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยจะจำหน่ายข้าวไทยให้กับประเทศอินโดนีเซีย
2. รฟท. มีแผนการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าระยะแรก จำนวน 112 คัน และรถจักร 7 คัน วงเงินงบประมาณ 903.460 ล้านบาท (รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 273.460 ล้านบาท รถจักร 630 ล้านบาท) เพื่อการรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางสายตะวันออก (Inland Container Depo : ICD ลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง) โดยเฉพาะช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ ประกอบกับขณะนี้ รฟท. ได้ก่อสร้างทางคู่ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทราแล้วเสร็จ ทำให้สามารถเดินขบวนรถสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 24 ขบวนต่อวัน (ใช้รถจักร 5 คัน รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 299 คัน) เป็น 34 ขบวนต่อวัน และกำลังดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่สายฉะเชิงเทรา - ศรีราชา-แหลมฉบัง (ระยะทาง 70 กม.) ซึ่งจะทำให้เดินขบวนรถได้มากขึ้น และการก่อสร้าง ICD แห่งที่ 2 ที่ลาดกระบัง จะมีผลให้ รฟท. สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสูงสุดเพิ่มจากปีละ 400,000 TEU (Twenty foot Equivalent Unit : TEU) ในปัจจุบันเป็นปีละ 1.2 ล้าน TEU รวมทั้งก่อสร้างย่านเพื่อกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) ในภูมิภาค เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการขนส่งสินค้าจากลักษณะเหมาคัน (Car Load) มาเป็นลักษณะ Unit Train หรือ Block Train จึงได้แจ้งให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาต่อไป
3. กระทรวงพาณิชย์แจ้งให้ รฟท. ทราบว่า นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการฯ ดังกล่าว ในข้อ 2 แล้ว มีบัญชาให้ รฟท. เจรจากับอินโดนีเซีย เพื่อทำสัญญาซื้อขายรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า จำนวน 396 คัน ให้ต่อรองราคาและประเด็นด้านเทคนิคของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภารกิจของ รฟท. โดยให้มีหลักการเป็นการค้าแบบหักบัญชีหรือการค้าแลกเปลี่ยนซึ่งมีมูลค่าเท่ากัน
4. จากบันทึกข้อตกลงในข้อ 1 และแผนของ รฟท. ในข้อ 2 รฟท. ได้ดำเนินการเจรจาจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า จากบริษัท PT Industri Kereta Api (PT INKA) ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าครั้งนี้เป็นการเจรจาซื้อโดยตรงกับบริษัท PT INKA ไม่มีการประกวดราคาแข่งขัน โดยในส่วนของการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าจำนวน 112 คัน จะใช้วิธีการค้าแบบหักบัญชีกับบริษัท PT INKA ซึ่งฝ่ายไทยจะชำระค่าสินค้าให้อินโดนีเซียด้วยข้าวไทยจำนวนเท่าสินค้า ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงข้างต้น และได้เจรจาต่อรองราคาในประเด็นเทคนิคกับบริษัท PT INKA เกี่ยวกับโบกี้บรรทุกตู้สินค้าจนได้ข้อยุติเรื่องราคาที่คันละ 53,000 USD.
5. คณะกรรมการ รฟท. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 เห็นชอบโครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าระยะแรก จำนวน 112 คัน และรถจักร 7 คัน วงเงินงบประมาณ 903.460 ล้านบาท โดย รฟท. กู้เงินเพื่อใช้จ่ายโครงการ
6. รฟท. ได้ประสานกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเห็นว่า วิธีการค้าแบบหักบัญชีมีความเป็นไปได้สูง เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวม และกระทรวงพาณิชย์ยินดีให้ความร่วมมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินกู้ให้กับ รฟท. อีกทางหนึ่งด้วย แต่เนื่องจาก รฟท. ไม่มีแหล่งเงินที่จะรองรับค่าใช้จ่าย จะต้องขอกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
7. ผลตอบแทนการลงทุน (Internal Rate of Return : IRR) ร้อยละ 29.3 มูลค่าสุทธิปัจจุบัน (Net Present Value : NPV) เมื่อคิดที่อัตราละร้อยละ 8 จะมีค่า 941 ล้านบาท (โครงการ 25 ปี) แต่โครงการระยะที่ 2 จะมีผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ร้อยละ 7.0 มูลค่าสุทธิปัจจุบัน (NPV) จะมีค่า -141 ล้านบาท แสดงว่าโครงการระยะแรกมีผลตอบแทนที่ดีมาก รฟท. จะมีกำไรจากการลงทุนนี้
8. คค. พิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่ รฟท. เสนอ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของ รฟท. เพื่อลดภาระการขาดทุน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยระบบรางตามนโยบายรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-