คณะรัฐมนตรีพิจารณาการลงนามความตกลงชดเชยผลกระทบจากการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ 5 ของสหภาพยุโรปตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบและอนุมัติทั้ง 4 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสรุปผลการเจรจาขอชดเชยผลกระทบจากการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ 5 ของสหภาพยุโรป ภายใต้มาตรา 24 (6) ของแกตต์
2. มอบให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนสรุปผลการเจรจาขอชดเชยผลกระทบจากการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ 5 ของสหภาพยุโรป ภายใต้มาตรา 24 (6) ของแกตต์
3. อนุมัติให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างหนังสือ โดยไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของร่างหนังสือดังกล่าว
4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่า
1. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 สหภาพยุโรปได้มีการขยายสมาชิกภาพเป็นครั้งที่ 5 โดยรวมประเทศจากยุโรปกลางและตะวันออกอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก ลัตเวีย เอสโทเนีย ฮังการี ลิธัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวักและสโลวีเนีย
2. ในภาพรวมของการขยายสมาชิกภาพครั้งนี้ ไทยได้รับผลประโยชน์ทางด้านภาษี (จากการเปลี่ยนแปลงตารางข้อมูลผูกพันของสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกใหม่) เป็นมูลค่าสุทธิ (net gain) ประมาณ 6 ล้านยูโรต่อปี สินค้าที่ไทยได้รับประโยชน์ ได้แก่ รถบรรทุก/ปิกอัพ มอเตอร์ไฟฟ้า และลวด/เคเบิลนำไฟ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไป 10 ประเทศสมาชิกใหม่เฉลี่ยปีละ 42.0 50.3 และ 11.4 ล้านยูโร ตามลำดับ เป็นต้น
3. อย่างไรก็ตามมีสินค้าบางรายการที่ไทยได้รับผลกระทบจากภาษีที่เพิ่มขึ้น โดยในรายการสินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น อาทิ ปลากระป๋อง และข้าว ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไป 10 ประเทศสมาชิกใหม่เฉลี่ยปีละ 11.4 และ 10.0 ล้านยูโร ตามลำดับ เป็นต้น
4. กระทรวงพาณิชย์ได้ยื่นขอสงวนสิทธิเจรจาชดเชยผลกระทบดังกล่าวกับสหภาพยุโรปได้มาตรา 24.6 ของแกตต์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2547 และได้มีการเจรจาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2547
สถานะล่าสุด สหภาพยุโรปตกลงที่จะให้การชดเชยผลกระทบด้านภาษีกับไทยในสินค้า 2 รายการ ที่ไทยได้รับผลกระทบจริง ได้แก่ สินค้าพิกัด 160420 70 - ปลาแปรรูปอื่น ๆ ทำจากทูน่าและสินค้าพิกัด 160420 50 - ปลาแปรรูปอื่น ๆ ทำจากซาร์ดีน โดยให้การชดเชยในรูปโควตา อัตราภาษีภายในโควตาร้อยละ 0 และเสนอเพิ่มปริมาณโควตาสำหรับข้าวขาว (พิกัด 100630) ให้ไทยอีก 1,200 ตัน ที่อัตราภาษีภายในโควตาร้อยละ 0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสรุปผลการเจรจาขอชดเชยผลกระทบจากการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ 5 ของสหภาพยุโรป ภายใต้มาตรา 24 (6) ของแกตต์
2. มอบให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนสรุปผลการเจรจาขอชดเชยผลกระทบจากการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ 5 ของสหภาพยุโรป ภายใต้มาตรา 24 (6) ของแกตต์
3. อนุมัติให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างหนังสือ โดยไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของร่างหนังสือดังกล่าว
4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่า
1. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 สหภาพยุโรปได้มีการขยายสมาชิกภาพเป็นครั้งที่ 5 โดยรวมประเทศจากยุโรปกลางและตะวันออกอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก ลัตเวีย เอสโทเนีย ฮังการี ลิธัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวักและสโลวีเนีย
2. ในภาพรวมของการขยายสมาชิกภาพครั้งนี้ ไทยได้รับผลประโยชน์ทางด้านภาษี (จากการเปลี่ยนแปลงตารางข้อมูลผูกพันของสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกใหม่) เป็นมูลค่าสุทธิ (net gain) ประมาณ 6 ล้านยูโรต่อปี สินค้าที่ไทยได้รับประโยชน์ ได้แก่ รถบรรทุก/ปิกอัพ มอเตอร์ไฟฟ้า และลวด/เคเบิลนำไฟ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไป 10 ประเทศสมาชิกใหม่เฉลี่ยปีละ 42.0 50.3 และ 11.4 ล้านยูโร ตามลำดับ เป็นต้น
3. อย่างไรก็ตามมีสินค้าบางรายการที่ไทยได้รับผลกระทบจากภาษีที่เพิ่มขึ้น โดยในรายการสินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น อาทิ ปลากระป๋อง และข้าว ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไป 10 ประเทศสมาชิกใหม่เฉลี่ยปีละ 11.4 และ 10.0 ล้านยูโร ตามลำดับ เป็นต้น
4. กระทรวงพาณิชย์ได้ยื่นขอสงวนสิทธิเจรจาชดเชยผลกระทบดังกล่าวกับสหภาพยุโรปได้มาตรา 24.6 ของแกตต์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2547 และได้มีการเจรจาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2547
สถานะล่าสุด สหภาพยุโรปตกลงที่จะให้การชดเชยผลกระทบด้านภาษีกับไทยในสินค้า 2 รายการ ที่ไทยได้รับผลกระทบจริง ได้แก่ สินค้าพิกัด 160420 70 - ปลาแปรรูปอื่น ๆ ทำจากทูน่าและสินค้าพิกัด 160420 50 - ปลาแปรรูปอื่น ๆ ทำจากซาร์ดีน โดยให้การชดเชยในรูปโควตา อัตราภาษีภายในโควตาร้อยละ 0 และเสนอเพิ่มปริมาณโควตาสำหรับข้าวขาว (พิกัด 100630) ให้ไทยอีก 1,200 ตัน ที่อัตราภาษีภายในโควตาร้อยละ 0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--