คณะรัฐมนตรีรับทราบสภาพอาคารเคหะชุมชนดินแดง ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยได้รับรายงานจากการเคหะแห่งชาติว่า ขณะนี้การเคหะแห่งชาติได้รับโอนอาคารโครงการเคหะชุมชนดินแดงมาจากกรมประชาสงเคราะห์ จำนวน 4,144 หน่วย ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ปัจจุบันอายุการใช้งานประมาณ 40 ปีแล้ว และเนื่องจากสภาพแวดล้อมรอบโครงการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คือมีการสร้างระบบคมนาคมขนส่งโดยรอบโครงการ คือ ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนอโศก-ดินแดง ซึ่งปริมาณการใช้ระบบขนส่งและรถบรรทุกหนักเพิ่มขึ้นอย่างมาก เกิดแรงสั่นสะเทือนทำให้สภาพของอาคารอยู่อาศัยเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว
การเคหะแห่งชาติ จึงได้มีแผนการที่จะพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมบริเวณดินแดง โดยการจัดทำโครงการฟื้นฟูเมืองด้วยการรื้ออาคารเก่าและสร้างอาคารใหม่ทดแทน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่และฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ให้การเคหะแห่งชาติ จัดทำแผนวิธีการลงทุนและการร่วมงานของเอกชน สำหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
2. ให้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยก่อนการดำเนินโครงการการเคหะแห่งชาติจึงได้ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชน รวมทั้งการจัดทำแผนเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอาคารเสียหาย ดังนี้
1. ด้านการจัดทำแผนโครงการการเคหะแห่งชาติ ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงในด้านกายภาพ การเงิน การลงทุนในภาพรวม
2. ในด้านการให้ความรู้ และรับฟังความเห็นจากผู้อยู่อาศัยในชุมชน การเคหะแห่งชาติว่าจ้างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาสำรวจวิจัยสภาพชุมชน รวมถึงสอบถามความเห็นของผู้อยู่อาศัย เพื่อประกอบการจัดทำโครงการสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. การตรวจสอบสภาพอาคาร การเคหะแห่งชาติตระหนักถึงความปลอดภัยของการอยู่อาศัยของประชาชนในบริเวณดังกล่าว ได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (A.I.T.) ทำการศึกษาตรวจสอบและประเมินสภาพของอาคารในเคหะชุมชนดินแดง รายงานผลของสถาบันเป็นดังนี้
"หากมองดูจากภายนอกจะเห็นว่าอาคารแฟลตดังกล่าวในสภาพดี ไม่พบสภาพเสียหายที่รุนแรง และทรุดโทรมแต่อย่างใดเนื่องจากมีการทาสี ตบแต่งอาคารให้ดูใหม่ แต่จากการตรวจสอบพบว่าประมาณร้อยละ 60 ของอาคารทั้งหมด มีสภาพเก่า ทรุดโทรม และมีความชำรุดเสียหายค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรอยแตกร้าวที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างโดยตรงและอาจเกิดผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยได้" และเนื่องจากสภาพของอาคารทรุดโทรมมากขึ้นตามอายุการใช้งานและสภาพแวดล้อม ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ จึงได้ว่าจ้างสถาบันพระปกเกล้าดำเนินการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มด้วยการประชุมชี้แจงผู้อยู่อาศัยให้ทราบถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
การเคหะแห่งชาติ จึงได้มีแผนการที่จะพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมบริเวณดินแดง โดยการจัดทำโครงการฟื้นฟูเมืองด้วยการรื้ออาคารเก่าและสร้างอาคารใหม่ทดแทน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่และฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ให้การเคหะแห่งชาติ จัดทำแผนวิธีการลงทุนและการร่วมงานของเอกชน สำหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
2. ให้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยก่อนการดำเนินโครงการการเคหะแห่งชาติจึงได้ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชน รวมทั้งการจัดทำแผนเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอาคารเสียหาย ดังนี้
1. ด้านการจัดทำแผนโครงการการเคหะแห่งชาติ ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงในด้านกายภาพ การเงิน การลงทุนในภาพรวม
2. ในด้านการให้ความรู้ และรับฟังความเห็นจากผู้อยู่อาศัยในชุมชน การเคหะแห่งชาติว่าจ้างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาสำรวจวิจัยสภาพชุมชน รวมถึงสอบถามความเห็นของผู้อยู่อาศัย เพื่อประกอบการจัดทำโครงการสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. การตรวจสอบสภาพอาคาร การเคหะแห่งชาติตระหนักถึงความปลอดภัยของการอยู่อาศัยของประชาชนในบริเวณดังกล่าว ได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (A.I.T.) ทำการศึกษาตรวจสอบและประเมินสภาพของอาคารในเคหะชุมชนดินแดง รายงานผลของสถาบันเป็นดังนี้
"หากมองดูจากภายนอกจะเห็นว่าอาคารแฟลตดังกล่าวในสภาพดี ไม่พบสภาพเสียหายที่รุนแรง และทรุดโทรมแต่อย่างใดเนื่องจากมีการทาสี ตบแต่งอาคารให้ดูใหม่ แต่จากการตรวจสอบพบว่าประมาณร้อยละ 60 ของอาคารทั้งหมด มีสภาพเก่า ทรุดโทรม และมีความชำรุดเสียหายค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรอยแตกร้าวที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างโดยตรงและอาจเกิดผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยได้" และเนื่องจากสภาพของอาคารทรุดโทรมมากขึ้นตามอายุการใช้งานและสภาพแวดล้อม ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ จึงได้ว่าจ้างสถาบันพระปกเกล้าดำเนินการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มด้วยการประชุมชี้แจงผู้อยู่อาศัยให้ทราบถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-