คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปผลการจัดงานวันสหกรณ์แห่งชาติประจำปี 2547 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สาธารณชนเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด สร้างเวทีการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ให้ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ผลการจัดงานสรุปได้ดังนี้
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งเป็นวันเปิดงาน มีผู้มาเที่ยวงานประมาณ 30,000 คน มีผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนเข้าร่วมงานในพิธีเปิด จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ และลาว มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และเครือข่ายต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน มีผู้มาเที่ยวงานทั้งสิ้นประมาณ 172,050 คน ประกอบด้วยสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ ที่นำสินค้ามาจำหน่ายประมาณ 972 ร้าน ผู้เข้าชมนิทรรศการ ชมการสาธิตการผลิตสินค้า ฝึกอาชีพ อบรม สัมมนา และเจรจาธุรกิจ รวมทั้งเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ
ภายในงานได้จัดนิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การเล่าเรื่องกระบวนการสหกรณ์ นวัตกรรมกระบวนการผลิตของระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ การเปิดตัวศูนย์บรรจุภัณฑ์ และนิทรรศการเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) และเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าและอาหาร และนิทรรศการของหน่วยงานในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งแสดงผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ มีผู้เข้าชมประมาณ 102,600 คน
มีการสาธิตกระบวนการผลิต โดยจำลองวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน เน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความยากลำบาก ความปราณีต การประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสม จำนวน 4 กิจกรรม คือ สาธิตการผลิตผ้า สมุนไพร การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การจัดทำเครื่องจักสาน มีผู้เข้าร่วมชมประมาณ 31,800 คน นอกจากนี้มีการสอนทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยให้ผู้เข้าเรียนได้ปฏิบัติจริง และสามารถนำไปทำหรือประกอบอาชีพได้ รวมทั้งการอบรมด้านบรรจุภัณฑ์ การสัมมนาทางวิชาการและการบริจาคโลหิต
การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะเพิ่มช่องทางการตลาด และสร้างรายได้ให้สหกรณ์ โดยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มต่าง ๆ และสร้างเวทีการเจรจาธุรกิจ ทำให้มีมูลค่าซื้อขายภายในงานประมาณ 226.48 ล้านบาท ตลอดจนมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ กลุ่มต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 3-5 ดาว ทั่วประเทศ เช่น สินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ศิลปประดิษฐ์ของที่ระลึก ของใช้ตกแต่ง สมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากไม้ ข้าวสาร รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม จำนวนร้านค้า ประมาณ 972 ร้าน มูลค่าจำหน่ายตลอดงานประมาณ 37.38 ล้านบาท
ผลการเจรจาธุรกิจ จากการสร้างเวทีการเจรจาธุรกิจการซื้อขายสินค้าของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ มีผู้เสนอซื้อทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมมูลค่าตกลงซื้อขายประมาณ 189.10 ล้านบาท
สินค้าประเภทข้าวสาร ระหว่างสหกรณ์กับภาคเอกชน ปริมาณ 3,709 ตัน มูลค่า 66.56 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการตกลงซื้อข้าวสารของสหกรณ์แท๊กซี่ ที่จะนำไปจำหน่ายให้กับผู้โดยสารในราคาที่ถูกกว่าตลาด ประมาณ 1,350 ตัน มูลค่า 27.54 ล้านบาท
สินค่าอื่น ๆ เช่น ผ้า เครื่องแต่งกาย อาหาร สมุนไพร มูลค่า 22.67 ล้านบาท
ประเภทยาง มีการตกลงซื้อขายในหลักการระหว่างสหกรณ์กับภาคเอกชน มูลค่า 99.84 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งเป็นวันเปิดงาน มีผู้มาเที่ยวงานประมาณ 30,000 คน มีผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนเข้าร่วมงานในพิธีเปิด จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ และลาว มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และเครือข่ายต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน มีผู้มาเที่ยวงานทั้งสิ้นประมาณ 172,050 คน ประกอบด้วยสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ ที่นำสินค้ามาจำหน่ายประมาณ 972 ร้าน ผู้เข้าชมนิทรรศการ ชมการสาธิตการผลิตสินค้า ฝึกอาชีพ อบรม สัมมนา และเจรจาธุรกิจ รวมทั้งเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ
ภายในงานได้จัดนิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การเล่าเรื่องกระบวนการสหกรณ์ นวัตกรรมกระบวนการผลิตของระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ การเปิดตัวศูนย์บรรจุภัณฑ์ และนิทรรศการเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) และเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าและอาหาร และนิทรรศการของหน่วยงานในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งแสดงผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ มีผู้เข้าชมประมาณ 102,600 คน
มีการสาธิตกระบวนการผลิต โดยจำลองวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน เน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความยากลำบาก ความปราณีต การประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสม จำนวน 4 กิจกรรม คือ สาธิตการผลิตผ้า สมุนไพร การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การจัดทำเครื่องจักสาน มีผู้เข้าร่วมชมประมาณ 31,800 คน นอกจากนี้มีการสอนทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยให้ผู้เข้าเรียนได้ปฏิบัติจริง และสามารถนำไปทำหรือประกอบอาชีพได้ รวมทั้งการอบรมด้านบรรจุภัณฑ์ การสัมมนาทางวิชาการและการบริจาคโลหิต
การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะเพิ่มช่องทางการตลาด และสร้างรายได้ให้สหกรณ์ โดยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มต่าง ๆ และสร้างเวทีการเจรจาธุรกิจ ทำให้มีมูลค่าซื้อขายภายในงานประมาณ 226.48 ล้านบาท ตลอดจนมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ กลุ่มต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 3-5 ดาว ทั่วประเทศ เช่น สินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ศิลปประดิษฐ์ของที่ระลึก ของใช้ตกแต่ง สมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากไม้ ข้าวสาร รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม จำนวนร้านค้า ประมาณ 972 ร้าน มูลค่าจำหน่ายตลอดงานประมาณ 37.38 ล้านบาท
ผลการเจรจาธุรกิจ จากการสร้างเวทีการเจรจาธุรกิจการซื้อขายสินค้าของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ มีผู้เสนอซื้อทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมมูลค่าตกลงซื้อขายประมาณ 189.10 ล้านบาท
สินค้าประเภทข้าวสาร ระหว่างสหกรณ์กับภาคเอกชน ปริมาณ 3,709 ตัน มูลค่า 66.56 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการตกลงซื้อข้าวสารของสหกรณ์แท๊กซี่ ที่จะนำไปจำหน่ายให้กับผู้โดยสารในราคาที่ถูกกว่าตลาด ประมาณ 1,350 ตัน มูลค่า 27.54 ล้านบาท
สินค่าอื่น ๆ เช่น ผ้า เครื่องแต่งกาย อาหาร สมุนไพร มูลค่า 22.67 ล้านบาท
ประเภทยาง มีการตกลงซื้อขายในหลักการระหว่างสหกรณ์กับภาคเอกชน มูลค่า 99.84 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-