คณะรัฐมนตรีรับทราบการให้ความช่วยเหลือภาคใต้ชายแดน 3 จังหวัด (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ของกระทรวงการคลัง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานราชการ มีดังนี้
1.1 กรมศุลกากร ได้กำหนดแผนช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ เช่น การรวบรวมและจัดสรรของปันส่วนจากส่วนกลาง การบริจาคเงินสนับสนุนการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในพื้นที่เหตุการณ์จุดไฟเผาโรงเรียน และการให้ความร่วมมือกับกองทัพภาคที่ 4 ในการลาดตระเวนทางน้ำเป็นต้น เป็นต้น
1.2 กรมสรรพสามิต มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษี หากไม่สามารถยื่นแบบชำระภาษี การจัดส่งงบเดือน หรือเอกสารในการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเบื้องต้นได้ทันตามกำหนดเวลา ก็จะพิจารณาความเหมาะสมให้เป็นกรณีพิเศษ และจะมีการพัฒนาบุคลากรของกรมสรรพสามิตให้มีความเข้าใจในวัฒนธรรม ค่านิยม ภาษาท้องถิ่น (ยาวี) ของประชาชนในเขต 3 จังหวัดภาคใต้
1.3 กรมสรรพากร มีมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการศึกษาเป็นการทั่วไปอยู่แล้ว โดยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้จะเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้รวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งจะพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระภาษี
1.4 กรมธนารักษ์ มีโครงการนำท่าจอดพักเรือปัตตานี ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุสนับสนุนยุทธศาสตร์จังหวัดที่เป็นศู่นย์กลางอาหารฮาลาล จัดทำโครงการบ้านมั่นคงและโครงการศูนย์บ้านพักข้าราชการในเขตที่ดินราชพัสดุ
1.5 กรมบัญชีกลาง มีการให้ความช่วยเหลือในด้านเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติการในพื้นที่พิเศษ(สปพ.) สำหรับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานของส่วนราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้สิทธิแก่ข้าราชการในการนับเวลาราชการทวีคูณแก่ข้าราชการในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งถูกประกาศกฎอัยการศึก โดยได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้ว ตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0409.4/598 ลงวันที่ 15 มกราคม 2547
2. การให้ความช่วยเหลือของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มีดังนี้2.1 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) มีแผนในการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) เร่งรัดการขยายสาขาธนาคาร เพื่อเพิ่มจุดบริการของธนาคารให้มากขึ้นเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเปิดสาขา 1 สาขา (สาขาสุไหง-โกลก) จังหวัดนราธิวาส โดยมีแผนที่จะรับบุคลากรในพื้นที่เข้าเป็นพนักงาน และแผนในการรับนักศึกษาที่จบใหม่ในพื้นที่เป็นลูกจ้างเพื่อเข้าพบลูกค้าโดยตรงซึ่งจะเป็นการขยายงานทั้งด้านเงินฝากและสินเชื่อ
2) ให้ความช่วยเหลือด้านธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กของประชาชนในพื้นที่ โดยการให้ความสนับสนุนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย และโดยที่ประชาชนในเขตจังหวัดปัตตานีหลายหมู่บ้านมีฝีมือด้านการทำเครื่องแต่งกายของชาวมุสลิม ซึ่งนิยมส่งออกไป reexport ที่ประเทศมาเลเซีย ธอท. สามารถช่วยเหลือด้านวัตถุดิบและด้านผู้ซื้อได้โดยตรง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า
3) ให้การสนับสนุนการรับช่วงงานให้บริการ เพื่อเป็นการสนับสนุนการส่งออกระหว่างประเทศ ธอท. และ ธสน. ได้กำหนดแผนร่วมกันโดยสนับสนุนลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลที่คู่ค้าต้องการทำธุรกรรมผ่าน ธอท. โดย ธอท. จะส่งต่อให้ ธสน. เป็นผู้เรียกเก็บเงินตามตั๋วส่งออกให้กับลูกค้าเหล่านั้นแทน
2.2 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) มีโครงการสนับสนุนอุสาหกรรมยางพาราเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการยางพาราตามความเหมาะสมและความจำเป็นเพื่อเป็นการบรรเทาและสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้แล้วจะให้บริการอำนวยความสะดวกในการทำการค้าระหว่างกันกับประเทศมาเลเซีย ในระบบการชำระเงินแบบทวิภาคี (Bilateral Payment Arragement : BPA)
2.3 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) มีโครงการช่วยเหลือดังนี้
1) โครงการสนับสนุนนโยบายรัฐที่เน้นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโดยการสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบ CLUSTER ตามยุทธศาสตร์ชาติซึ่งรัฐบาลกำหนดเป็น 5 ยุทธศาสตร์ ซึ่ง ธพว. ได้แบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็น 7 CLUSTER และแบ่งแยกการทำงานให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และได้กำหนดเป้าหมายการอนุมัติสินเชื่อใน ปี 2547 สาขาปัตตานี 220 ล้านบาท สาขายะลา จำนวน 200 ล้านบาท และสาขานราธิวาส 100 ล้านบาท
2) โครงการเร่งรัดการขยายและการรับสาขาและการรับบุคลากรในพื้นที่เป็นพนักงานเพื่อขยายการให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ทุกจังหวัด ซึ่งกำหนดให้เปิดสาขา นราธิวาส เพิ่มอีก 1 สาขา โดยมีกำหนดระยะเวลาภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547
3) โครงการประนอมหนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กิจการที่ตรวจสอบแล้ว พบว่าประสบปัญหาจากสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดให้สาขาจัดพนักงานออกตรวจสอบและให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ และพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านวงเงินสินเชื่อ และการผ่อนผันการชำระหนี้ตามเกณฑ์ ธพว.
4) โครงการเติมให้เต็ม เต็มใจจากสำหรับข้าราชการเกษียณ ปี 2547 เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐในการปรับปรุงระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ธพว. จึงได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อโครงการนี้สำหรับข้าราชการที่เกษียณก่อนครบอายุราชการ โดยมีแผนจัดฝึกอบรมข้าราชการในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน 3 จังหวัด จำนวน 4,320 คน
2.4 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ) มีโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อสนับสนุนบัณฑิตใหม่ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกออกจากงาน และพนักงานลูกจ้างที่มีพื้นฐานการศึกษาดี และมีศักยภาพ ให้สร้างโอกาสประกอบอาชีพด้วยตนเอง โดยมีแผนการจัดอบรมในจังหวัดปัตตานี นอกจากนี้ จะเร่งลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.5 ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) มีแผนให้การช่วยเหลือพนักงานและลูกจ้างธนาคารออมสิน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจกับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดที่มีความเสี่ยงภัยจากเหตุการณ์ไม่สงบ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดยจะให้เงินช่วยเหลือตอบแทนกรณีพิเศษเป็นรายเดือน และจัดให้มีการประกันภัยแบบกลุ่มให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
ทั้งนี้ มาตรการและโครงการช่วยเหลือภาคใต้ชายแดนดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องและช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ในการฟื้นฟูพัฒนา และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในด้านการช่วยเหลือแก่ชุมชม และประชาชนทั่วไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมและการส่งเสริมการส่งออก การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย และในด้านอื่น ๆ เช่น การเพิ่มการจ้างงานจากแรงงานในพื้นที่ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการเร่งรัดและติดตามการดำเนินการตามมาตรการและโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้นอย่างใกล้ชิดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานราชการ มีดังนี้
1.1 กรมศุลกากร ได้กำหนดแผนช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ เช่น การรวบรวมและจัดสรรของปันส่วนจากส่วนกลาง การบริจาคเงินสนับสนุนการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในพื้นที่เหตุการณ์จุดไฟเผาโรงเรียน และการให้ความร่วมมือกับกองทัพภาคที่ 4 ในการลาดตระเวนทางน้ำเป็นต้น เป็นต้น
1.2 กรมสรรพสามิต มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษี หากไม่สามารถยื่นแบบชำระภาษี การจัดส่งงบเดือน หรือเอกสารในการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเบื้องต้นได้ทันตามกำหนดเวลา ก็จะพิจารณาความเหมาะสมให้เป็นกรณีพิเศษ และจะมีการพัฒนาบุคลากรของกรมสรรพสามิตให้มีความเข้าใจในวัฒนธรรม ค่านิยม ภาษาท้องถิ่น (ยาวี) ของประชาชนในเขต 3 จังหวัดภาคใต้
1.3 กรมสรรพากร มีมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการศึกษาเป็นการทั่วไปอยู่แล้ว โดยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้จะเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้รวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งจะพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระภาษี
1.4 กรมธนารักษ์ มีโครงการนำท่าจอดพักเรือปัตตานี ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุสนับสนุนยุทธศาสตร์จังหวัดที่เป็นศู่นย์กลางอาหารฮาลาล จัดทำโครงการบ้านมั่นคงและโครงการศูนย์บ้านพักข้าราชการในเขตที่ดินราชพัสดุ
1.5 กรมบัญชีกลาง มีการให้ความช่วยเหลือในด้านเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติการในพื้นที่พิเศษ(สปพ.) สำหรับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานของส่วนราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้สิทธิแก่ข้าราชการในการนับเวลาราชการทวีคูณแก่ข้าราชการในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งถูกประกาศกฎอัยการศึก โดยได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้ว ตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0409.4/598 ลงวันที่ 15 มกราคม 2547
2. การให้ความช่วยเหลือของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มีดังนี้2.1 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) มีแผนในการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) เร่งรัดการขยายสาขาธนาคาร เพื่อเพิ่มจุดบริการของธนาคารให้มากขึ้นเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเปิดสาขา 1 สาขา (สาขาสุไหง-โกลก) จังหวัดนราธิวาส โดยมีแผนที่จะรับบุคลากรในพื้นที่เข้าเป็นพนักงาน และแผนในการรับนักศึกษาที่จบใหม่ในพื้นที่เป็นลูกจ้างเพื่อเข้าพบลูกค้าโดยตรงซึ่งจะเป็นการขยายงานทั้งด้านเงินฝากและสินเชื่อ
2) ให้ความช่วยเหลือด้านธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กของประชาชนในพื้นที่ โดยการให้ความสนับสนุนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย และโดยที่ประชาชนในเขตจังหวัดปัตตานีหลายหมู่บ้านมีฝีมือด้านการทำเครื่องแต่งกายของชาวมุสลิม ซึ่งนิยมส่งออกไป reexport ที่ประเทศมาเลเซีย ธอท. สามารถช่วยเหลือด้านวัตถุดิบและด้านผู้ซื้อได้โดยตรง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า
3) ให้การสนับสนุนการรับช่วงงานให้บริการ เพื่อเป็นการสนับสนุนการส่งออกระหว่างประเทศ ธอท. และ ธสน. ได้กำหนดแผนร่วมกันโดยสนับสนุนลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลที่คู่ค้าต้องการทำธุรกรรมผ่าน ธอท. โดย ธอท. จะส่งต่อให้ ธสน. เป็นผู้เรียกเก็บเงินตามตั๋วส่งออกให้กับลูกค้าเหล่านั้นแทน
2.2 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) มีโครงการสนับสนุนอุสาหกรรมยางพาราเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการยางพาราตามความเหมาะสมและความจำเป็นเพื่อเป็นการบรรเทาและสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้แล้วจะให้บริการอำนวยความสะดวกในการทำการค้าระหว่างกันกับประเทศมาเลเซีย ในระบบการชำระเงินแบบทวิภาคี (Bilateral Payment Arragement : BPA)
2.3 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) มีโครงการช่วยเหลือดังนี้
1) โครงการสนับสนุนนโยบายรัฐที่เน้นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโดยการสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบ CLUSTER ตามยุทธศาสตร์ชาติซึ่งรัฐบาลกำหนดเป็น 5 ยุทธศาสตร์ ซึ่ง ธพว. ได้แบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็น 7 CLUSTER และแบ่งแยกการทำงานให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และได้กำหนดเป้าหมายการอนุมัติสินเชื่อใน ปี 2547 สาขาปัตตานี 220 ล้านบาท สาขายะลา จำนวน 200 ล้านบาท และสาขานราธิวาส 100 ล้านบาท
2) โครงการเร่งรัดการขยายและการรับสาขาและการรับบุคลากรในพื้นที่เป็นพนักงานเพื่อขยายการให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ทุกจังหวัด ซึ่งกำหนดให้เปิดสาขา นราธิวาส เพิ่มอีก 1 สาขา โดยมีกำหนดระยะเวลาภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547
3) โครงการประนอมหนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กิจการที่ตรวจสอบแล้ว พบว่าประสบปัญหาจากสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดให้สาขาจัดพนักงานออกตรวจสอบและให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ และพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านวงเงินสินเชื่อ และการผ่อนผันการชำระหนี้ตามเกณฑ์ ธพว.
4) โครงการเติมให้เต็ม เต็มใจจากสำหรับข้าราชการเกษียณ ปี 2547 เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐในการปรับปรุงระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ธพว. จึงได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อโครงการนี้สำหรับข้าราชการที่เกษียณก่อนครบอายุราชการ โดยมีแผนจัดฝึกอบรมข้าราชการในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน 3 จังหวัด จำนวน 4,320 คน
2.4 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ) มีโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อสนับสนุนบัณฑิตใหม่ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกออกจากงาน และพนักงานลูกจ้างที่มีพื้นฐานการศึกษาดี และมีศักยภาพ ให้สร้างโอกาสประกอบอาชีพด้วยตนเอง โดยมีแผนการจัดอบรมในจังหวัดปัตตานี นอกจากนี้ จะเร่งลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.5 ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) มีแผนให้การช่วยเหลือพนักงานและลูกจ้างธนาคารออมสิน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจกับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดที่มีความเสี่ยงภัยจากเหตุการณ์ไม่สงบ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดยจะให้เงินช่วยเหลือตอบแทนกรณีพิเศษเป็นรายเดือน และจัดให้มีการประกันภัยแบบกลุ่มให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
ทั้งนี้ มาตรการและโครงการช่วยเหลือภาคใต้ชายแดนดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องและช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ในการฟื้นฟูพัฒนา และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในด้านการช่วยเหลือแก่ชุมชม และประชาชนทั่วไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมและการส่งเสริมการส่งออก การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย และในด้านอื่น ๆ เช่น การเพิ่มการจ้างงานจากแรงงานในพื้นที่ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการเร่งรัดและติดตามการดำเนินการตามมาตรการและโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้นอย่างใกล้ชิดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-