แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ.
สำนักงบประมาณ
คณะรัฐมนตรี
ก.พ.ร.
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานสรุปผลการประชุมพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด ดังนี้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย ได้จัดประชุมพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด 19 กลุ่มจังหวัด โดยมีรองนายก-รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เป็นประธานการประชุมเมื่อวันที่ 23, 24, 26, 29, 31 ธันวาคม 2546 และ 12 มกราคม 2547 การประชุมเพื่อพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัดของรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 7 ท่าน ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยรองนายกรัฐมนตรีได้รับทราบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และมอบนโยบาย ข้อสั่งการ รวมทั้งให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและตัวชี้วัดในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด สรุปได้ดังนี้
1. การมอบนโยบายและข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี
ให้จังหวัดต่าง ๆ ใช้ศักยภาพของตัวจังหวัดเองสร้างความเจริญเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เต็มที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดคือหัวใจในการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการ การทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการทุกขั้นตอนเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการบริหารจัดการอันเป็นการประหยัดงบประมาณ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดสรรงบประมาณได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณตามลำดับความสำคัญของโครงการ โครงการใดมีความสำคัญก็จะให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ขอให้จังหวัดมองทุกอย่างเป็น CLUSTER เป็นกลุ่มก้อนและเป็นพลังร่วมกัน ในระยะเริ่มต้นนี้เนื่องจากงบประมาณที่แต่ละจังหวัดได้รับการจัดสรรมีจำกัด การดำเนินการตามแผนงาน/โครงการควรเป็นแบบพลวัต (Dynamic) เมื่อมีการติดตามและประเมินผลแล้ว ปรากฏว่ากระบวนการดำเนินงานไม่สามารถทำได้ตามแผนงานที่ตั้งไว้ จังหวัดสามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการใหม่ให้เหมาะสมได้ และควรมีการดำเนินการจัดทำแผนร่วมกับภาคเอกชน นอกจากนี้ยังได้มีข้อสั่งการที่เป็นจุดเน้นในแต่ละพื้นที่ เช่น การเชื่อมโยงเรื่องการท่องเที่ยว และ OTOP การจัดหมู่บ้าน OTOP การพัฒนา SMEs การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัด การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงตะวันออก - ตะวันตก การจัดทำผังเมืองของจังหวัดและสร้างดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
2. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
2.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) การกำหนดเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) โดยให้ทุกจังหวัดมีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ซึ่งการกำหนดค่าเป้าหมายดังกล่าวอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจากศักยภาพ หรือขีดความสามารถของแต่ละจังหวัดไม่เท่าเทียมกัน จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดใดมีการเกษตรเป็นหลักจะเสียเปรียบจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมเป็นหลัก หรือจังหวัดที่มีศักยภาพสูงจะมีค่า GPP มากกว่าจังหวัดที่มีศักยภาพต่ำ และการที่จังหวัดหรือภาคใดได้รับผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล เช่นในเรื่องการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการกินดีอยู่ดี ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่า GPP สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้การคิดค่าGPP ของแต่ละจังหวัดควรคิดเพิ่มขึ้นจากฐานเดิมของจังหวัด (Baseline Data) พร้อมทั้งนำปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาร่วมด้วย ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์ว่าจะเพิ่มค่า GPP ของแต่ละจังหวัดเป็นเท่าใด จะต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ จึงขอให้จัดทำแบบจำลอง (Model) เพื่อให้เกิดผลที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และควรเปิดโอกาสให้จังหวัดสามารถปรับเกณฑ์และค่าเป้าหมายตัวชี้วัดในกรณีที่มีปัจจัยภายนอกที่ไม่อยู่ในความควบคุมกระทบต่อผลงาน
2.2 การบริหารแผนงานและงบประมาณ
1) การของบประมาณยังขาดลักษณะบูรณาการ ในระดับกลุ่มจังหวัด Agenda ส่วนใหญ่เสนอโครงการระดับจังหวัดเพื่อของบประมาณ ดังนั้น การจัดทำโครงการของจังหวัดควรมีแบบบูรณาการทั้งในระดับจังหวัด คือบูรณาการส่วนราชการต่าง ๆ ภายในจังหวัด และบูรณาการระดับกลุ่มจังหวัดโดยคำนึงถึงศักยภาพของจังหวัด รวมทั้งให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการดำเนินงาน/โครงการของจังหวัดด้วย
2) การดำเนินการตามแผนงาน/โครงการควรเป็นแบบพลวัต (Dynamic) และเมื่อมีการติดตามและประเมินผลแล้ว ปรากฏว่ากระบวนการดำเนินงานไม่สามารถทำได้ตามแผนงานที่ตั้งไว้ จังหวัดสามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการใหม่ให้เหมาะสมได้ แต่เป้าหมายการดำเนินการต้องไม่เปลี่ยนแปลง
3) การบริหารงานแบบบูรณาการของจังหวัด
(1) ความสำเร็จในการดำเนินการของจังหวัด อยู่ที่การวางแผน การประสานงาน การบูรณาการและการติดตามผลร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
(2) บทบาทของส่วนราชการที่ดำเนินงานในจังหวัด ทั้งหน่วยงานในท้องถิ่นและหน่วยงานที่สนับสนุนในการเสนอยุทธศาสตร์ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานเหล่านี้จะต้องทำแผนงาน/โครงการมาสนับสนุนจังหวัดต้องทำหน้าที่ประสานงานโดยเร็ว
(3) ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการดำเนินงาน/โครงการของจังหวัดด้วย
(4) จังหวัดต้องมีการบูรณาการในหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
(5) ภาคประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมและรับรู้ในการดำเนินการของจังหวัด
2.3 ระบบฐานข้อมูล ข้อมูลระดับจังหวัด ระดับกระทรวงมีข้อมูลไม่ตรงกัน และวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งระบบฐานข้อมูลเป็นปัจจัยที่สำคัญและนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารงานของส่วนราชการและภาคเอกชนได้ ที่ผ่านมาการจัดเก็บข้อมูลไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นตัวเลขที่ตรงและถูกต้อง ดังนั้น ระบบฐานข้อมูลจึงควรมีวิธีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบและมีรูปแบบที่เหมือนกัน โดยให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาจัดทำรูปแบบให้ชัดเจนและเป็นแนวทางเดียวกัน เพราะฐานข้อมูลของจังหวัดที่ใช้สนับสนุนการประเมินค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดต้องครบถ้วน เชื่อถือได้ และอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน
2.4 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน หลักการทั่วไปตัวชี้วัดควรมีความหมายจัดเก็บได้ง่าย และต้องมีความชัดเจน ตัวชี้วัดในเรื่องหนึ่ง ๆ ควรมีหลายตัวชี้วัด ตัวชี้วัดใดที่เก็บยากก็สามารถไปเพิ่มน้ำหนักกับตัวชี้วัดที่วัดได้ง่ายกว่า เช่น ในเรื่องของรายได้ จังหวัดสามารถวัดได้จากการผลิตสินค้า OTOP ที่เพิ่มมากขึ้นการลดจำนวนของคนยากจน สิ่งเหล่านี้เป็นการสะท้อนว่าประชาชนมีรายได้สูงขึ้น โดยไม่ต้องไปวัดจากตัวรายได้ที่แท้จริงทั้งนี้ การวัดรายได้ทั้งจังหวัดค่อนข้างวัดได้ยาก จึงได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการวิเคราะห์เป็นรายจังหวัด ว่าจังหวัดแต่ละจังหวัดมีศักยภาพมากน้อยเพียงใด ควรกำหนดตัวชี้วัดตาม Agenda Based เพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการ ตัวชี้วัดส่วนใหญ่สะท้อนมิติด้านเศรษฐกิจมากกว่าทางด้านสังคม และควรปรับให้มีตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งตัวชี้วัดเรื่องการประหยัดงบประมาณ อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติราชการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้ตัวชี้วัดที่อยู่ในกลุ่มจังหวัด/จังหวัดควรมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มจังหวัด/จังหวัด
2.5 แผนยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องท่องเที่ยว แผนยุทธศาสตร์จังหวัดเน้นเรื่องท่องเที่ยวค่อนข้างมาก จากเป้าหมายมุ่งเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น ถ้ามุ่งจะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างเดียวเป็นเรื่องที่ยากแต่ถ้าให้นักท่องเที่ยวอยู่นานขึ้น เท่ากับเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยจัดโครงการ (Project)รูปแบบของการท่องเที่ยวเชื่อมโยง และควรจัดทำแผนที่แสดงถึงแหล่งท่องเที่ยว/แหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญและมีชื่อเสียงหรือจัดศูนย์แสดงพิพิธภัณฑ์พื้นเมืองของจังหวัด
2.6 การพัฒนาบุคลากร งบประมาณแต่ละจังหวัดไม่มีโครงการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัด หากไม่มีโครงการเพิ่มพูนทักษะบุคลากรดังกล่าว อาจเป็นปัญหาในการปฏิบัติงานของจังหวัดได้ ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาบุคลากรในจังหวัดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับการปฏิบัติราชการของผู้ว่า CEO
2.7 จังหวัดควรให้ความสำคัญกับการจัดทำผังเมืองรวมของจังหวัด โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2549 และควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดด้วย
2.8 เป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนา คือ แข่งขันกับตัวเองไม่ใช่แข่งขันระหว่างจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย ได้จัดประชุมพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด 19 กลุ่มจังหวัด โดยมีรองนายก-รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เป็นประธานการประชุมเมื่อวันที่ 23, 24, 26, 29, 31 ธันวาคม 2546 และ 12 มกราคม 2547 การประชุมเพื่อพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัดของรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 7 ท่าน ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยรองนายกรัฐมนตรีได้รับทราบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และมอบนโยบาย ข้อสั่งการ รวมทั้งให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและตัวชี้วัดในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด สรุปได้ดังนี้
1. การมอบนโยบายและข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี
ให้จังหวัดต่าง ๆ ใช้ศักยภาพของตัวจังหวัดเองสร้างความเจริญเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เต็มที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดคือหัวใจในการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการ การทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการทุกขั้นตอนเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการบริหารจัดการอันเป็นการประหยัดงบประมาณ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดสรรงบประมาณได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณตามลำดับความสำคัญของโครงการ โครงการใดมีความสำคัญก็จะให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ขอให้จังหวัดมองทุกอย่างเป็น CLUSTER เป็นกลุ่มก้อนและเป็นพลังร่วมกัน ในระยะเริ่มต้นนี้เนื่องจากงบประมาณที่แต่ละจังหวัดได้รับการจัดสรรมีจำกัด การดำเนินการตามแผนงาน/โครงการควรเป็นแบบพลวัต (Dynamic) เมื่อมีการติดตามและประเมินผลแล้ว ปรากฏว่ากระบวนการดำเนินงานไม่สามารถทำได้ตามแผนงานที่ตั้งไว้ จังหวัดสามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการใหม่ให้เหมาะสมได้ และควรมีการดำเนินการจัดทำแผนร่วมกับภาคเอกชน นอกจากนี้ยังได้มีข้อสั่งการที่เป็นจุดเน้นในแต่ละพื้นที่ เช่น การเชื่อมโยงเรื่องการท่องเที่ยว และ OTOP การจัดหมู่บ้าน OTOP การพัฒนา SMEs การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัด การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงตะวันออก - ตะวันตก การจัดทำผังเมืองของจังหวัดและสร้างดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
2. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
2.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) การกำหนดเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) โดยให้ทุกจังหวัดมีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ซึ่งการกำหนดค่าเป้าหมายดังกล่าวอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจากศักยภาพ หรือขีดความสามารถของแต่ละจังหวัดไม่เท่าเทียมกัน จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดใดมีการเกษตรเป็นหลักจะเสียเปรียบจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมเป็นหลัก หรือจังหวัดที่มีศักยภาพสูงจะมีค่า GPP มากกว่าจังหวัดที่มีศักยภาพต่ำ และการที่จังหวัดหรือภาคใดได้รับผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล เช่นในเรื่องการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการกินดีอยู่ดี ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่า GPP สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้การคิดค่าGPP ของแต่ละจังหวัดควรคิดเพิ่มขึ้นจากฐานเดิมของจังหวัด (Baseline Data) พร้อมทั้งนำปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาร่วมด้วย ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์ว่าจะเพิ่มค่า GPP ของแต่ละจังหวัดเป็นเท่าใด จะต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ จึงขอให้จัดทำแบบจำลอง (Model) เพื่อให้เกิดผลที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และควรเปิดโอกาสให้จังหวัดสามารถปรับเกณฑ์และค่าเป้าหมายตัวชี้วัดในกรณีที่มีปัจจัยภายนอกที่ไม่อยู่ในความควบคุมกระทบต่อผลงาน
2.2 การบริหารแผนงานและงบประมาณ
1) การของบประมาณยังขาดลักษณะบูรณาการ ในระดับกลุ่มจังหวัด Agenda ส่วนใหญ่เสนอโครงการระดับจังหวัดเพื่อของบประมาณ ดังนั้น การจัดทำโครงการของจังหวัดควรมีแบบบูรณาการทั้งในระดับจังหวัด คือบูรณาการส่วนราชการต่าง ๆ ภายในจังหวัด และบูรณาการระดับกลุ่มจังหวัดโดยคำนึงถึงศักยภาพของจังหวัด รวมทั้งให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการดำเนินงาน/โครงการของจังหวัดด้วย
2) การดำเนินการตามแผนงาน/โครงการควรเป็นแบบพลวัต (Dynamic) และเมื่อมีการติดตามและประเมินผลแล้ว ปรากฏว่ากระบวนการดำเนินงานไม่สามารถทำได้ตามแผนงานที่ตั้งไว้ จังหวัดสามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการใหม่ให้เหมาะสมได้ แต่เป้าหมายการดำเนินการต้องไม่เปลี่ยนแปลง
3) การบริหารงานแบบบูรณาการของจังหวัด
(1) ความสำเร็จในการดำเนินการของจังหวัด อยู่ที่การวางแผน การประสานงาน การบูรณาการและการติดตามผลร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
(2) บทบาทของส่วนราชการที่ดำเนินงานในจังหวัด ทั้งหน่วยงานในท้องถิ่นและหน่วยงานที่สนับสนุนในการเสนอยุทธศาสตร์ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานเหล่านี้จะต้องทำแผนงาน/โครงการมาสนับสนุนจังหวัดต้องทำหน้าที่ประสานงานโดยเร็ว
(3) ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการดำเนินงาน/โครงการของจังหวัดด้วย
(4) จังหวัดต้องมีการบูรณาการในหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
(5) ภาคประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมและรับรู้ในการดำเนินการของจังหวัด
2.3 ระบบฐานข้อมูล ข้อมูลระดับจังหวัด ระดับกระทรวงมีข้อมูลไม่ตรงกัน และวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งระบบฐานข้อมูลเป็นปัจจัยที่สำคัญและนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารงานของส่วนราชการและภาคเอกชนได้ ที่ผ่านมาการจัดเก็บข้อมูลไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นตัวเลขที่ตรงและถูกต้อง ดังนั้น ระบบฐานข้อมูลจึงควรมีวิธีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบและมีรูปแบบที่เหมือนกัน โดยให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาจัดทำรูปแบบให้ชัดเจนและเป็นแนวทางเดียวกัน เพราะฐานข้อมูลของจังหวัดที่ใช้สนับสนุนการประเมินค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดต้องครบถ้วน เชื่อถือได้ และอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน
2.4 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน หลักการทั่วไปตัวชี้วัดควรมีความหมายจัดเก็บได้ง่าย และต้องมีความชัดเจน ตัวชี้วัดในเรื่องหนึ่ง ๆ ควรมีหลายตัวชี้วัด ตัวชี้วัดใดที่เก็บยากก็สามารถไปเพิ่มน้ำหนักกับตัวชี้วัดที่วัดได้ง่ายกว่า เช่น ในเรื่องของรายได้ จังหวัดสามารถวัดได้จากการผลิตสินค้า OTOP ที่เพิ่มมากขึ้นการลดจำนวนของคนยากจน สิ่งเหล่านี้เป็นการสะท้อนว่าประชาชนมีรายได้สูงขึ้น โดยไม่ต้องไปวัดจากตัวรายได้ที่แท้จริงทั้งนี้ การวัดรายได้ทั้งจังหวัดค่อนข้างวัดได้ยาก จึงได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการวิเคราะห์เป็นรายจังหวัด ว่าจังหวัดแต่ละจังหวัดมีศักยภาพมากน้อยเพียงใด ควรกำหนดตัวชี้วัดตาม Agenda Based เพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการ ตัวชี้วัดส่วนใหญ่สะท้อนมิติด้านเศรษฐกิจมากกว่าทางด้านสังคม และควรปรับให้มีตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งตัวชี้วัดเรื่องการประหยัดงบประมาณ อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติราชการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้ตัวชี้วัดที่อยู่ในกลุ่มจังหวัด/จังหวัดควรมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มจังหวัด/จังหวัด
2.5 แผนยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องท่องเที่ยว แผนยุทธศาสตร์จังหวัดเน้นเรื่องท่องเที่ยวค่อนข้างมาก จากเป้าหมายมุ่งเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น ถ้ามุ่งจะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างเดียวเป็นเรื่องที่ยากแต่ถ้าให้นักท่องเที่ยวอยู่นานขึ้น เท่ากับเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยจัดโครงการ (Project)รูปแบบของการท่องเที่ยวเชื่อมโยง และควรจัดทำแผนที่แสดงถึงแหล่งท่องเที่ยว/แหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญและมีชื่อเสียงหรือจัดศูนย์แสดงพิพิธภัณฑ์พื้นเมืองของจังหวัด
2.6 การพัฒนาบุคลากร งบประมาณแต่ละจังหวัดไม่มีโครงการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัด หากไม่มีโครงการเพิ่มพูนทักษะบุคลากรดังกล่าว อาจเป็นปัญหาในการปฏิบัติงานของจังหวัดได้ ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาบุคลากรในจังหวัดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับการปฏิบัติราชการของผู้ว่า CEO
2.7 จังหวัดควรให้ความสำคัญกับการจัดทำผังเมืองรวมของจังหวัด โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2549 และควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดด้วย
2.8 เป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนา คือ แข่งขันกับตัวเองไม่ใช่แข่งขันระหว่างจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-