คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานการติดตามการมอบอำนาจของส่วนราชการต่างๆ ในราชการฝ่ายบริหาร จำนวน 20 กระทรวง สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงที่มีกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการเป็นการเฉพาะ 2 กระทรวง ได้แก่ 1) กระทรวงกลาโหม 2) กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งสองกระทรวงมีภารกิจที่เป็นบริการสาธารณะทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ ขณะนี้กระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะสำนักงานปลัดกระทรวงในงานสัสดี ได้มอบอำนาจการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ส่วนกระทรวงศึกษาธิการมอบการบริหารงานบุคคลและงบประมาณในส่วนราชการที่มีภารกิจในจังหวัดและหรืออำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ
2. กระทรวงต่าง ๆ อีก 18 กระทรวง 143 กรม ในจำนวนดังกล่าวเป็นกรมที่ไม่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสาธารณะในจังหวัด/อำเภอ ซึ่งไม่อยู่ในกรณีต้องมีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ 54 กรม ส่วนอีก 89 กรม ได้มีการติดตามรายงานการมอบอำนาจแล้ว พบว่ามีการมอบอำนาจ ดังนี้
1) ด้านบริหารงานบุคคล 73 กรม (ทุกกรมที่มีหน่วยงานไปตั้งประจำในจังหวัดและหรืออำเภอ)
2) ด้านบริหารงบประมาณ 66 กรม
3) ด้านการอนุมัติหรือวินิจฉัยสั่งการ 48 กรม ซึ่งเป็นการมอบอำนาจการอนุมัติหรือวินิจฉัยสั่งการตามกฎหมายเฉพาะ 35 กรม
สำหรับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. มีดังนี้
1. ข้อมูลการมอบอำนาจที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เสนอตามรายงานฉบับนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับรายงานเรื่องการมอบอำนาจที่กระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 เห็นว่าการมอบอำนาจด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารงบประมาณมีความสอดคล้องกัน ส่วนการมอบอำนาจในด้านการอนุมัติหรือวินิจฉัยสั่งการมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะเวลาที่ได้รับรายงานแตกต่างกัน เนื่องจากเป็นระยะเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546
2. รายงานการมอบอำนาจตามที่ได้นำเสนอนี้ เป็นลักษณะการพิจารณาจากข้อมูลของส่วนราชการผู้มอบด้านเดียว ฉะนั้นเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546 ที่มีเจตนารมณ์ให้เกิดการอำนวยความสะดวก การลดขั้นตอนการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน จึงควรจะได้ติดตามผลการนำอำนาจที่ได้รับมอบไปปฏิบัติงานจากด้านผู้รับมอบอำนาจว่ามีปัญหา อุปสรรค และสามารถไปอำนวยการจัดบริการในพื้นที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าวได้มากน้อยเพียงไร เช่น งานสำคัญของรัฐบาลเกี่ยวกับการส่งออกที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินการในระดับจังหวัดได้เพียงไร โดยสุ่มประเมินในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง หรือการมอบอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการแทนกันกรณีการอำนวยความยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหา จะใช้หลักประกันในชั้นตำรวจต่อเนื่องไปถึงชั้นศาลได้อย่างไร เป็นต้น เพื่อนำมาปรับปรุงและขยายผลต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. กระทรวงที่มีกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการเป็นการเฉพาะ 2 กระทรวง ได้แก่ 1) กระทรวงกลาโหม 2) กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งสองกระทรวงมีภารกิจที่เป็นบริการสาธารณะทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ ขณะนี้กระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะสำนักงานปลัดกระทรวงในงานสัสดี ได้มอบอำนาจการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ส่วนกระทรวงศึกษาธิการมอบการบริหารงานบุคคลและงบประมาณในส่วนราชการที่มีภารกิจในจังหวัดและหรืออำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ
2. กระทรวงต่าง ๆ อีก 18 กระทรวง 143 กรม ในจำนวนดังกล่าวเป็นกรมที่ไม่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสาธารณะในจังหวัด/อำเภอ ซึ่งไม่อยู่ในกรณีต้องมีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ 54 กรม ส่วนอีก 89 กรม ได้มีการติดตามรายงานการมอบอำนาจแล้ว พบว่ามีการมอบอำนาจ ดังนี้
1) ด้านบริหารงานบุคคล 73 กรม (ทุกกรมที่มีหน่วยงานไปตั้งประจำในจังหวัดและหรืออำเภอ)
2) ด้านบริหารงบประมาณ 66 กรม
3) ด้านการอนุมัติหรือวินิจฉัยสั่งการ 48 กรม ซึ่งเป็นการมอบอำนาจการอนุมัติหรือวินิจฉัยสั่งการตามกฎหมายเฉพาะ 35 กรม
สำหรับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. มีดังนี้
1. ข้อมูลการมอบอำนาจที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เสนอตามรายงานฉบับนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับรายงานเรื่องการมอบอำนาจที่กระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 เห็นว่าการมอบอำนาจด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารงบประมาณมีความสอดคล้องกัน ส่วนการมอบอำนาจในด้านการอนุมัติหรือวินิจฉัยสั่งการมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะเวลาที่ได้รับรายงานแตกต่างกัน เนื่องจากเป็นระยะเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546
2. รายงานการมอบอำนาจตามที่ได้นำเสนอนี้ เป็นลักษณะการพิจารณาจากข้อมูลของส่วนราชการผู้มอบด้านเดียว ฉะนั้นเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546 ที่มีเจตนารมณ์ให้เกิดการอำนวยความสะดวก การลดขั้นตอนการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน จึงควรจะได้ติดตามผลการนำอำนาจที่ได้รับมอบไปปฏิบัติงานจากด้านผู้รับมอบอำนาจว่ามีปัญหา อุปสรรค และสามารถไปอำนวยการจัดบริการในพื้นที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าวได้มากน้อยเพียงไร เช่น งานสำคัญของรัฐบาลเกี่ยวกับการส่งออกที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินการในระดับจังหวัดได้เพียงไร โดยสุ่มประเมินในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง หรือการมอบอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการแทนกันกรณีการอำนวยความยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหา จะใช้หลักประกันในชั้นตำรวจต่อเนื่องไปถึงชั้นศาลได้อย่างไร เป็นต้น เพื่อนำมาปรับปรุงและขยายผลต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-