คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี โครงการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์ชุมชน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 อนุมัติงบประมาณ จำนวน 107,987,600 บาท ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ดำเนินโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน โดยได้วางกรอบและแนวทางของโครงการฯ สรุปโดยย่อคือ เป็นโครงการที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (Activity Based Learning) ช่วยในการพัฒนาความเป็นผู้นำ (Leadership Development) นักศึกษามีงานทำและได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ขณะเดียวกันก็ได้ประสบการณ์ รู้ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น มีความมานะ อดทนรู้จักและเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชาวชนบท โดยให้นักศึกษาได้เข้าไปคลุกคลีหรืออาศัยอยู่กับราษฎรในพื้นที่ การทำงานจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างราษฎรและนิสิตนักศึกษา พร้อมนี้ยังได้มีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการดำเนินการโครงการในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยให้มีการเสนอขอตั้งงบประมาณในปีต่อไปด้วย และให้นำผลการประเมินโครงการมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้สนองนโยบายรัฐบาลข้างต้น พร้อมทั้งได้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ได้ตั้งงบประมาณ จำนวน 107,850,000 บาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการเป็นปี ที่ 2 และด้วยความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ตั้งงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2547 จำนวน 168,000,000 บาท เพื่อดำเนินงานโครงการต่อเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้ได้มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น คือจากเดิม 152 ตำบล/ชุมชน ทั่วประเทศเป็น 228 ตำบล/ชุมชน และเพิ่มจำนวนนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำ 6,080 คน เป็น 9,120 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 อนุมัติงบประมาณ จำนวน 107,987,600 บาท ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ดำเนินโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน โดยได้วางกรอบและแนวทางของโครงการฯ สรุปโดยย่อคือ เป็นโครงการที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (Activity Based Learning) ช่วยในการพัฒนาความเป็นผู้นำ (Leadership Development) นักศึกษามีงานทำและได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ขณะเดียวกันก็ได้ประสบการณ์ รู้ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น มีความมานะ อดทนรู้จักและเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชาวชนบท โดยให้นักศึกษาได้เข้าไปคลุกคลีหรืออาศัยอยู่กับราษฎรในพื้นที่ การทำงานจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างราษฎรและนิสิตนักศึกษา พร้อมนี้ยังได้มีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการดำเนินการโครงการในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยให้มีการเสนอขอตั้งงบประมาณในปีต่อไปด้วย และให้นำผลการประเมินโครงการมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้สนองนโยบายรัฐบาลข้างต้น พร้อมทั้งได้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ได้ตั้งงบประมาณ จำนวน 107,850,000 บาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการเป็นปี ที่ 2 และด้วยความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ตั้งงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2547 จำนวน 168,000,000 บาท เพื่อดำเนินงานโครงการต่อเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้ได้มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น คือจากเดิม 152 ตำบล/ชุมชน ทั่วประเทศเป็น 228 ตำบล/ชุมชน และเพิ่มจำนวนนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำ 6,080 คน เป็น 9,120 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-