คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ต่อไปอีก 1 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ตามที่ กระทรวงคมนาคมเสนอ
กระทรวงคมนาคมโดย รฟท. เสนอขออนุมัติต่อสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) โดยรายงานว่า
1. เดิม รฟท. ได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 2 โดยวงเงินกู้ดังกล่าวจะครบกำหนดอายุสัญญาวันที่ 29 มีนาคม 2547
2. มติคณะกรรมการ รฟท. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ได้เห็นชอบงบประมาณทำการประจำปี 2547 โดยมีประมาณการรายได้จากการดำเนินงานเป็นเงิน 9,187 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายเป็นเงิน 13,854 ล้านบาท (ประกอบด้วย รายจ่ายดำเนินงาน รายจ่ายบำเหน็จ บำนาญ ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้) ซึ่งจะมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน เป็นเงิน 4,667 ล้านบาท เมื่อรวบรวมรายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเงินเดือน จำนวน 1,226 ล้านบาท (ซึ่งเดิมที่ปรากฏในงบการเงินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงาน แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ให้ รฟท. นำมารวมไว้ในงบการเงินของ รฟท. ) ทำให้ รฟท. มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน ทั้งสิ้น 5,893 ล้านบาท นอกจากนี้ จากประมาณการฐานะเงินสดปี 2547 ของ รฟท. มีเงินสดขาดทั้งสิ้น 3,897 ล้านบาท
3. ในการนี้ รฟท. จึงต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อต่ออายุสัญญาเงินกู้ วงเงิน 800 ล้านบาท ดังกล่าวจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะครบกำหนดอายุสัญญาในวันที่ 29 มีนาคม 2547 เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ในกรณีที่ รฟท. อาจขาดเงินทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อมิให้การดำเนินงานต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก
4. ความเห็นของกระทรวงคมนาคมสรุปว่า ผลการดำเนินงานของ รฟท. ประจำปี พ.ศ. 2546 (ก่อนการสอบทานงบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) พบว่า รฟท. สามารถปรับลดผลขาดทุนได้ในเบื้องต้นเป็นจำนวน 296.485 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิจำนวน 5,664.481 ล้านบาท เมื่อเทียบจากเดิมที่คาดการณ์ว่า จะมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิจำนวน 5,960,966 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ที่มีเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและลดภาระหนี้สินของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประมาณการฐานะเงินสดปี 2547 ของรฟท. มีเงินสดขาดทั้งสิ้น 3,897 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วเห็นว่า การขออนุมัติให้ รฟท. ต่ออายุสัญญาเงินกู้ดังกล่าว เป็นการแก้ไขปัญหาการขาดเงินสดหมุนเวียนของ รฟท.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงคมนาคมโดย รฟท. เสนอขออนุมัติต่อสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) โดยรายงานว่า
1. เดิม รฟท. ได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 2 โดยวงเงินกู้ดังกล่าวจะครบกำหนดอายุสัญญาวันที่ 29 มีนาคม 2547
2. มติคณะกรรมการ รฟท. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ได้เห็นชอบงบประมาณทำการประจำปี 2547 โดยมีประมาณการรายได้จากการดำเนินงานเป็นเงิน 9,187 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายเป็นเงิน 13,854 ล้านบาท (ประกอบด้วย รายจ่ายดำเนินงาน รายจ่ายบำเหน็จ บำนาญ ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้) ซึ่งจะมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน เป็นเงิน 4,667 ล้านบาท เมื่อรวบรวมรายจ่ายบำเหน็จบำนาญส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 25 ของเงินเดือน จำนวน 1,226 ล้านบาท (ซึ่งเดิมที่ปรากฏในงบการเงินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงาน แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ให้ รฟท. นำมารวมไว้ในงบการเงินของ รฟท. ) ทำให้ รฟท. มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน ทั้งสิ้น 5,893 ล้านบาท นอกจากนี้ จากประมาณการฐานะเงินสดปี 2547 ของ รฟท. มีเงินสดขาดทั้งสิ้น 3,897 ล้านบาท
3. ในการนี้ รฟท. จึงต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อต่ออายุสัญญาเงินกู้ วงเงิน 800 ล้านบาท ดังกล่าวจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะครบกำหนดอายุสัญญาในวันที่ 29 มีนาคม 2547 เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ในกรณีที่ รฟท. อาจขาดเงินทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อมิให้การดำเนินงานต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก
4. ความเห็นของกระทรวงคมนาคมสรุปว่า ผลการดำเนินงานของ รฟท. ประจำปี พ.ศ. 2546 (ก่อนการสอบทานงบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) พบว่า รฟท. สามารถปรับลดผลขาดทุนได้ในเบื้องต้นเป็นจำนวน 296.485 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิจำนวน 5,664.481 ล้านบาท เมื่อเทียบจากเดิมที่คาดการณ์ว่า จะมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิจำนวน 5,960,966 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ที่มีเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและลดภาระหนี้สินของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประมาณการฐานะเงินสดปี 2547 ของรฟท. มีเงินสดขาดทั้งสิ้น 3,897 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วเห็นว่า การขออนุมัติให้ รฟท. ต่ออายุสัญญาเงินกู้ดังกล่าว เป็นการแก้ไขปัญหาการขาดเงินสดหมุนเวียนของ รฟท.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-