คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบแผนการผลิตบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์
2. อนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ จำนวน 7,910ล้านบาท (เจ็ดพันเก้าร้อยสิบล้านบาท) ในการผลิตและบริหารบัตรฯ รวมทั้งสิ้น 64 ล้านใบ โดยใช้งบกลางปี 2547 จำนวน 1,670 ล้านบาท (หนึ่งพันหกร้อยเจ็ดสิบล้านบาท) สำหรับการผลิตบัตรฯ จำนวน 12 ล้านใบ พร้อมอุปกรณ์ ทั้งนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขอรับเงินประจำงวด ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2547
3. ขอใช้งบประมาณปี 2548 จำนวน 3,120 ล้านบาท (สามพันหนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาท) สำหรับการผลิตบัตรฯ จำนวน 26 ล้านใบ และงบประมาณปี 2549 จำนวน 3,120 ล้านบาท (สามพันหนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาท) สำหรับการผลิตบัตรฯ จำนวน 26 ล้านใบ
ทั้งนี้ บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลส่วนบุคคลในบัตรดังกล่าวได้ และที่ประชุมให้เร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อมูลส่วนบุคคลให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วต่อไป
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เสนอแผนการผลิต งบประมาณการจัดทำ และแผนการจัดส่งบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ สรุปได้ดังนี้
1. แผนการผลิต และงบประมาณ จำนวนบัตรฯ ที่จะต้องผลิตทั้งหมดมีจำนวน 64 ล้านใบ และใช้งบประมาณทั้งสิ้น 7,910 ล้านบาท (เจ็ดพันเก้าร้อยสิบล้านบาท) โดยมีแผนการผลิตบัตรฯ และการใช้งบประมาณ ดังนี้
รายการ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
1. จำนวนบัตรที่ผลิต (ล้านใบ) 12 26 26
2. งบประมาณอุปกรณ์ที่ผลิต (ล้านบาท)
2.1 Operating System Chip และตัวบัตร 1,440 3,120 3,120
(ใบละ 120 บาท)
2.2 Card Reader with Fingerprint 230 - -
Scanner (จำนวน 36,000 ชุด
ชุดละ 5,000 บาท) พร้อมลิขสิทธิ์
Matching on Card
รวม 1,670 3,120 3,120
2. แผนการจัดส่งบัตรฯ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะเริ่มจัดส่งบัตรฯ ที่ผ่านกระบวนการ Pre-Personalization แล้วให้แก่สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการPersonalization และออกบัตรให้แก่ประชาชน โดยมีกำหนดวันจัดส่ง ดังนี้
ปี จำนวน กำหนดวันจัดส่ง
1. 2547 12 ล้านใบ แบ่งออกเป็น
- 10,000 ใบ ภายในวันที่ 15 เมษายน 2547
- 1,000,000 ใบ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2547
- 1,000,000 ใบ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2547
- 1,990,000 ใบ ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2547
- 3,500,000 ใบ ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2547
- 3,500,000 ใบ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2547
- 1,000,000 ใบ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2547
2. 2548 26 ล้านใบ ภายในปี 2548
3. 2549 26 ล้านใบ ภายในปี 2549
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ประโยชน์ต่อรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ
1) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและแนวทางการปฏิรูประบบราชการที่จะทำให้มีการบริการประชาชนได้หลากหลายและมีความเท่าเทียมกันในสังคม
2) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถใช้ประโยชน์เกี่ยวกับข้อมูลของประชาชนร่วมกันจากฐานข้อมูลกลาง ซึ่งสามารถลดขั้นตอนและเวลาการปฏิบัติงาน และข้อมูลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
3) สามารถใช้ทรัพยากรข้อมูลร่วมกัน อันส่งผลให้ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน และประหยัดงบประมาณของประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างมิติใหม่ในการบริหารงานและบริการประชาชนร่วมกันและเสริมสร้างและพัฒนาการจัดทำระบบข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานภาครัฐในสาขาอื่น ๆ
4) เป็นการวางรากฐานและสนับสนุนการบริการภาครัฐตามนโยบายรัฐบาลสมัยใหม่ e-Governmentและเป็นการวางรากฐานการร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนในการสร้างมิติใหม่ในการให้บริการลูกค้าและดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
2. ประโยชน์ต่อสังคมและประชาชน
ประชาชนได้รับบริการในการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบแผนการผลิตบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์
2. อนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ จำนวน 7,910ล้านบาท (เจ็ดพันเก้าร้อยสิบล้านบาท) ในการผลิตและบริหารบัตรฯ รวมทั้งสิ้น 64 ล้านใบ โดยใช้งบกลางปี 2547 จำนวน 1,670 ล้านบาท (หนึ่งพันหกร้อยเจ็ดสิบล้านบาท) สำหรับการผลิตบัตรฯ จำนวน 12 ล้านใบ พร้อมอุปกรณ์ ทั้งนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขอรับเงินประจำงวด ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2547
3. ขอใช้งบประมาณปี 2548 จำนวน 3,120 ล้านบาท (สามพันหนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาท) สำหรับการผลิตบัตรฯ จำนวน 26 ล้านใบ และงบประมาณปี 2549 จำนวน 3,120 ล้านบาท (สามพันหนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาท) สำหรับการผลิตบัตรฯ จำนวน 26 ล้านใบ
ทั้งนี้ บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลส่วนบุคคลในบัตรดังกล่าวได้ และที่ประชุมให้เร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อมูลส่วนบุคคลให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วต่อไป
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เสนอแผนการผลิต งบประมาณการจัดทำ และแผนการจัดส่งบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ สรุปได้ดังนี้
1. แผนการผลิต และงบประมาณ จำนวนบัตรฯ ที่จะต้องผลิตทั้งหมดมีจำนวน 64 ล้านใบ และใช้งบประมาณทั้งสิ้น 7,910 ล้านบาท (เจ็ดพันเก้าร้อยสิบล้านบาท) โดยมีแผนการผลิตบัตรฯ และการใช้งบประมาณ ดังนี้
รายการ ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
1. จำนวนบัตรที่ผลิต (ล้านใบ) 12 26 26
2. งบประมาณอุปกรณ์ที่ผลิต (ล้านบาท)
2.1 Operating System Chip และตัวบัตร 1,440 3,120 3,120
(ใบละ 120 บาท)
2.2 Card Reader with Fingerprint 230 - -
Scanner (จำนวน 36,000 ชุด
ชุดละ 5,000 บาท) พร้อมลิขสิทธิ์
Matching on Card
รวม 1,670 3,120 3,120
2. แผนการจัดส่งบัตรฯ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะเริ่มจัดส่งบัตรฯ ที่ผ่านกระบวนการ Pre-Personalization แล้วให้แก่สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการPersonalization และออกบัตรให้แก่ประชาชน โดยมีกำหนดวันจัดส่ง ดังนี้
ปี จำนวน กำหนดวันจัดส่ง
1. 2547 12 ล้านใบ แบ่งออกเป็น
- 10,000 ใบ ภายในวันที่ 15 เมษายน 2547
- 1,000,000 ใบ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2547
- 1,000,000 ใบ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2547
- 1,990,000 ใบ ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2547
- 3,500,000 ใบ ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2547
- 3,500,000 ใบ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2547
- 1,000,000 ใบ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2547
2. 2548 26 ล้านใบ ภายในปี 2548
3. 2549 26 ล้านใบ ภายในปี 2549
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ประโยชน์ต่อรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ
1) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและแนวทางการปฏิรูประบบราชการที่จะทำให้มีการบริการประชาชนได้หลากหลายและมีความเท่าเทียมกันในสังคม
2) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถใช้ประโยชน์เกี่ยวกับข้อมูลของประชาชนร่วมกันจากฐานข้อมูลกลาง ซึ่งสามารถลดขั้นตอนและเวลาการปฏิบัติงาน และข้อมูลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
3) สามารถใช้ทรัพยากรข้อมูลร่วมกัน อันส่งผลให้ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน และประหยัดงบประมาณของประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างมิติใหม่ในการบริหารงานและบริการประชาชนร่วมกันและเสริมสร้างและพัฒนาการจัดทำระบบข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานภาครัฐในสาขาอื่น ๆ
4) เป็นการวางรากฐานและสนับสนุนการบริการภาครัฐตามนโยบายรัฐบาลสมัยใหม่ e-Governmentและเป็นการวางรากฐานการร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนในการสร้างมิติใหม่ในการให้บริการลูกค้าและดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
2. ประโยชน์ต่อสังคมและประชาชน
ประชาชนได้รับบริการในการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-