คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติ (ด้านการเกษตร) ในช่วงฤดูแล้งปี 2547 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. การติดตามสภาวะอากาศและการแจ้งเตือนภัย
ติดตามสภาวะอากาศและแจ้งเตือนภัยไปยังสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสถานีวิทยุกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบ
ผลการดำเนินงาน ได้แจ้งเตือนแล้วจำนวน 7 ครั้ง โดยมีคำเตือนเกี่ยวกับพายุลมแรง มวลอากาศเย็นคลื่นลมแรง พายุฝนและลมกระโชกแรง พายุฤดูร้อน ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความเสียหายด้านการเกษตร
2. การกำหนดพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ
ผลการเพาะปลูก ณ วันที่ 15 มีนาคม 2547
เขตเพาะปลูก เป้าหมายเนื้อที่ปลูก (ไร่) เนื้อที่ปลูกแล้ว (ไร่)
นาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม นาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
ในเขต 5,640,000 1,055,000 6,695,000 6,490,132 648,101 7,138,233
นอกเขต 2,023,500 1,843,500 3,867,000 778,168 1,171,295 1,949,463
รวม 7,663,500 2,898,500 10,562,000 7,268,300 1,819,396 9,087,696
3. สถานการณ์น้ำ
ปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่าง ๆ คาดการณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2547 มีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกันทั้งประเทศประมาณ 29,228 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุใช้งานได้ทั้งหมด ซึ่งมีสภาพน้ำน้อยกว่าปี 2546 ที่ผ่านมา (ปี 2546 มี 37,207 ล้าน ลบ.ม.) กรมชลประทานจึงได้กำหนดแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศในช่วงฤดูแล้ง เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกประมาณ 16,132 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 55 ของปริมาณน้ำใช้งานได้ทั้งหมด (29,228 ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำในปัจจุบัน ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 40 - 70ของความจุอ่างฯ ยกเว้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน และเขื่อนลำแซะ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง และเขื่อนทับเสลา มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 26 และ 14 ตามลำดับ
เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนในปี 2547 มีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547และวันที่ 11 มีนาคม 2547 กรมชลประทานจึงได้มีประกาศขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับปริมาณน้ำสำรองในการอุปโภค-บริโภค ในปี 2548 คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการปลูกพืชฤดูแล้งได้มีความเห็นว่าควรแจ้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดปลูกพืชในช่วงเดือนมีนาคม -พฤษภาคม 2547
4. การสำรองเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ กรมชลประทานได้เตรียมเครื่องสูบน้ำ 700 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 80 คัน เพื่อให้การช่วยเหลือ
ผลการช่วยเหลือ
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 619 เครื่องใน 36 จังหวัด ภาคเหนือ 252 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ194 เครื่อง ภาคกลาง 77 เครื่อง ภาคตะวันออก 69 เครื่อง ภาคตะวันตก 22 เครื่อง ภาคใต้ 2 เครื่อง ช่วยเหลือพื้นที่นาปรัง 432,847 ไร่ พืชไร่ 19,130 ไร่
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 19 เครื่อง ในบริเวณ 10 จังหวัด ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
- สนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำ ช่วยเหลือด้านอุปโภค - บริโภค และสวนผลไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางแล้ว จำนวน 30 คัน ในบริเวณ 7 จังหวัด
5. ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ได้ปฏิบัติการฝนหลวงใน 8 ศูนย์ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก จันทบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ นครราชสีมา และจังหวัดสงขลา ขึ้นบิน 267 เที่ยวบิน มีฝนตก 22 จังหวัด
6. การเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาด ได้ดำเนินการแจ้งการเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาดของกรมวิชาการเกษตร ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด แจ้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบทุกสัปดาห์ โดยแจ้งผ่านทาง E-mail และโทรสาร จำนวน 6 ครั้ง คือ หนอนกินช่อดอกเงาะ การระบาดของหนอนเจาะฝักข้าวโพด การระบาดของมวลลำไย การระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียน การระบาดของเพลี้ยไฟพริกและเพลี้ยแป้งในเงาะ การระบาดของหนอนห่อใบข้าว
7. สรุปพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง
ข้อมูล ณ วันที่ 22 มีนาคม 2547
ประเภทภัย ช่วงเวลา ความเสียหาย
จังหวัด พื้นที่ประสบภัย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย
1. ภัยแล้ง 15 ม.ค. - 3 มี.ค. 47 2 36,574 27,223
2. วาตภัย 12 ม.ค. - 3 ก.พ. 47 6 12,003 8,458
3. อัคคีภัย 12 ม.ค. - 2 มี.ค. 47 4 598 488
4. ศัตรูพืชระบาด 15 ม.ค. - 27 ก.พ. 47 5 471,568 332,400
รวมทั้งหมด 17 520,743 368,569
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การติดตามสภาวะอากาศและการแจ้งเตือนภัย
ติดตามสภาวะอากาศและแจ้งเตือนภัยไปยังสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสถานีวิทยุกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบ
ผลการดำเนินงาน ได้แจ้งเตือนแล้วจำนวน 7 ครั้ง โดยมีคำเตือนเกี่ยวกับพายุลมแรง มวลอากาศเย็นคลื่นลมแรง พายุฝนและลมกระโชกแรง พายุฤดูร้อน ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความเสียหายด้านการเกษตร
2. การกำหนดพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ
ผลการเพาะปลูก ณ วันที่ 15 มีนาคม 2547
เขตเพาะปลูก เป้าหมายเนื้อที่ปลูก (ไร่) เนื้อที่ปลูกแล้ว (ไร่)
นาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม นาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
ในเขต 5,640,000 1,055,000 6,695,000 6,490,132 648,101 7,138,233
นอกเขต 2,023,500 1,843,500 3,867,000 778,168 1,171,295 1,949,463
รวม 7,663,500 2,898,500 10,562,000 7,268,300 1,819,396 9,087,696
3. สถานการณ์น้ำ
ปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่าง ๆ คาดการณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2547 มีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกันทั้งประเทศประมาณ 29,228 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุใช้งานได้ทั้งหมด ซึ่งมีสภาพน้ำน้อยกว่าปี 2546 ที่ผ่านมา (ปี 2546 มี 37,207 ล้าน ลบ.ม.) กรมชลประทานจึงได้กำหนดแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศในช่วงฤดูแล้ง เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกประมาณ 16,132 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 55 ของปริมาณน้ำใช้งานได้ทั้งหมด (29,228 ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำในปัจจุบัน ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 40 - 70ของความจุอ่างฯ ยกเว้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน และเขื่อนลำแซะ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง และเขื่อนทับเสลา มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 26 และ 14 ตามลำดับ
เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนในปี 2547 มีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547และวันที่ 11 มีนาคม 2547 กรมชลประทานจึงได้มีประกาศขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับปริมาณน้ำสำรองในการอุปโภค-บริโภค ในปี 2548 คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการปลูกพืชฤดูแล้งได้มีความเห็นว่าควรแจ้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดปลูกพืชในช่วงเดือนมีนาคม -พฤษภาคม 2547
4. การสำรองเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ กรมชลประทานได้เตรียมเครื่องสูบน้ำ 700 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 80 คัน เพื่อให้การช่วยเหลือ
ผลการช่วยเหลือ
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 619 เครื่องใน 36 จังหวัด ภาคเหนือ 252 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ194 เครื่อง ภาคกลาง 77 เครื่อง ภาคตะวันออก 69 เครื่อง ภาคตะวันตก 22 เครื่อง ภาคใต้ 2 เครื่อง ช่วยเหลือพื้นที่นาปรัง 432,847 ไร่ พืชไร่ 19,130 ไร่
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 19 เครื่อง ในบริเวณ 10 จังหวัด ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
- สนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำ ช่วยเหลือด้านอุปโภค - บริโภค และสวนผลไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางแล้ว จำนวน 30 คัน ในบริเวณ 7 จังหวัด
5. ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ได้ปฏิบัติการฝนหลวงใน 8 ศูนย์ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก จันทบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ นครราชสีมา และจังหวัดสงขลา ขึ้นบิน 267 เที่ยวบิน มีฝนตก 22 จังหวัด
6. การเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาด ได้ดำเนินการแจ้งการเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาดของกรมวิชาการเกษตร ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด แจ้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบทุกสัปดาห์ โดยแจ้งผ่านทาง E-mail และโทรสาร จำนวน 6 ครั้ง คือ หนอนกินช่อดอกเงาะ การระบาดของหนอนเจาะฝักข้าวโพด การระบาดของมวลลำไย การระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียน การระบาดของเพลี้ยไฟพริกและเพลี้ยแป้งในเงาะ การระบาดของหนอนห่อใบข้าว
7. สรุปพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง
ข้อมูล ณ วันที่ 22 มีนาคม 2547
ประเภทภัย ช่วงเวลา ความเสียหาย
จังหวัด พื้นที่ประสบภัย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย
1. ภัยแล้ง 15 ม.ค. - 3 มี.ค. 47 2 36,574 27,223
2. วาตภัย 12 ม.ค. - 3 ก.พ. 47 6 12,003 8,458
3. อัคคีภัย 12 ม.ค. - 2 มี.ค. 47 4 598 488
4. ศัตรูพืชระบาด 15 ม.ค. - 27 ก.พ. 47 5 471,568 332,400
รวมทั้งหมด 17 520,743 368,569
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-