คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ โดยมีเงื่อนไขให้ถือปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับข้าราชการในสังกัด ฝ่ายบริหารที่จะต้องให้ข้าราชการที่เข้าร่วมโครงการออกจากราชการในวันที่ 1 เมษายน 2547 ทั้งนี้ โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ภายในกรอบวงเงิน 10,500,000 บาท และ 7,400,000 บาท ตามลำดับ โดยให้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามจำนวนเงินที่ใช้จ่ายจริง และให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภารับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. หลักการในการดำเนินการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2546 ให้นำมาใช้สำหรับข้าราชการสังกัดฝ่ายบริหาร ดังนั้น หากจะนำไปใช้กับข้าราชการสังกัดฝ่ายรัฐสภาด้วย สมควรให้มีแนวทางที่เหมือนกันเพื่อความเป็นธรรมและไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในระหว่างข้าราชการทั้งสองฝ่าย
2. มาตรการที่ใช้กับข้าราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร เป็นมาตรการเพื่อปรับจำนวนและคุณภาพข้าราชการให้เหมาะสมกับบทบาทภารกิจและแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐใหม่ ไม่ใช่มาตรการเพื่อลดจำนวนข้าราชการแต่เพียงอย่างเดียว โดยมาตรการที่ 3 ที่ใช้กับข้าราชการในสังกัดฝ่ายบริหารจะเป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะข้าราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบราชการ ดังนั้น จึงควรมีข้อสังเกตให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาพิจารณาดำเนินการตามมาตรการที่ 3 ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกันด้วย
3. การยุบเลิกตำแหน่งที่ม่จำเป็นและคงตำแหน่งที่จำเป็นไว้ภายหลังมีอัตราว่างจากการดำเนินมาตรการนี้ เป็นอำนาจของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) ที่จะพิจารณาตามความเหมาะสม ดังนั้น ในการดำเนินการในเรื่องนี้ จึงสมควรมีข้อสังเกตให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการของข้าราชการพลเรือนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. หลักการในการดำเนินการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2546 ให้นำมาใช้สำหรับข้าราชการสังกัดฝ่ายบริหาร ดังนั้น หากจะนำไปใช้กับข้าราชการสังกัดฝ่ายรัฐสภาด้วย สมควรให้มีแนวทางที่เหมือนกันเพื่อความเป็นธรรมและไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในระหว่างข้าราชการทั้งสองฝ่าย
2. มาตรการที่ใช้กับข้าราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร เป็นมาตรการเพื่อปรับจำนวนและคุณภาพข้าราชการให้เหมาะสมกับบทบาทภารกิจและแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐใหม่ ไม่ใช่มาตรการเพื่อลดจำนวนข้าราชการแต่เพียงอย่างเดียว โดยมาตรการที่ 3 ที่ใช้กับข้าราชการในสังกัดฝ่ายบริหารจะเป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะข้าราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบราชการ ดังนั้น จึงควรมีข้อสังเกตให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาพิจารณาดำเนินการตามมาตรการที่ 3 ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกันด้วย
3. การยุบเลิกตำแหน่งที่ม่จำเป็นและคงตำแหน่งที่จำเป็นไว้ภายหลังมีอัตราว่างจากการดำเนินมาตรการนี้ เป็นอำนาจของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) ที่จะพิจารณาตามความเหมาะสม ดังนั้น ในการดำเนินการในเรื่องนี้ จึงสมควรมีข้อสังเกตให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการของข้าราชการพลเรือนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-