คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ติดตามดูแลการแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา รายงานสถานการณ์ภัยแล้งและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดสงขลา ดังนี้
1. สถานการณ์จังหวัดสงขลา เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 - 16 มิถุนายน 2548 เกิดสถานการณ์ความแห้งแล้งระดับปานกลางและเล็กน้อย ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายและราษฎรได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับน้ำอุปโภค บริโภค ดังนี้
1.1 ช่วงสถานการณ์ความแห้งแล้ง จะเริ่มในระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 โดยเริ่มประสบความแห้งแล้งใน 13 อำเภอ ซึ่งราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 81 ตำบล 450 หมู่บ้าน
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 142,481 ครัวเรือน 428,228 คน
- พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย 23,646 ไร่ พื้นที่สวน 14,079 ไร่ พื้นที่นา 9,567 ไร่
- แจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค จำนวน 6,138,600 ลิตร
- ใช้งบฉุกเฉินท้องถิ่น จำนวน 20,000 บาท
- ใช้งบทดรองฉุกเฉิน จำนวน 14,100 บาท
- งบอื่น ๆ จำนวน 8,000 บาท
1.2 ช่วงสถานการณ์ลดความรุนแรง เนื่องจากสถานการณ์มีฝนตกบ้างในเขตจังหวัดสงขลา คือ ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2548 ทำให้พื้นที่ได้รับความเสียหายลดลง แต่ยังคงให้ความช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค บริโภค คือ
- แจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค จำนวน 4,637,000 ลิตร
1.3 สถานการณ์สภาวะอากาศและสภาพน้ำท่าของจังหวัดสงขลา
- ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำคลองจำไหร ความจุ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร
มีน้ำใช้คงเหลือ 1.728 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 28.80 %
- ปริมาณน้ำ อ่างเก็บน้ำคลองหลา ขนาดความจุ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร
มีน้ำคงเหลือ 4.210 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 16.84%
- มีปริมาณน้ำอ่างคลองสะเดา ขนาดความจุ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร
มีน้ำคงเหลือ 25.562 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 45.05%
โครงการชลประทานสงขลา ได้สูบน้ำช่วยข้าวนาปรัง ใน 3 อำเภอ คือ
- อำเภอกระแสสินธุ์ จำนวน 5,800 ไร่
- อำเภอระโนด จำนวน 4,500 ไร่
- อำเภอบางกล่ำ จำนวน 500 ไร่
โดยใช้เครื่องสูบน้ำ จำนวน 15 เครื่อง
2. แผนงาน/โครงการแก้ปัญหาภัยแล้งทั้งระบบของจังหวัดสงขลา
- โครงการประปาหมู่บ้าน จำนวน 17 โครงการ เป็นเงิน 24,066,666 บาท
(โครงการท้องถิ่นและงบ CEO)
- โครงการขุดบ่อบาดาล จำนวน 4 บ่อ เป็นเงิน 900,000 บาท (โดยให้งบท้องถิ่น)
- โครงการถังเก็บน้ำ จำนวน 3 โครงการ เป็นเงิน 348,788 บาท (ให้งบท้องถิ่น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--
1. สถานการณ์จังหวัดสงขลา เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 - 16 มิถุนายน 2548 เกิดสถานการณ์ความแห้งแล้งระดับปานกลางและเล็กน้อย ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายและราษฎรได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับน้ำอุปโภค บริโภค ดังนี้
1.1 ช่วงสถานการณ์ความแห้งแล้ง จะเริ่มในระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 โดยเริ่มประสบความแห้งแล้งใน 13 อำเภอ ซึ่งราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 81 ตำบล 450 หมู่บ้าน
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 142,481 ครัวเรือน 428,228 คน
- พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย 23,646 ไร่ พื้นที่สวน 14,079 ไร่ พื้นที่นา 9,567 ไร่
- แจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค จำนวน 6,138,600 ลิตร
- ใช้งบฉุกเฉินท้องถิ่น จำนวน 20,000 บาท
- ใช้งบทดรองฉุกเฉิน จำนวน 14,100 บาท
- งบอื่น ๆ จำนวน 8,000 บาท
1.2 ช่วงสถานการณ์ลดความรุนแรง เนื่องจากสถานการณ์มีฝนตกบ้างในเขตจังหวัดสงขลา คือ ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2548 ทำให้พื้นที่ได้รับความเสียหายลดลง แต่ยังคงให้ความช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค บริโภค คือ
- แจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค จำนวน 4,637,000 ลิตร
1.3 สถานการณ์สภาวะอากาศและสภาพน้ำท่าของจังหวัดสงขลา
- ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำคลองจำไหร ความจุ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร
มีน้ำใช้คงเหลือ 1.728 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 28.80 %
- ปริมาณน้ำ อ่างเก็บน้ำคลองหลา ขนาดความจุ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร
มีน้ำคงเหลือ 4.210 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 16.84%
- มีปริมาณน้ำอ่างคลองสะเดา ขนาดความจุ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร
มีน้ำคงเหลือ 25.562 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 45.05%
โครงการชลประทานสงขลา ได้สูบน้ำช่วยข้าวนาปรัง ใน 3 อำเภอ คือ
- อำเภอกระแสสินธุ์ จำนวน 5,800 ไร่
- อำเภอระโนด จำนวน 4,500 ไร่
- อำเภอบางกล่ำ จำนวน 500 ไร่
โดยใช้เครื่องสูบน้ำ จำนวน 15 เครื่อง
2. แผนงาน/โครงการแก้ปัญหาภัยแล้งทั้งระบบของจังหวัดสงขลา
- โครงการประปาหมู่บ้าน จำนวน 17 โครงการ เป็นเงิน 24,066,666 บาท
(โครงการท้องถิ่นและงบ CEO)
- โครงการขุดบ่อบาดาล จำนวน 4 บ่อ เป็นเงิน 900,000 บาท (โดยให้งบท้องถิ่น)
- โครงการถังเก็บน้ำ จำนวน 3 โครงการ เป็นเงิน 348,788 บาท (ให้งบท้องถิ่น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--