คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลเป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้สำนักงาน ก.พ. เป็นเจ้าของเรื่องรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับปัญหาการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลทั้งระบบโดยให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. ในระหว่างที่สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกำลังพิจารณาตามข้อ 1 เห็นควรให้ใช้เกณฑ์การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 กับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบลต่อไป แต่ให้นำโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบลขนาดเล็กที่ไม่สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี 2 ขั้นได้ในจังหวัดนั้น ให้คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) จังหวัดพิจารณาจัดสรร โดยให้มีเกณฑ์การประเมินที่โปร่งใสและเป็นธรรม
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 มีดังนี้
1. ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ได้กำหนดให้นำมาใช้บังคับกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบลด้วยซึ่งก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในทางปฏิบัติกล่าวคือ พนักงานส่วนตำบลโดยเฉพาะใน อบต. ขนาดเล็กและขนาดกลางฯซึ่งมีจำนวนพนักงานรวมกันไม่เกิน 9 คน ไม่สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี 2 ขั้นได้ เนื่องจากติดขัดเรื่องโควตา ร้อยละ 15 ของจำนวนพนักงานส่วนตำบล และเรื่องโควตาร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนพนักงานส่วนตำบล
2. หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลเป็นกรณีพิเศษตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการประเภทอื่น และจะเป็นภาระด้านงบประมาณของท้องถิ่น แต่เพื่อให้พนักงานส่วนตำบลที่มีผลปฏิบัติงานดีเด่นได้มีโอกาสได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี 2 ขั้นได้ ควรนำระบบโควตารวมที่ข้าราชการพลเรือนใช้อยู่มาใช้กับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบล โดยการคำนวณโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนร้อยละ 15 ของจำนวนพนักงานส่วนตำบลทั้งหมดใน อบต. ขนาดเล็กที่ไม่สามารถคำนวณโควตาได้ในจังหวัดนั้น ๆ แล้วจึงใช้หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษตามที่ ก.อบต. กำหนดขึ้น และให้ก.อบต. จังหวัดเป็นผู้พิจารณาจัดสรรโควตาให้แก่ อบต. ต่าง ๆ ในจังหวัดต่อไป
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี มีข้อสังเกต ดังนี้
3.1 หลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 จะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีที่เป็น อบต. ขนาดเล็กและขนาดกลาง สมควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้กับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นโดยการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำไปใช้บังคับกับพนักงานส่วนตำบล หรือใช้บังคับแต่ยกเว้นเรื่องอัตราร้อยละของจำนวนโดยคงกรอบร้อยละอัตราเงินเดือนของข้าราชการ จะเป็นการเหมาะสมหรือไม่ ควรมีการศึกษาในภาพรวมด้วย
3.2 การนำระบบโควตารวมมาใช้กับพนักงานส่วนตำบลจะเป็นการเหมาะสมและจะขัดกับอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นหรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้สำนักงาน ก.พ. เป็นเจ้าของเรื่องรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับปัญหาการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลทั้งระบบโดยให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. ในระหว่างที่สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกำลังพิจารณาตามข้อ 1 เห็นควรให้ใช้เกณฑ์การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 กับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบลต่อไป แต่ให้นำโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบลขนาดเล็กที่ไม่สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี 2 ขั้นได้ในจังหวัดนั้น ให้คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) จังหวัดพิจารณาจัดสรร โดยให้มีเกณฑ์การประเมินที่โปร่งใสและเป็นธรรม
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 มีดังนี้
1. ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ได้กำหนดให้นำมาใช้บังคับกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบลด้วยซึ่งก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในทางปฏิบัติกล่าวคือ พนักงานส่วนตำบลโดยเฉพาะใน อบต. ขนาดเล็กและขนาดกลางฯซึ่งมีจำนวนพนักงานรวมกันไม่เกิน 9 คน ไม่สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี 2 ขั้นได้ เนื่องจากติดขัดเรื่องโควตา ร้อยละ 15 ของจำนวนพนักงานส่วนตำบล และเรื่องโควตาร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนพนักงานส่วนตำบล
2. หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบลเป็นกรณีพิเศษตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการประเภทอื่น และจะเป็นภาระด้านงบประมาณของท้องถิ่น แต่เพื่อให้พนักงานส่วนตำบลที่มีผลปฏิบัติงานดีเด่นได้มีโอกาสได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งปี 2 ขั้นได้ ควรนำระบบโควตารวมที่ข้าราชการพลเรือนใช้อยู่มาใช้กับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานส่วนตำบล โดยการคำนวณโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนร้อยละ 15 ของจำนวนพนักงานส่วนตำบลทั้งหมดใน อบต. ขนาดเล็กที่ไม่สามารถคำนวณโควตาได้ในจังหวัดนั้น ๆ แล้วจึงใช้หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษตามที่ ก.อบต. กำหนดขึ้น และให้ก.อบต. จังหวัดเป็นผู้พิจารณาจัดสรรโควตาให้แก่ อบต. ต่าง ๆ ในจังหวัดต่อไป
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี มีข้อสังเกต ดังนี้
3.1 หลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 จะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีที่เป็น อบต. ขนาดเล็กและขนาดกลาง สมควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้กับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นโดยการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำไปใช้บังคับกับพนักงานส่วนตำบล หรือใช้บังคับแต่ยกเว้นเรื่องอัตราร้อยละของจำนวนโดยคงกรอบร้อยละอัตราเงินเดือนของข้าราชการ จะเป็นการเหมาะสมหรือไม่ ควรมีการศึกษาในภาพรวมด้วย
3.2 การนำระบบโควตารวมมาใช้กับพนักงานส่วนตำบลจะเป็นการเหมาะสมและจะขัดกับอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นหรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-