คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แนวทางการดำเนินงานกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ดังนี้
1. รายการที่เห็นควรผ่อนผันถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 (มิถุนายน 2547) ประกอบด้วย
1) รายการที่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนสิ้นไตรมาสที่ 2
2) รายการที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเอง ได้แก่ งานที่ต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาหรือฤดูกาล
3) รายการที่มีปัญหาอุปสรรค เนื่องจากปัจจัยภายนอก หรือรายการที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานอื่น
4) รายการที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้รับจัดสรรงบประมาณในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมา-ธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และ/หรือส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่จะจัดซื้อจัดจ้างหลังไตรมาสที่ 2 ซึ่งสำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบแผนฯ แล้ว
5) รายการที่หน่วยงานสังกัดส่วนราชการส่วนกลางแต่มีสำนักงานที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคหรือส่วนราชการในภูมิภาคได้รับการโอนจัดสรรเงินประจำงวดจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจส่วนกลางล่าช้า จนไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในไตรมาสที 2
2. รายการที่เห็นควรผ่อนผันถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2547 ประกอบด้วย
1) งบอุดหนุน ที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท)
3) งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (59,000 ล้านบาท)
อนึ่ง กระทรวงการคลังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการที่ส่วนราชการโอนจัดสรรเงินประจำงวดให้หน่วยงานในภูมิภาคล่าช้านั้น เห็นสมควรกำชับให้หัวหน้าส่วนราชการเร่งโอนเงินประจำงวดให้หน่วยงานในภูมิภาคโดยเร็ว และให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาประสิทธิภาพของหัวหน้าส่วนราชการ
เกี่ยวกับเรื่องที่เสนอ กระทรวงการคลังได้รับรายงานจากคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ที่กระทรวงการคลังแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นประธาน ดังนี้
1. ผลการก่อหนี้ผูกพันตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547
จากการติดตามรวบรวมข้อมูลการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายลงทุน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ที่ได้รับรายงานจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจำนวน 94,200 ล้านบาท ปรากฏว่าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถก่อหนี้ผูกพันได้แล้วจำนวน 20,115 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.35 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ได้รับรายงานจำนวน 94,200 ล้านบาท
2. ปัญหาอุปสรรคที่ไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สรุปได้ดังนี้
2.1 ปัญหาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น 1) รอรูปแบบรายการและการกำหนดคุณลักษณะ รวมทั้งแบบแปลนจากส่วนราชการส่วนกลาง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ 2) มีการแก้ไขคุณลักษณะครุภัณฑ์ แบบแปลน หรือเปลี่ยนแปลงรายการเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันและวงเงินงบประมาณที่ได้รับ 3) ส่วนราชการส่วนกลางโอนจัดสรรเงินประจำงวดไปให้หน่วยงานในภูมิภาคล่าช้า
2.2 งานที่ส่วนราชการดำเนินการเอง ซึ่งการดำเนินการขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือฤดูกาล
2.3 ปัจจัยภายนอก เช่น โครงการที่เป็นนโยบายสำคัญและมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ 2) การขอความเห็นชอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3) รอการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) ได้รับจัดสรรงบประมาณในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทำให้ไม่สามารถเตรียมการดำเนินงานได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
2.4 งบอุดหนุน ที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งอยู่ระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ต้องรอเปิดประชุมสภาเพื่อจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณก่อน
2.5 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) ซึ่งโครงการผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน และงบกลางฯ (59,000 ล้านบาท) ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ซึ่งโครงการจะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. รายการที่เห็นควรผ่อนผันถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 (มิถุนายน 2547) ประกอบด้วย
1) รายการที่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนสิ้นไตรมาสที่ 2
2) รายการที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเอง ได้แก่ งานที่ต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาหรือฤดูกาล
3) รายการที่มีปัญหาอุปสรรค เนื่องจากปัจจัยภายนอก หรือรายการที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานอื่น
4) รายการที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้รับจัดสรรงบประมาณในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมา-ธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และ/หรือส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่จะจัดซื้อจัดจ้างหลังไตรมาสที่ 2 ซึ่งสำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบแผนฯ แล้ว
5) รายการที่หน่วยงานสังกัดส่วนราชการส่วนกลางแต่มีสำนักงานที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคหรือส่วนราชการในภูมิภาคได้รับการโอนจัดสรรเงินประจำงวดจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจส่วนกลางล่าช้า จนไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในไตรมาสที 2
2. รายการที่เห็นควรผ่อนผันถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2547 ประกอบด้วย
1) งบอุดหนุน ที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท)
3) งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (59,000 ล้านบาท)
อนึ่ง กระทรวงการคลังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการที่ส่วนราชการโอนจัดสรรเงินประจำงวดให้หน่วยงานในภูมิภาคล่าช้านั้น เห็นสมควรกำชับให้หัวหน้าส่วนราชการเร่งโอนเงินประจำงวดให้หน่วยงานในภูมิภาคโดยเร็ว และให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาประสิทธิภาพของหัวหน้าส่วนราชการ
เกี่ยวกับเรื่องที่เสนอ กระทรวงการคลังได้รับรายงานจากคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ที่กระทรวงการคลังแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นประธาน ดังนี้
1. ผลการก่อหนี้ผูกพันตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547
จากการติดตามรวบรวมข้อมูลการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายลงทุน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ที่ได้รับรายงานจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจำนวน 94,200 ล้านบาท ปรากฏว่าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถก่อหนี้ผูกพันได้แล้วจำนวน 20,115 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.35 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ได้รับรายงานจำนวน 94,200 ล้านบาท
2. ปัญหาอุปสรรคที่ไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สรุปได้ดังนี้
2.1 ปัญหาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น 1) รอรูปแบบรายการและการกำหนดคุณลักษณะ รวมทั้งแบบแปลนจากส่วนราชการส่วนกลาง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ 2) มีการแก้ไขคุณลักษณะครุภัณฑ์ แบบแปลน หรือเปลี่ยนแปลงรายการเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันและวงเงินงบประมาณที่ได้รับ 3) ส่วนราชการส่วนกลางโอนจัดสรรเงินประจำงวดไปให้หน่วยงานในภูมิภาคล่าช้า
2.2 งานที่ส่วนราชการดำเนินการเอง ซึ่งการดำเนินการขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือฤดูกาล
2.3 ปัจจัยภายนอก เช่น โครงการที่เป็นนโยบายสำคัญและมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ 2) การขอความเห็นชอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3) รอการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) ได้รับจัดสรรงบประมาณในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทำให้ไม่สามารถเตรียมการดำเนินงานได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
2.4 งบอุดหนุน ที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งอยู่ระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ต้องรอเปิดประชุมสภาเพื่อจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณก่อน
2.5 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) ซึ่งโครงการผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน และงบกลางฯ (59,000 ล้านบาท) ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ซึ่งโครงการจะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 มีนาคม 2547--จบ--
-กภ-