แท็ก
ร่างพระราชบัญญัติ
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมภาค 1 ลักษณะ 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน)และร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขเพิ่มเติมภาค 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน)
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….(แก้ไขเพิ่มเติมภาค 1 ลักษณะ 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน) และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมภาค 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งสองฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอและให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับไปแก้ไขเพิ่มเติมตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรี ก่อนส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
2. ในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ให้กระทรวงยุติธรรมรับไปพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย
3. ให้กระทรวงยุติธรรมรับไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 โดยด่วนแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 มีดังนี้
1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายหลักที่มีความสำคัญของประเทศ และการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวดว่าด้วยพยานหลักฐานก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ดังนั้น ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภา หากกำหนดหลักการโดยละเอียดชัดเจนจนเกินไปอาจเป็นปัญหาในชั้นพิจารณาของสภาฯ เพราะไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตราใด ๆ ได้เพราะเป็นการแก้ไขหลักการ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้สภาฯ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้โดยไม่กระทบกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้แล้ว เพราะร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนวิธีพิจารณาคดีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่ความซึ่งแนวคิดและมุมมองของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอาจมีแตกต่างกันได้
2. การกำหนดระยะเวลาการยื่นบัญชีระบุพยานในกรณีที่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่อาจยื่นบัญชีระบุพยานได้ตามร่างมาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 229/1 วรรคสามของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งได้กำหนดให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลได้ ก่อนการสืบพยานปากสุดท้ายของฝ่ายนั้นเสร็จสิ้น อาจมีปัญหาว่าไม่อาจมีกรณีที่จะดำเนินการได้ เพราะหากไม่มีการยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลไว้แล้ว ก็จะไม่มีการสืบพยานของฝ่ายนั้น การกำหนดระยะเวลาที่ให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานฝ่ายนั้นเสร็จสิ้น จึงอาจไม่มีกรณีที่จะดำเนินการได้
3. การห้ามออกหมายเรียกบุคคลบางประเภทเป็นพยานตามความในร่างมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา106/1 ของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ใช้ข้อความว่าห้ามออกหมายเรียกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี ฯลฯ ความดังกล่าวแตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สมควรปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมภาค 1 ลักษณะ 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน)และร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขเพิ่มเติมภาค 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน)
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….(แก้ไขเพิ่มเติมภาค 1 ลักษณะ 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน) และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมภาค 5 ว่าด้วยพยานหลักฐาน) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งสองฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอและให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับไปแก้ไขเพิ่มเติมตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรี ก่อนส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
2. ในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ให้กระทรวงยุติธรรมรับไปพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย
3. ให้กระทรวงยุติธรรมรับไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 โดยด่วนแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 มีดังนี้
1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายหลักที่มีความสำคัญของประเทศ และการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวดว่าด้วยพยานหลักฐานก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ดังนั้น ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภา หากกำหนดหลักการโดยละเอียดชัดเจนจนเกินไปอาจเป็นปัญหาในชั้นพิจารณาของสภาฯ เพราะไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตราใด ๆ ได้เพราะเป็นการแก้ไขหลักการ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้สภาฯ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้โดยไม่กระทบกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้แล้ว เพราะร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนวิธีพิจารณาคดีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่ความซึ่งแนวคิดและมุมมองของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอาจมีแตกต่างกันได้
2. การกำหนดระยะเวลาการยื่นบัญชีระบุพยานในกรณีที่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องไม่อาจยื่นบัญชีระบุพยานได้ตามร่างมาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 229/1 วรรคสามของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งได้กำหนดให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลได้ ก่อนการสืบพยานปากสุดท้ายของฝ่ายนั้นเสร็จสิ้น อาจมีปัญหาว่าไม่อาจมีกรณีที่จะดำเนินการได้ เพราะหากไม่มีการยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลไว้แล้ว ก็จะไม่มีการสืบพยานของฝ่ายนั้น การกำหนดระยะเวลาที่ให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานฝ่ายนั้นเสร็จสิ้น จึงอาจไม่มีกรณีที่จะดำเนินการได้
3. การห้ามออกหมายเรียกบุคคลบางประเภทเป็นพยานตามความในร่างมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา106/1 ของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ใช้ข้อความว่าห้ามออกหมายเรียกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี ฯลฯ ความดังกล่าวแตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สมควรปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-