คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) รายงานสรุปผลการประชุมสัมมนาเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชนและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 - 12 มีนาคม 2547 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมของปัญหา จากการจดทะเบียนของกระทรวงมหาดไทย มีประชาชนมาลงทะเบียนทั้งสิ้นจำนวน 7 ล้าน 5 แสนกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 12 ของประชาการทั้งประเทศ โดยมีปัญหารวมทั้งสิ้นมากกว่า 12 ล้านปัญหาซึ่งพบว่าร้อยละ 40 เป็นผู้ประสบปัญหาหนี้สินภาคประชาชน รองลงมาคือร้อยละ 32 ประสบปัญหาที่ดินทำกิน และร้อยละ15 ประสบปัญหาที่อยู่อาศัย
2. สรุปผลการวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละด้านและแนวทางในการแก้ไขปัญหา เมื่อได้วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนหรือ Demand ควบคู่กับมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือ Supply ของแต่ละปัญหาแล้ว สามารถสรุปผลและจัดกลุ่มปัญหาเบื้องต้นได้ 4 ประการ ได้แก่
2.1 ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน มีผู้มาจดทะเบียน 4 ล้าน 8 แสนกว่าราย จำนวนวงเงินเป็นหนี้ทั้งสิ้น617,465 ล้านบาท จำแนกเป็น
ประเภท จำนวน(ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ
หนี้สินในระบบ 493,608 82
หนี้สินนอกระบบ 123,857 18
สำหรับแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนได้มีการจำแนกกลุ่มและกำหนดมาตรการกับลูกหนี้แต่ละกลุ่มไว้ ดังนี้
1) ลูกหนี้ที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เช่น หัวหน้าครอบครัวป่วยหนัก บุตรยังมีอายุน้อยอยู่ในวัยเรียนนั้น กำหนดให้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ก่อน และเหลือหนี้เท่าใด ทางการจะให้การสงเคราะห์ทั้งหมด
2) ลูกหนี้ที่เกิดจากการทำธุรกิจหรือวิกฤติเศรษฐกิจ กำหนดให้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ให้แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบจะดำเนินการโอนเข้าเป็นหนี้ในระบบและให้การช่วยเหลือต่อไป
3) ลูกหนี้ที่ไม่มีวินัย หรือเป็นหนี้จากพฤติกรรมของตนเอง จำเป็นจะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาตนให้ดีขึ้น โดยให้ประชาคมรับรองก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ และให้การช่วยเหลือตามลำดับ
2.2 ปัญหาที่อยู่อาศัย มีผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้น 1 ล้าน 8 แสนคนเศษ แบ่งเป็นผู้พักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องร้อยละ 51 และผู้ที่เช่าที่อยู่อาศัยของเอกชนร้อยละ 24 โดยมีความต้องการซื้อบ้านราคาถูกร้อยละ 51 และต้องการที่ดินราคาถูกเพื่อปลูกบ้านร้อยละ 36
มาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน ประกอบด้วย การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่การให้เอกชนสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย การให้ผู้ประกอบการจัดที่อยู่อาศัยให้คนงาน การนำอาคารที่ยังว่างอยู่มาพัฒนา การดำเนินการตามโครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการบ้านมั่งคง และการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำที่ดินของรัฐและที่สาธารณะมาใช้รองรับการแก้ไขปัญหา
2.3 ปัญหาที่ดินทำกิน มีผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้นเกือบ 3 ล้าน 9 แสนราย แบ่งเป็น
ประเภท จำนวน
ผู้ไม่มีที่ดินทำกินเลย 1 ล้าน 2 แสนกว่าราย
ผู้มีที่ดินเดิมอยู่แล้ว แต่ขอที่ดินทำกินเพิ่ม 1 ล้าน 6 แสนราย
ผู้เช่าที่ดินของรัฐทำประโยชน์อยู่ 1 แสน 3 หมื่นกว่าราย
ผู้ถือครองที่ดินของรัฐทำประโยชน์อยู่ มากกว่า 2 แสน 7 หมื่นราย
คิดเป็นความต้องการด้านที่ดินทำกินทั้งสิ้น 41 ล้านไร่ โดยมีความต้องการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์คือ
ความต้องการ ร้อยละของผู้ลงทะเบียน
ทำสวน ร้อยละ 27
ทำนา ร้อยละ 26
ทำไร่ ร้อยละ 19
ทำการเกษตรผสมผสาน ร้อยละ 12
เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 12
ทำการประมง ร้อยละ 2
นอกจากนี้ ในการดำเนินการจะต้องยึดถือปฏิบัติตามบัญชาการของนายกรัฐมนตรีที่ให้คงเหลือที่ดินไว้ให้กับลูกหลานไทยในอนาคตด้วย
2.4 ปัญหาด้านอาชีพและการมีงานทำ ผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้น 2 ล้าน 6 แสนคน แบ่งเป็น
ประเภท จำนวน
ผู้ขอให้จัดหาอาชีพเสริม 2 ล้าน 3 แสน 8 หมื่นคน
ขอให้ช่วยจัดหางาน 2 แสน 5 หมื่นคน
ขอให้หาเงินทุนประกอบอาชีพ 4 พันคน
ขอให้ช่วยจัดฝึกอาชีพ 1 พัน 3 ร้อยกว่าคน
มาตรการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ประกอบด้วย การจัดตั้งธนาคารแรงงานจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านแรงงาน การพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนจน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพอิสระ การสนับสนุนด้านช่องทางการผลิตและการตลาด การสนับสนุนการจ้างงานในช่วงฤดูแล้ง และช่วงปิดเทอม
3. การบริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นไปตามยุทธศาสตร์ แนวทาง และมาตรการที่ได้กำหนดไว้ จึงได้จัดให้มีกลไกการแก้ปัญหาไว้ในทุกระดับเช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามบัญชาของนายกรัฐมนตรีที่ให้ยึดพื้นที่ หรือ Area Approach เป็นหลัก และให้มีการทำงานในเชิงบูรณาการซึ่งเป็นรูปแบบและวิธีการบริหารงานที่ทางจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ ตลอดจนกระทรวง กรมต่าง ๆ มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือ
3.1 ระดับชาติ กำหนดให้มี ศตจ. และอนุกรรมการรับผิดชอบในแต่ละด้าน คือ อนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ อนุกรรมการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการประกอบอาชีพและที่อยู่อาศัย อนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินและคนยากจน โดยมีอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบ คือ
1) กำหนดเป้าหมายตามกรอบ Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน โดยในปี พ.ศ. 2547จะเร่งแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนของประชาชนทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้นเป็นลำดับแรก
2) กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการในการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน
3) อำนวยการ เร่งรัด กำกับ ติดตาม ให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ
4) สนับสนุนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกินขีดความสามารถของ ศตจ.จ./ศตจ.อ.ที่จะดำเนินการ
5) ดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และการปฏิบัติต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน พร้อมทั้งปรับระบบกฎหมายให้ฝ่ายบริหารมีความคล่องตัว และสามารถจัดการกับปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที
3.2 ระดับจังหวัด ในกรุงเทพมหานครและจังหวัด กำหนดให้มีกลไกการแก้ไขปัญหา คือ ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กทม. (ศตจ.กทม.) ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนจังหวัด (ศตจ.จ.) และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ (ศตจ.อ./กิ่ง อ.) และอนุกรรมการรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
1) จัดทำประชาคม และวิเคราะห์ความต้องการของคนจนหรือ Demand พร้อมทั้งสำรวจตรวจสอบมาตรการและความพร้อมในการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในพื้นที่ หรือ Supply ให้มีความถูกต้องตรงตามสภาพปัญหาและความเป็นจริง
2) กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ พร้อมทั้งรับผิดชอบแต่ละกลุ่มปัญหาไว้ให้ชัดเจนเป็นการด่วน แต่ละคณะอนุกรรมการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบหลักคือ คณะอนุกรรมการด้านหนี้สินและคนยากจน มีเจ้าภาพหลักคือ ตำรวจ สรรพากร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ คณะอนุกรรมการจัดการทรัพยการเพื่อการประกอบอาชีพและที่อยู่อาศัย มีเจ้าภาพหลักคือ ที่ดินจังหวัด สปก. ป่าไม้จังหวัด ราชพัสดุจังหวัด ประมงจังหวัด การเคหะแห่งชาติ คณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ มีผู้รับผิดชอบหลักคือ แรงงานและสวัสดิการสังคมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และเกษตรจังหวัด
3) บูรณาการแผนงานและงบประมาณในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะงบประมาณประจำปี 2547ของทุกกระทรวง/กรมที่จัดสรรลงไปในพื้นที่ โดย ศตจ. ระดับชาติ จะจัดส่งข้อมูลรายละเอียดไปให้ หากไม่เพียงพอ ให้จัดทำคำของบประมาณเพิ่มเติม พร้อมแผนปฏิบัติการเสนอ ศตจ. ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรี โดยมีบัญชาให้จัดเตรียมงบประมาณไว้แล้ว จำนวน 1 หมื่น 5 พันล้านบาท
4) ให้ ศตจ. ในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากองค์กรภาคประชาชน และให้ถือว่าปัญหาความยากจนเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของชาติที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกัน เรียนรู้และทำงานร่วมกัน เป็นพลังแผ่นดินขจัดสิ้นความยากจน
3.3 ระดับตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ เทศบาล และองค์กรบริหารส่วนตำบล ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนของตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาพื้นที่นั้น ๆ ทั้งให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของ ศตจ. ในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ตลอดจนสนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในทุกด้าน และในกลไกทุกระดับ
4. งบประมาณดำเนินการ มีงบประมาณจาก 2 แหล่ง คือ
4.1 งบประมาณปกติ จำนวน 18,163.78 ล้านบาท
4.2 งบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 15,000 ล้านบาท
5. สรุปแนวทางปฏิบัติและข้อสั่งการเพิ่มเติมของนายกรัฐมนตรี
5.1 บทบาทสำคัญของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจน คือ
1) Match - maker จับคู่ภาคประชาชน - เอกชนให้นำ Demand - Supply มาพบกัน
2) Facilitator อำนวยความสะดวกทุกอย่างเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทำมาหากินได้หากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคก็ให้รีบแก้ไข
3) Sponsor สนับสนุนค่าใช้จ่ายกลางในการแก้ไขปัญหา
ภาครัฐจะต้องสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการใหม่เพื่อให้เกิดการจ้างงานโดยจะต้องพิจารณาในหลายประเด็นให้สอดคล้องกัน
5.2 กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบภาครัฐในระดับพื้นที่ สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครพนม นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีปลัดอำเภอรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพรายตำบล นำทีมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับภาคประชาชนและเอกชนเพื่อทราบปัญหาและช่วยแก้ไขในรายครัวเรือนแบบบูรณาการอย่างทั่วถึง
5.3 ทุกกระทรวงต้องช่วยกันพิจารณาเรื่องเปลี่ยนแปลงแนวการปฏิรูปที่ดินให้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เกิดผลผลิตและรายได้ ต้องทำงานแบบเชิงรุก เนื่องจากขณะนี้รู้ปัญหาของประชาชนแล้ว ต้องคิดในเชิงเชื่อมโยงทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการเลื่อนชั้นทางสังคม (Social mobility) ระบบจะเกิดการขับเคลื่อนหมุนไปเอง
5.4 การตั้งงบประมาณปี 2548 จะเป็นการตั้งแบบเกินดุลประมาณ 5 หมื่นถึงแสนล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะนำเงินส่วนเกินนี้มาแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการขยายโอกาสให้ประชาชนสามารถสร้างอาชีพของตนเองได้ทุกส่วนจะต้องมีความฮึกเหิมที่จะแก้ไขปัญหา
5.5 ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องพิจารณาใน 2 มิติคือ ตัวปัญหาและพื้นที่ โดยต้องจัดเจ้าภาพในรายปัญหา เพื่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะสามารถมองเห็นปัญหาในภาพรวม และมองลึกลงไปได้ถึงระบบตำบล หมู่บ้าน ปัญหาเหล่านั้นก็จะสามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
5.6 ข้าราชการจะต้องทำงานหนักเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ ซึ่งเมื่อสามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้แล้วก็จะต้องกลับมาดูแลข้าราชการด้วยกันเอง โดยการปรับเงินเดือน ซึ่งคงไม่ต้องรอให้ครบ 5 ปีก่อน เมื่อฐานของประชาชนในประเทศดีขึ้นระดับหนึ่งแล้ว ฐานข้าราชการก็ต้องดีตามไปด้วย นายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะสนับสนุนในเชิงของงบประมาณวิธีคิด ข้อกฎหมายและระเบียบ เพื่อให้นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหา
6. ปัญหาความเดือดร้อนและความยากจน
6.1 ปัญหาหนี้สิน สำหรับหนี้สินนอกระบบ ต้องเจรจาลดหนี้ แล้วนำยอดรวมมาลดให้ผู้จดทะเบียนอย่างเท่าเทียมกัน โอนหนี้มาเป็นของสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้นอกระบบ และสามารถผ่อนชำระกับสถาบันการเงินของรัฐได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และระยะเวลาการผ่อนนานขึ้นแทน โดยให้เร่งดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ
1) ปรับโครงสร้าง ลดหนี้ ต่อรองหนี้
2) จัดหาเจ้าหนี้ใหม่ ที่สามารถทำให้การผ่อนชำระยาวเพียงพอที่จะไม่เป็นภาระหาเจ้าหนี้ใหม่ จัดตารางชำระใหม่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2547 เป็นส่วนใหญ่
6.2 เรื่องที่ดินทำกิน สิ่งสำคัญคือ เรื่องเอกสารสิทธิ์ และการดำเนินการทางภาษี วัตถุประสงค์ของเรื่องคือ ให้มีการถือครองที่ดินเพื่ออยู่อาศัย และเพื่อทำกินตามสมควรแก่อัตภาพ ไม่ใช่ครอบครองแล้วเก็บไว้เพื่อสร้างความร่ำรวยมั่งคั่งโดยเอาเปรียบคนอื่น ดังนั้นจะพิจารณาให้เอกสารสิทธิในอัตราที่เหมาะสม และมีระบบภาษีก้าวหน้าสำหรับการถือครองที่ดินแล้วไม่ใช้ประโยชน์ ซึ่งทำให้ประเทศชาติเสียหาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งทำให้ที่ดินเกิดประโยชน์สามารถนำไปแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้โดยต้องดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย หากกฎหมายมีปัญหา หรือสร้างความเดือดร้อน ก็ต้องยกเลิกหรือแก้ไข กฎหมายต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ไม่รังแกคนที่เล็กกว่า แต่ต้องให้โอกาสประชาชนในการงานหากินอย่างถูกต้อง
6.3 เรื่องที่อยู่อาศัย จะมีความเชื่อมโยงกับเรื่องที่ดินทำกิน หากประชาชนได้ปลูกบ้านในที่ดินที่ตนเองมีเอกสารสิทธิที่มั่นคงก็จะเกิดการลงตัว ในส่วนของโครงการบ้านมั่นคง หรือบ้านเอื้ออาทรก็จะต้องดำเนินการต่อไปมีเป้าหมายประมาณ 1 ล้านยูนิต
การเคหะแห่งชาติกับกระทรวงมหาดไทยต้องร่วมกันดำเนินการกำหนดความต้องการที่อยู่อาศัยโดยการเคหะแห่งชาติต้องสร้างบ้านเอื้ออาทรให้ตรงตามความต้องการของประชาชนที่แท้จริงให้เสร็จสิ้นในปี 2547 โดยอาจต้องให้ภาคเอกชนมาช่วยดำเนินการด้วย
6.4 เรื่องการมีงานทำ นายกรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแก้ไขหลักสูตรให้เด็กสามารถใช้เวลาล่างให้เป็นประโยชน์ เปิดโอกาสสร้างอาชีพเสริม โดยดำเนินการไปพร้อม ๆ กันทุกมิติเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้แรงงาน ปัญหา และความชำนาญสร้างรายได้อย่างไม่จำกัด ต้องปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ ในที่สุดสิ่งไม่ดีก็จะหมดไป
ต้องให้ความช่วยเหลือบุคคลที่เคยประกอบอาชีพผิดกฎหมายเป็นการเร่งด่วนก่อน โดยถือเป็นความสำคัญลำดับต้น มิฉะนั้นเขาจะกลับไปประกอบอาชีพเดิมอีก
เรื่อง Public work หลายกิจการที่สามารถนำนักศึกษามาช่วยได้ โดยการจ้างงานช่วงปิดเทอม หรือต่อเนื่องถึงช่วงเปิดเทอม เนื่องจากมีกฎหมายอนุญาตให้เด็กทำงานนอกเวลาได้แล้ว
6.5 เรื่องคนเร่ร่อน ต้องมีการพิจารณาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม เช่น การตั้งแคมป์ให้อยู่อาศัยฯลฯ โดยใช้งบประมาณแบบคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ โดยมี bottom line คือการแก้ไขปัญหาให้ได้ภายใน 5 ปี และมีความยั่งยืน
6.6 เรื่องผู้ที่ถูกหลอกลวงเรื่องที่อยู่อาศัย นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รับไปดำเนินการโดยด่วนแล้ว หากพบว่าเป็นการหลอกลวงจริง ให้ดำเนินการดังนี้ คือ
1) ดำเนินคดีกับผู้หลอกลวงตามกฎหมาย
2) แก้ไขปัญหาในภาพรวม
3) บรรเทาความเดือดร้อน โดยจะต้องให้โอกาสฟื้นตัวใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าภาพต้องใช้ดุลพินิจในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลยินดีสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา
7. เรื่องผู้มีอิทธิพล การที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน ต้องสะกดผู้มีอิทธิพลที่เอาเปรียบคนทั่วไปให้ได้จะต้องไม่ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไม่เกรงใจผู้มีอิทธิพลเหล่านี้หากทำให้ประชาชนเดือดร้อน
ในส่วนของผู้มีอิทธิพลถ้าไม่เลิกสร้างความเดือดร้อน ในเบื้องต้นหากไม่สามารถตั้งข้อหาหลัก 7 ข้อหาตามกฎหมาย ป.ป.ง. ได้ ก็จะนำกฎหมายสรรพากรมาบังคับใช้ แต่หากเลิกสร้างความเดือดร้อนแล้วก็ขออย่าไปกลั่นแกล้งยกเว้นจะมีคดีติดตัวมาก่อน
8. เรื่องงบประมาณ ภาครัฐสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนได้โดยใช้งบประมาณท้องถิ่น งบกลางจังหวัด แต่หากโครงการใดที่เป็นประโยชน์ก็สามารถทำเรื่องของบกลางต่างหากได้อีก โดยนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายว่า
8.1 ส่วนที่ 1 ปัญหาที่จังหวัดสามารถแก้ไขได้ ให้ดำเนินการเลย แต่หากขาดงบประมาณ ก็ให้ขอรับการสนับสนุนมา
8.2 ปัญหาที่ต้องแก้ไขแบบบูรณาการทั้งระบบ ต้องใช้เวลาดำเนินการ โดยรอความพร้อมของข้อมูลจากเวทีประชาคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ภาพรวมของปัญหา จากการจดทะเบียนของกระทรวงมหาดไทย มีประชาชนมาลงทะเบียนทั้งสิ้นจำนวน 7 ล้าน 5 แสนกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 12 ของประชาการทั้งประเทศ โดยมีปัญหารวมทั้งสิ้นมากกว่า 12 ล้านปัญหาซึ่งพบว่าร้อยละ 40 เป็นผู้ประสบปัญหาหนี้สินภาคประชาชน รองลงมาคือร้อยละ 32 ประสบปัญหาที่ดินทำกิน และร้อยละ15 ประสบปัญหาที่อยู่อาศัย
2. สรุปผลการวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละด้านและแนวทางในการแก้ไขปัญหา เมื่อได้วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนหรือ Demand ควบคู่กับมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือ Supply ของแต่ละปัญหาแล้ว สามารถสรุปผลและจัดกลุ่มปัญหาเบื้องต้นได้ 4 ประการ ได้แก่
2.1 ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน มีผู้มาจดทะเบียน 4 ล้าน 8 แสนกว่าราย จำนวนวงเงินเป็นหนี้ทั้งสิ้น617,465 ล้านบาท จำแนกเป็น
ประเภท จำนวน(ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ
หนี้สินในระบบ 493,608 82
หนี้สินนอกระบบ 123,857 18
สำหรับแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนได้มีการจำแนกกลุ่มและกำหนดมาตรการกับลูกหนี้แต่ละกลุ่มไว้ ดังนี้
1) ลูกหนี้ที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เช่น หัวหน้าครอบครัวป่วยหนัก บุตรยังมีอายุน้อยอยู่ในวัยเรียนนั้น กำหนดให้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ก่อน และเหลือหนี้เท่าใด ทางการจะให้การสงเคราะห์ทั้งหมด
2) ลูกหนี้ที่เกิดจากการทำธุรกิจหรือวิกฤติเศรษฐกิจ กำหนดให้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ให้แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบจะดำเนินการโอนเข้าเป็นหนี้ในระบบและให้การช่วยเหลือต่อไป
3) ลูกหนี้ที่ไม่มีวินัย หรือเป็นหนี้จากพฤติกรรมของตนเอง จำเป็นจะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาตนให้ดีขึ้น โดยให้ประชาคมรับรองก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ และให้การช่วยเหลือตามลำดับ
2.2 ปัญหาที่อยู่อาศัย มีผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้น 1 ล้าน 8 แสนคนเศษ แบ่งเป็นผู้พักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องร้อยละ 51 และผู้ที่เช่าที่อยู่อาศัยของเอกชนร้อยละ 24 โดยมีความต้องการซื้อบ้านราคาถูกร้อยละ 51 และต้องการที่ดินราคาถูกเพื่อปลูกบ้านร้อยละ 36
มาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน ประกอบด้วย การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่การให้เอกชนสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย การให้ผู้ประกอบการจัดที่อยู่อาศัยให้คนงาน การนำอาคารที่ยังว่างอยู่มาพัฒนา การดำเนินการตามโครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการบ้านมั่งคง และการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำที่ดินของรัฐและที่สาธารณะมาใช้รองรับการแก้ไขปัญหา
2.3 ปัญหาที่ดินทำกิน มีผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้นเกือบ 3 ล้าน 9 แสนราย แบ่งเป็น
ประเภท จำนวน
ผู้ไม่มีที่ดินทำกินเลย 1 ล้าน 2 แสนกว่าราย
ผู้มีที่ดินเดิมอยู่แล้ว แต่ขอที่ดินทำกินเพิ่ม 1 ล้าน 6 แสนราย
ผู้เช่าที่ดินของรัฐทำประโยชน์อยู่ 1 แสน 3 หมื่นกว่าราย
ผู้ถือครองที่ดินของรัฐทำประโยชน์อยู่ มากกว่า 2 แสน 7 หมื่นราย
คิดเป็นความต้องการด้านที่ดินทำกินทั้งสิ้น 41 ล้านไร่ โดยมีความต้องการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์คือ
ความต้องการ ร้อยละของผู้ลงทะเบียน
ทำสวน ร้อยละ 27
ทำนา ร้อยละ 26
ทำไร่ ร้อยละ 19
ทำการเกษตรผสมผสาน ร้อยละ 12
เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 12
ทำการประมง ร้อยละ 2
นอกจากนี้ ในการดำเนินการจะต้องยึดถือปฏิบัติตามบัญชาการของนายกรัฐมนตรีที่ให้คงเหลือที่ดินไว้ให้กับลูกหลานไทยในอนาคตด้วย
2.4 ปัญหาด้านอาชีพและการมีงานทำ ผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้น 2 ล้าน 6 แสนคน แบ่งเป็น
ประเภท จำนวน
ผู้ขอให้จัดหาอาชีพเสริม 2 ล้าน 3 แสน 8 หมื่นคน
ขอให้ช่วยจัดหางาน 2 แสน 5 หมื่นคน
ขอให้หาเงินทุนประกอบอาชีพ 4 พันคน
ขอให้ช่วยจัดฝึกอาชีพ 1 พัน 3 ร้อยกว่าคน
มาตรการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ประกอบด้วย การจัดตั้งธนาคารแรงงานจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านแรงงาน การพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนจน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพอิสระ การสนับสนุนด้านช่องทางการผลิตและการตลาด การสนับสนุนการจ้างงานในช่วงฤดูแล้ง และช่วงปิดเทอม
3. การบริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นไปตามยุทธศาสตร์ แนวทาง และมาตรการที่ได้กำหนดไว้ จึงได้จัดให้มีกลไกการแก้ปัญหาไว้ในทุกระดับเช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามบัญชาของนายกรัฐมนตรีที่ให้ยึดพื้นที่ หรือ Area Approach เป็นหลัก และให้มีการทำงานในเชิงบูรณาการซึ่งเป็นรูปแบบและวิธีการบริหารงานที่ทางจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ ตลอดจนกระทรวง กรมต่าง ๆ มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือ
3.1 ระดับชาติ กำหนดให้มี ศตจ. และอนุกรรมการรับผิดชอบในแต่ละด้าน คือ อนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ อนุกรรมการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการประกอบอาชีพและที่อยู่อาศัย อนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินและคนยากจน โดยมีอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบ คือ
1) กำหนดเป้าหมายตามกรอบ Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน โดยในปี พ.ศ. 2547จะเร่งแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนของประชาชนทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้นเป็นลำดับแรก
2) กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการในการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน
3) อำนวยการ เร่งรัด กำกับ ติดตาม ให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ
4) สนับสนุนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกินขีดความสามารถของ ศตจ.จ./ศตจ.อ.ที่จะดำเนินการ
5) ดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และการปฏิบัติต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน พร้อมทั้งปรับระบบกฎหมายให้ฝ่ายบริหารมีความคล่องตัว และสามารถจัดการกับปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที
3.2 ระดับจังหวัด ในกรุงเทพมหานครและจังหวัด กำหนดให้มีกลไกการแก้ไขปัญหา คือ ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กทม. (ศตจ.กทม.) ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนจังหวัด (ศตจ.จ.) และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ (ศตจ.อ./กิ่ง อ.) และอนุกรรมการรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
1) จัดทำประชาคม และวิเคราะห์ความต้องการของคนจนหรือ Demand พร้อมทั้งสำรวจตรวจสอบมาตรการและความพร้อมในการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในพื้นที่ หรือ Supply ให้มีความถูกต้องตรงตามสภาพปัญหาและความเป็นจริง
2) กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ พร้อมทั้งรับผิดชอบแต่ละกลุ่มปัญหาไว้ให้ชัดเจนเป็นการด่วน แต่ละคณะอนุกรรมการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบหลักคือ คณะอนุกรรมการด้านหนี้สินและคนยากจน มีเจ้าภาพหลักคือ ตำรวจ สรรพากร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ คณะอนุกรรมการจัดการทรัพยการเพื่อการประกอบอาชีพและที่อยู่อาศัย มีเจ้าภาพหลักคือ ที่ดินจังหวัด สปก. ป่าไม้จังหวัด ราชพัสดุจังหวัด ประมงจังหวัด การเคหะแห่งชาติ คณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ มีผู้รับผิดชอบหลักคือ แรงงานและสวัสดิการสังคมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และเกษตรจังหวัด
3) บูรณาการแผนงานและงบประมาณในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะงบประมาณประจำปี 2547ของทุกกระทรวง/กรมที่จัดสรรลงไปในพื้นที่ โดย ศตจ. ระดับชาติ จะจัดส่งข้อมูลรายละเอียดไปให้ หากไม่เพียงพอ ให้จัดทำคำของบประมาณเพิ่มเติม พร้อมแผนปฏิบัติการเสนอ ศตจ. ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรี โดยมีบัญชาให้จัดเตรียมงบประมาณไว้แล้ว จำนวน 1 หมื่น 5 พันล้านบาท
4) ให้ ศตจ. ในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากองค์กรภาคประชาชน และให้ถือว่าปัญหาความยากจนเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของชาติที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกัน เรียนรู้และทำงานร่วมกัน เป็นพลังแผ่นดินขจัดสิ้นความยากจน
3.3 ระดับตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ เทศบาล และองค์กรบริหารส่วนตำบล ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนของตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาพื้นที่นั้น ๆ ทั้งให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของ ศตจ. ในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ตลอดจนสนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในทุกด้าน และในกลไกทุกระดับ
4. งบประมาณดำเนินการ มีงบประมาณจาก 2 แหล่ง คือ
4.1 งบประมาณปกติ จำนวน 18,163.78 ล้านบาท
4.2 งบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 15,000 ล้านบาท
5. สรุปแนวทางปฏิบัติและข้อสั่งการเพิ่มเติมของนายกรัฐมนตรี
5.1 บทบาทสำคัญของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจน คือ
1) Match - maker จับคู่ภาคประชาชน - เอกชนให้นำ Demand - Supply มาพบกัน
2) Facilitator อำนวยความสะดวกทุกอย่างเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทำมาหากินได้หากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคก็ให้รีบแก้ไข
3) Sponsor สนับสนุนค่าใช้จ่ายกลางในการแก้ไขปัญหา
ภาครัฐจะต้องสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการใหม่เพื่อให้เกิดการจ้างงานโดยจะต้องพิจารณาในหลายประเด็นให้สอดคล้องกัน
5.2 กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบภาครัฐในระดับพื้นที่ สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครพนม นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีปลัดอำเภอรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพรายตำบล นำทีมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับภาคประชาชนและเอกชนเพื่อทราบปัญหาและช่วยแก้ไขในรายครัวเรือนแบบบูรณาการอย่างทั่วถึง
5.3 ทุกกระทรวงต้องช่วยกันพิจารณาเรื่องเปลี่ยนแปลงแนวการปฏิรูปที่ดินให้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เกิดผลผลิตและรายได้ ต้องทำงานแบบเชิงรุก เนื่องจากขณะนี้รู้ปัญหาของประชาชนแล้ว ต้องคิดในเชิงเชื่อมโยงทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการเลื่อนชั้นทางสังคม (Social mobility) ระบบจะเกิดการขับเคลื่อนหมุนไปเอง
5.4 การตั้งงบประมาณปี 2548 จะเป็นการตั้งแบบเกินดุลประมาณ 5 หมื่นถึงแสนล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะนำเงินส่วนเกินนี้มาแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการขยายโอกาสให้ประชาชนสามารถสร้างอาชีพของตนเองได้ทุกส่วนจะต้องมีความฮึกเหิมที่จะแก้ไขปัญหา
5.5 ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องพิจารณาใน 2 มิติคือ ตัวปัญหาและพื้นที่ โดยต้องจัดเจ้าภาพในรายปัญหา เพื่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะสามารถมองเห็นปัญหาในภาพรวม และมองลึกลงไปได้ถึงระบบตำบล หมู่บ้าน ปัญหาเหล่านั้นก็จะสามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
5.6 ข้าราชการจะต้องทำงานหนักเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ ซึ่งเมื่อสามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้แล้วก็จะต้องกลับมาดูแลข้าราชการด้วยกันเอง โดยการปรับเงินเดือน ซึ่งคงไม่ต้องรอให้ครบ 5 ปีก่อน เมื่อฐานของประชาชนในประเทศดีขึ้นระดับหนึ่งแล้ว ฐานข้าราชการก็ต้องดีตามไปด้วย นายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะสนับสนุนในเชิงของงบประมาณวิธีคิด ข้อกฎหมายและระเบียบ เพื่อให้นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหา
6. ปัญหาความเดือดร้อนและความยากจน
6.1 ปัญหาหนี้สิน สำหรับหนี้สินนอกระบบ ต้องเจรจาลดหนี้ แล้วนำยอดรวมมาลดให้ผู้จดทะเบียนอย่างเท่าเทียมกัน โอนหนี้มาเป็นของสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้นอกระบบ และสามารถผ่อนชำระกับสถาบันการเงินของรัฐได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และระยะเวลาการผ่อนนานขึ้นแทน โดยให้เร่งดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ
1) ปรับโครงสร้าง ลดหนี้ ต่อรองหนี้
2) จัดหาเจ้าหนี้ใหม่ ที่สามารถทำให้การผ่อนชำระยาวเพียงพอที่จะไม่เป็นภาระหาเจ้าหนี้ใหม่ จัดตารางชำระใหม่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2547 เป็นส่วนใหญ่
6.2 เรื่องที่ดินทำกิน สิ่งสำคัญคือ เรื่องเอกสารสิทธิ์ และการดำเนินการทางภาษี วัตถุประสงค์ของเรื่องคือ ให้มีการถือครองที่ดินเพื่ออยู่อาศัย และเพื่อทำกินตามสมควรแก่อัตภาพ ไม่ใช่ครอบครองแล้วเก็บไว้เพื่อสร้างความร่ำรวยมั่งคั่งโดยเอาเปรียบคนอื่น ดังนั้นจะพิจารณาให้เอกสารสิทธิในอัตราที่เหมาะสม และมีระบบภาษีก้าวหน้าสำหรับการถือครองที่ดินแล้วไม่ใช้ประโยชน์ ซึ่งทำให้ประเทศชาติเสียหาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งทำให้ที่ดินเกิดประโยชน์สามารถนำไปแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้โดยต้องดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย หากกฎหมายมีปัญหา หรือสร้างความเดือดร้อน ก็ต้องยกเลิกหรือแก้ไข กฎหมายต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ไม่รังแกคนที่เล็กกว่า แต่ต้องให้โอกาสประชาชนในการงานหากินอย่างถูกต้อง
6.3 เรื่องที่อยู่อาศัย จะมีความเชื่อมโยงกับเรื่องที่ดินทำกิน หากประชาชนได้ปลูกบ้านในที่ดินที่ตนเองมีเอกสารสิทธิที่มั่นคงก็จะเกิดการลงตัว ในส่วนของโครงการบ้านมั่นคง หรือบ้านเอื้ออาทรก็จะต้องดำเนินการต่อไปมีเป้าหมายประมาณ 1 ล้านยูนิต
การเคหะแห่งชาติกับกระทรวงมหาดไทยต้องร่วมกันดำเนินการกำหนดความต้องการที่อยู่อาศัยโดยการเคหะแห่งชาติต้องสร้างบ้านเอื้ออาทรให้ตรงตามความต้องการของประชาชนที่แท้จริงให้เสร็จสิ้นในปี 2547 โดยอาจต้องให้ภาคเอกชนมาช่วยดำเนินการด้วย
6.4 เรื่องการมีงานทำ นายกรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแก้ไขหลักสูตรให้เด็กสามารถใช้เวลาล่างให้เป็นประโยชน์ เปิดโอกาสสร้างอาชีพเสริม โดยดำเนินการไปพร้อม ๆ กันทุกมิติเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้แรงงาน ปัญหา และความชำนาญสร้างรายได้อย่างไม่จำกัด ต้องปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ ในที่สุดสิ่งไม่ดีก็จะหมดไป
ต้องให้ความช่วยเหลือบุคคลที่เคยประกอบอาชีพผิดกฎหมายเป็นการเร่งด่วนก่อน โดยถือเป็นความสำคัญลำดับต้น มิฉะนั้นเขาจะกลับไปประกอบอาชีพเดิมอีก
เรื่อง Public work หลายกิจการที่สามารถนำนักศึกษามาช่วยได้ โดยการจ้างงานช่วงปิดเทอม หรือต่อเนื่องถึงช่วงเปิดเทอม เนื่องจากมีกฎหมายอนุญาตให้เด็กทำงานนอกเวลาได้แล้ว
6.5 เรื่องคนเร่ร่อน ต้องมีการพิจารณาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม เช่น การตั้งแคมป์ให้อยู่อาศัยฯลฯ โดยใช้งบประมาณแบบคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ โดยมี bottom line คือการแก้ไขปัญหาให้ได้ภายใน 5 ปี และมีความยั่งยืน
6.6 เรื่องผู้ที่ถูกหลอกลวงเรื่องที่อยู่อาศัย นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รับไปดำเนินการโดยด่วนแล้ว หากพบว่าเป็นการหลอกลวงจริง ให้ดำเนินการดังนี้ คือ
1) ดำเนินคดีกับผู้หลอกลวงตามกฎหมาย
2) แก้ไขปัญหาในภาพรวม
3) บรรเทาความเดือดร้อน โดยจะต้องให้โอกาสฟื้นตัวใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าภาพต้องใช้ดุลพินิจในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลยินดีสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา
7. เรื่องผู้มีอิทธิพล การที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน ต้องสะกดผู้มีอิทธิพลที่เอาเปรียบคนทั่วไปให้ได้จะต้องไม่ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไม่เกรงใจผู้มีอิทธิพลเหล่านี้หากทำให้ประชาชนเดือดร้อน
ในส่วนของผู้มีอิทธิพลถ้าไม่เลิกสร้างความเดือดร้อน ในเบื้องต้นหากไม่สามารถตั้งข้อหาหลัก 7 ข้อหาตามกฎหมาย ป.ป.ง. ได้ ก็จะนำกฎหมายสรรพากรมาบังคับใช้ แต่หากเลิกสร้างความเดือดร้อนแล้วก็ขออย่าไปกลั่นแกล้งยกเว้นจะมีคดีติดตัวมาก่อน
8. เรื่องงบประมาณ ภาครัฐสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนได้โดยใช้งบประมาณท้องถิ่น งบกลางจังหวัด แต่หากโครงการใดที่เป็นประโยชน์ก็สามารถทำเรื่องของบกลางต่างหากได้อีก โดยนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายว่า
8.1 ส่วนที่ 1 ปัญหาที่จังหวัดสามารถแก้ไขได้ ให้ดำเนินการเลย แต่หากขาดงบประมาณ ก็ให้ขอรับการสนับสนุนมา
8.2 ปัญหาที่ต้องแก้ไขแบบบูรณาการทั้งระบบ ต้องใช้เวลาดำเนินการ โดยรอความพร้อมของข้อมูลจากเวทีประชาคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-