คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการเพิ่มศักยภาพการให้บริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วประเทศ ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เสนอ แล้วมีมติอนุมัติหลักการให้จัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินในระดับสูง จำนวน 200 คัน ตามโครงการเพิ่มศักยภาพให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วประเทศไทย สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อโครงการนี้ ให้ขอรับการสนับสนุนจากเงินรายได้และการจำหน่ายสลาก 2 ตัว 3 ตัวของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า ได้ดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเต็มระบบในพื้นที่ต้นแบบ 7 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และจากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2546 - 4 มกราคม 2547 ในพื้นที่ 25 จังหวัด พบว่ารถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูงที่ใช้ในการให้บริการคนไข้ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนั้น ใช้ร่วมกับรถ Refer ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมไม่เหมาะสมในการวิ่งรับส่งผู้ป่วยในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และในภาวะปกติรถพยาบาลก็ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานอยู่แล้ว และจากการรายงานข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตทางอินเตอร์เน็ตที่โรงพยาบาลทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศส่งมายังศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข ในช่วงเทศกาลปีใหม่พบว่าเสียชีวิตระหว่างนำส่ง 63 คน เสียชีวิตระหว่างส่งต่อ 15 คน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2546 เสียชีวิตระหว่างนำส่ง 40 คน เสียชีวิตระหว่างส่งต่อ 29 คน
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (ศูนย์นเรนทร) ได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพการให้บริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง จำนวน 200 คัน ๆ ละ 2,000,000 บาทเป็นเงินจำนวน 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาท) โดยจะจัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่จัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแต่ยังขาดรถพยาบาลที่ใช้ในงานการบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อคนไข้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพราะปัญหาอุบัติเหตุทางถนนก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ตอลดจนความพิการ ทุพพลภาพทั้งของผู้ประสบอุบัติเหตุและยังเป็นภาระต่อครอบครัว และยังทำความสูญเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศโดยขออนุมัติใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2547 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า ได้ดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเต็มระบบในพื้นที่ต้นแบบ 7 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และจากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2546 - 4 มกราคม 2547 ในพื้นที่ 25 จังหวัด พบว่ารถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูงที่ใช้ในการให้บริการคนไข้ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนั้น ใช้ร่วมกับรถ Refer ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมไม่เหมาะสมในการวิ่งรับส่งผู้ป่วยในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และในภาวะปกติรถพยาบาลก็ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานอยู่แล้ว และจากการรายงานข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตทางอินเตอร์เน็ตที่โรงพยาบาลทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศส่งมายังศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข ในช่วงเทศกาลปีใหม่พบว่าเสียชีวิตระหว่างนำส่ง 63 คน เสียชีวิตระหว่างส่งต่อ 15 คน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2546 เสียชีวิตระหว่างนำส่ง 40 คน เสียชีวิตระหว่างส่งต่อ 29 คน
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (ศูนย์นเรนทร) ได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพการให้บริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง จำนวน 200 คัน ๆ ละ 2,000,000 บาทเป็นเงินจำนวน 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาท) โดยจะจัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่จัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแต่ยังขาดรถพยาบาลที่ใช้ในงานการบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อคนไข้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพราะปัญหาอุบัติเหตุทางถนนก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ตอลดจนความพิการ ทุพพลภาพทั้งของผู้ประสบอุบัติเหตุและยังเป็นภาระต่อครอบครัว และยังทำความสูญเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศโดยขออนุมัติใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2547 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-