คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้กระทรวงการคลังในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของรัฐวิสาหกิจออกระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานต่อไป เช่น การกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจ และการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น นั้น
กระทรวงการคลังเสนอว่า เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเห็นสมควรกำหนดกรอบหลักเกณฑ์การกระจายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป หลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งกำหนดหลักการดูแลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ผู้บริโภค และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์การกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจให้กับประชาชนทั่วไป
เพื่อให้การกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ มีความโปร่งใส เป็นธรรม และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง จึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเสนอขายหุ้นครั้งแรก (Initial Public Offering :IPO) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้
1) ในการกระจายหุ้นจะให้ความสำคัญกับผู้ลงทุนในประเทศทั้งประชาชนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน
2) ไม่มีการจัดสรรหุ้นให้ผู้มีอุปการคุณ
3) ลูกค้าของสถาบันการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์ ให้จองหุ้นผ่านกระบวนการสุ่มเลือก (Random) รวมกับประชาชนทั่วไป
4) การกระจายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป จะจัดสรรผ่านกระบวนการสุ่มเลือก (Random) โดยวิธีการจัดสรรแบบขั้นบันไดผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้โอกาสกับผู้จองซื้อหุ้นจำนวนน้อยเป็นสำคัญโดยจะเปิดระยะเวลาจองให้เพียงพอ
5) รัฐบาลจะถือหุ้นข้างมากไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนเพื่อคงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการด้านไฟฟ้าและน้ำประปาภาครัฐจะยังคงถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียน
ในทุกกรณี บุคคลใดไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างประเทศจะถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของทุนจดทะเบียนไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ผู้ถือหุ้นเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีและมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาลหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง นักลงทุนต่างประเทศจะถือหุ้นรวมกันเกินกว่า ร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทไม่ได้
2. หลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ
เพื่อให้การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจมีความเหมะสมยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 (ตามนัยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0504/1935 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547) เกี่ยวกับกรอบหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนและนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจใหม่ เป็นดังนี้
1) ให้พนักงานได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวน 8 เท่าของเงินเดือน ณ วันก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (ผลประโยชน์ตอบแทนคำนวณจากผลต่างระหว่างราคาที่เสนอขายให้นักลงทุนทั่วไป กับราคาที่พนักงานจ่ายเงินซื้อหุ้น) และเป็นการให้ครั้งเดียวเมื่อมีการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2) ในการจัดสรรหุ้น รัฐต้องการสนับสนุนให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของหุ้น จึงเห็นควรกำหนดทางเลือกไว้ 2 ทางเลือก เพื่อเป็นการช่วยลดภาระทางการเงินของพนักงาน โดยทั้ง 2 ทางเลือก พนักงานจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเท่ากัน
ทางเลือกที่ 1 พนักงานจ่ายเงินซื้อหุ้นในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (PAR) โดยกระทรวงการคลังจะหาแหล่งเงินกู้ซึ่งให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน
ทางเลือกที่ 2 พนักงานไม่ต้องจ่ายเงินซื้อหุ้น โดยรัฐวิสาหกิจจ่ายแทนในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (PAR) ซึ่งพนักงานจะได้รับหุ้นในจำนวนที่น้อยกว่าทางเลือกที่ 1
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งเป็นผู้พิจารณาจัดสรรหุ้นให้พนักงานตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1) และ 2) โดยให้กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่พนักงานต้องถือครองหุ้นไว้ด้วย
3) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ จะได้รับการจัดสรรหุ้นจำนวนหนึ่งในราคาที่เสนอขายให้กับนักลงทุนทั่วไป
3. หลักการดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ผู้บริโภค และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นสมควรกำหนดหลักการดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ผู้บริโภค และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อรัฐยึดเป็นกรอบในการดำเนินการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
3.1 หลักการดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
1) รักษาสาธารณสมบัติและทรัพย์สินของชาติไม่ให้ตกอยู่ในการครอบครองของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยนำมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาใช้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาโดยใช้อำนาจรัฐไปเป็นของกระทรวงการคลัง หรือเป็นของบริษัทก็ได้ตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี ส่วนสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่รัฐวิสาหกิจเคยมีอยู่ ให้บริษัทยังคงใช้ต่อไปได้ตามเงื่อนไขเดิม แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
2) ให้ประชาชนชาวไทยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง โดยเน้นจัดสรรหุ้นให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยก่อน และจะไม่มีการจัดสรรในลักษณะที่ให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
3) ป้องกันมิให้บุคคลรายใดรายหนึ่งเข้ามาครอบงำกิจการของรัฐวิสาหกิจ โดยจะดำเนินการให้มีการจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ลงทุนแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนจดทะเบียน และในกรณีที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศจะถือหุ้นรวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
4) มีกลไกกำกับดูแลการใช้อำนาจผูกขาดอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้รัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพใช้อำนาจผูกขาดโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายอื่น
5) สร้างวินัยทางการเงินให้กับรัฐวิสาหกิจและสร้างความเสมอภาคในการประกอบธุรกิจ โดยรัฐจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ
3.2 หลักการดูแลผลประโยชน์ของผู้บริโภค
1) มีกลไกกำกับดูแลการใช้อำนาจผูกขาดอย่างเป็นระบบ เพื่อมิให้รัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพใช้อำนาจผูกขาดโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
2) คงสถานะความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รัฐจะถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน เพื่อสร้างความมั่นใจว่ารัฐวิสาหกิจจะดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการด้านไฟฟ้าและน้ำประปารัฐจะยังคงถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่รัฐไม่จำเป็นต้องดำเนินการ เนื่องจากมีภาคเอกชนดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว
3.3 หลักการดูแลผลประโยชน์ของพนักงาน
1) สร้างความมั่นคงและรักษาสิทธิประโยชน์ของพนักงาน โดยพนักงานจะได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าเดิม นับอายุงานต่อเนื่อง และไม่ปลดพนักงาน
2) จัดสรรหุ้นให้พนักงานมีส่วนเป็นเจ้าของ พนักงานจะได้รับการจัดสรรหุ้นในราคาพิเศษ เพื่อตอบแทนความร่วมมือที่พนักงานได้ร่วมกันสร้างองค์กร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้กระทรวงการคลังในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของรัฐวิสาหกิจออกระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานต่อไป เช่น การกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจ และการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น นั้น
กระทรวงการคลังเสนอว่า เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเห็นสมควรกำหนดกรอบหลักเกณฑ์การกระจายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป หลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งกำหนดหลักการดูแลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ผู้บริโภค และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์การกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจให้กับประชาชนทั่วไป
เพื่อให้การกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ มีความโปร่งใส เป็นธรรม และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง จึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเสนอขายหุ้นครั้งแรก (Initial Public Offering :IPO) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้
1) ในการกระจายหุ้นจะให้ความสำคัญกับผู้ลงทุนในประเทศทั้งประชาชนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน
2) ไม่มีการจัดสรรหุ้นให้ผู้มีอุปการคุณ
3) ลูกค้าของสถาบันการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์ ให้จองหุ้นผ่านกระบวนการสุ่มเลือก (Random) รวมกับประชาชนทั่วไป
4) การกระจายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป จะจัดสรรผ่านกระบวนการสุ่มเลือก (Random) โดยวิธีการจัดสรรแบบขั้นบันไดผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้โอกาสกับผู้จองซื้อหุ้นจำนวนน้อยเป็นสำคัญโดยจะเปิดระยะเวลาจองให้เพียงพอ
5) รัฐบาลจะถือหุ้นข้างมากไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนเพื่อคงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการด้านไฟฟ้าและน้ำประปาภาครัฐจะยังคงถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียน
ในทุกกรณี บุคคลใดไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างประเทศจะถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของทุนจดทะเบียนไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ผู้ถือหุ้นเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีและมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาลหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง นักลงทุนต่างประเทศจะถือหุ้นรวมกันเกินกว่า ร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทไม่ได้
2. หลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ
เพื่อให้การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจมีความเหมะสมยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 (ตามนัยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0504/1935 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547) เกี่ยวกับกรอบหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนและนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นให้พนักงานรัฐวิสาหกิจใหม่ เป็นดังนี้
1) ให้พนักงานได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวน 8 เท่าของเงินเดือน ณ วันก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (ผลประโยชน์ตอบแทนคำนวณจากผลต่างระหว่างราคาที่เสนอขายให้นักลงทุนทั่วไป กับราคาที่พนักงานจ่ายเงินซื้อหุ้น) และเป็นการให้ครั้งเดียวเมื่อมีการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2) ในการจัดสรรหุ้น รัฐต้องการสนับสนุนให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของหุ้น จึงเห็นควรกำหนดทางเลือกไว้ 2 ทางเลือก เพื่อเป็นการช่วยลดภาระทางการเงินของพนักงาน โดยทั้ง 2 ทางเลือก พนักงานจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเท่ากัน
ทางเลือกที่ 1 พนักงานจ่ายเงินซื้อหุ้นในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (PAR) โดยกระทรวงการคลังจะหาแหล่งเงินกู้ซึ่งให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน
ทางเลือกที่ 2 พนักงานไม่ต้องจ่ายเงินซื้อหุ้น โดยรัฐวิสาหกิจจ่ายแทนในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (PAR) ซึ่งพนักงานจะได้รับหุ้นในจำนวนที่น้อยกว่าทางเลือกที่ 1
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งเป็นผู้พิจารณาจัดสรรหุ้นให้พนักงานตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1) และ 2) โดยให้กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่พนักงานต้องถือครองหุ้นไว้ด้วย
3) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ จะได้รับการจัดสรรหุ้นจำนวนหนึ่งในราคาที่เสนอขายให้กับนักลงทุนทั่วไป
3. หลักการดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ผู้บริโภค และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นสมควรกำหนดหลักการดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ผู้บริโภค และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อรัฐยึดเป็นกรอบในการดำเนินการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
3.1 หลักการดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
1) รักษาสาธารณสมบัติและทรัพย์สินของชาติไม่ให้ตกอยู่ในการครอบครองของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยนำมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาใช้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาโดยใช้อำนาจรัฐไปเป็นของกระทรวงการคลัง หรือเป็นของบริษัทก็ได้ตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี ส่วนสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่รัฐวิสาหกิจเคยมีอยู่ ให้บริษัทยังคงใช้ต่อไปได้ตามเงื่อนไขเดิม แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
2) ให้ประชาชนชาวไทยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง โดยเน้นจัดสรรหุ้นให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยก่อน และจะไม่มีการจัดสรรในลักษณะที่ให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
3) ป้องกันมิให้บุคคลรายใดรายหนึ่งเข้ามาครอบงำกิจการของรัฐวิสาหกิจ โดยจะดำเนินการให้มีการจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ลงทุนแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนจดทะเบียน และในกรณีที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศจะถือหุ้นรวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
4) มีกลไกกำกับดูแลการใช้อำนาจผูกขาดอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้รัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพใช้อำนาจผูกขาดโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายอื่น
5) สร้างวินัยทางการเงินให้กับรัฐวิสาหกิจและสร้างความเสมอภาคในการประกอบธุรกิจ โดยรัฐจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ
3.2 หลักการดูแลผลประโยชน์ของผู้บริโภค
1) มีกลไกกำกับดูแลการใช้อำนาจผูกขาดอย่างเป็นระบบ เพื่อมิให้รัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพใช้อำนาจผูกขาดโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
2) คงสถานะความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รัฐจะถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน เพื่อสร้างความมั่นใจว่ารัฐวิสาหกิจจะดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการด้านไฟฟ้าและน้ำประปารัฐจะยังคงถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่รัฐไม่จำเป็นต้องดำเนินการ เนื่องจากมีภาคเอกชนดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว
3.3 หลักการดูแลผลประโยชน์ของพนักงาน
1) สร้างความมั่นคงและรักษาสิทธิประโยชน์ของพนักงาน โดยพนักงานจะได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าเดิม นับอายุงานต่อเนื่อง และไม่ปลดพนักงาน
2) จัดสรรหุ้นให้พนักงานมีส่วนเป็นเจ้าของ พนักงานจะได้รับการจัดสรรหุ้นในราคาพิเศษ เพื่อตอบแทนความร่วมมือที่พนักงานได้ร่วมกันสร้างองค์กร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-