คณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินอุดมศึกษา ตามที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินอุดมศึกษาตามที่เสนอ
2. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา
3. อนุมัติหลักการ กรณีจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานโครงการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา ให้ใช้งบกลางได้โดยประสานกับสำนักงบประมาณต่อไป
และให้คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้น รับไปศึกษาแนวทางการดำเนินการในรายละเอียดให้ชัดเจน เหมาะสม โดยให้ถือเป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ(human capital) แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
หลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษา ที่รองนายกรัฐมนตรีเสนอ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ลงมือจัดการศึกษา (Provider of educational services) เป็นหลัก มาเป็นผู้สนับสนุน (promoter) กำกับดูแล (regulator) และผู้กำหนดนโยบายการอุดมศึกษา (policymaker) เป็นหลัก และให้บทบาทในการลงมือจัดการศึกษาเองเป็นรอง
2. ใช้กลไกทางการเงินเป็นเครื่องมือในการปรับประสิทธิภาพการจัดการศึกษา รวมทั้งการดำเนินนโยบายการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ โดยการลดการสนองทุนผ่านด้านอุปทานหรือสถานศึกษา (supply side financing) และการเพิ่มการสนองทุนผ่านด้านอุปสงค์หรือตัวผู้เรียน (demand side financing) ให้มากขึ้น
3. การให้การอุดหนุนผู้เรียนผ่านด้านอุปสงค์ (demand side financing) ควรดำเนินการภายใต้หลักความเท่าเทียมกัน โดยปฏิบัติต่อสถานศึกษาของรัฐและเอกชนภายใต้กฎกติกาหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยไม่คำนึงว่าผู้เรียนจะเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน อย่างไรก็ตาม รัฐอาจให้เงินอุดหนุนแก่ผู้เรียนในสถานศึกษาต่าง ๆ แตกต่างกันตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น สัดส่วนคุณวุฒิทางการศึกษาของอาจารย์ หรือระดับคุณภาพของการศึกษา เป็นต้น
4. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นให้ได้สัดส่วนกับประโยชน์ส่วนบุคคลที่ผู้เรียนได้รับ
5. เนื่องจากการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ (public service) รัฐจะยังคงต้องรับภาระในเรื่องการศึกษาอยู่ โดยใช้หลัก expenditure neutrality approach คือค่าใช้จ่ายเพื่อการอุดมศึกษาของรัฐต้องไม่น้อยกว่าเดิม โดยค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของรัฐที่ลดลงเนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมรับภาระมากขึ้น ให้นำกลับไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการศึกษา ( educational infrastructure) การพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดทุนให้เปล่ากับคนยากจน และทุนเรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ
6. รัฐยอมให้สถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนเรียกเก็บค่าเล่าเรียนได้ตามหลักการคุ้มทุน (cost recovery) โดยเลิกการกำหนดเพดานค่าเล่าเรียน (price regulation) อย่างไรก็ตาม รัฐจะกำหนดอัตราการให้เงินกู้ยืมซึ่งเป็นเงินอุดหนุนผู้เรียนที่เป็นมาตรฐานที่คำนวณจากต้นทุนการดำเนินการที่แท้จริงของสถาบันอุดมศึกษาประเภทต่าง ๆ
7. รัฐจัดให้มีทุนเงินกู้ยืมสำหรับผู้เรียนที่ประสงค์จะกู้ทุกคน และจะจัดให้มีทุนการศึกษาแบบให้เปล่าสำหรับผู้เรียนที่ยากจนแต่มีความสามารถในการเรียน
8. รัฐพึงปฏิบัติต่อสถานศึกษาของรัฐและเอกชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเรื่องภาษีด้วย
9. รัฐจะจัดการให้สถานศึกษามีการบริหารจัดการตามหลักการบริหารจัดการที่ดี (good governance) มีความเป็นอิสระทางความคิด การศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ และการแข่งขันระหว่างสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศ
10. ปรับประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดย
- ยุติการให้กู้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สามัญและอาชีพ) โดยจัดให้มีกองทุนแบบให้เปล่า หรือการช่วยเหลือในรูปแบบอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
- ให้เงินกู้ยืมกับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ รวมทั้งการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี)
11. ให้สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) และกองทุนเงินให้เปล่าสำหรับนักเรียนยากจน และนักเรียนที่เรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ
12. ให้กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดการด้านการรับชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งอาจทำได้โดยการแยกหน่วยงานขึ้นมาเป็นพิเศษภายในกรมสรรพากร และใช้ฐานข้อมูลของกรมสรรพากรพร้อมทั้งเสริมกำลังคนและทรัพยากรอื่นตามความจำเป็น
13. ให้ดำเนินการโครงการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษาได้ หากต้องการงบประมาณให้ใช้งบกลางได้ตามความจำเป็น
การจัดวางระบบดังกล่าวจะทำให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นระบบที่มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพ มีการเปิดกว้างสำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้นด้วย
แนวทางการดำเนินงาน
1. ให้เริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบการชำระหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันของ กยศ. มาเป็นเงื่อนไขการชำระหนี้แบบ กรอ. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 ในระหว่างที่การปรับเปลี่ยนระบบยังไม่แล้วเสร็จให้ใช้ระบบการชำระหนี้แบบเดิมไปก่อน
2. ให้เริ่มดำเนินการนำระบบเงินกู้ยืมแบบ กรอ.มาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป
3. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการพิจารณาเรื่องการยกเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับสถาบันการศึกษาเอกชน
4. ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข กฎ ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อสถานศึกษาเอกชนอย่างเท่าเทียมกับสถานศึกษาของรัฐ
5. ให้นำระบบ Smart Card ที่กำลังดำเนินการในขณะนี้มาใช้เพื่อประโยชนในการบริหารจัดการกองทุนต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น
6. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายต่อหน่วยที่สะท้อนประสิทธิภาพของแต่ละสาขาวิชา จำแนกตามประเภทสถาบันที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน พร้อมทั้งศึกษาและเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายต่อหน่วยมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ และกำหนดเป็นค่าใช้จ่ายอ้างอิง (benchmark)
7. ให้กรมสรรพากรดำเนินการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ ระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับระบบการเงินอุดมศึกษาตามที่กล่าวมาข้างต้น
8. เพื่อให้เการดำเนินการปฏิรูปการเงินอุดมศึกษาดำเนินไปได้อย่างราบรื่น จำเป็นต้องกำหนดแผนการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ โดยมีช่วยเปลี่ยนผ่าน (transition period) ซึ่งต้องกำหนดในรายละเอียดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบหลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินอุดมศึกษาตามที่เสนอ
2. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา
3. อนุมัติหลักการ กรณีจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานโครงการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา ให้ใช้งบกลางได้โดยประสานกับสำนักงบประมาณต่อไป
และให้คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้น รับไปศึกษาแนวทางการดำเนินการในรายละเอียดให้ชัดเจน เหมาะสม โดยให้ถือเป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ(human capital) แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
หลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษา ที่รองนายกรัฐมนตรีเสนอ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ลงมือจัดการศึกษา (Provider of educational services) เป็นหลัก มาเป็นผู้สนับสนุน (promoter) กำกับดูแล (regulator) และผู้กำหนดนโยบายการอุดมศึกษา (policymaker) เป็นหลัก และให้บทบาทในการลงมือจัดการศึกษาเองเป็นรอง
2. ใช้กลไกทางการเงินเป็นเครื่องมือในการปรับประสิทธิภาพการจัดการศึกษา รวมทั้งการดำเนินนโยบายการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ โดยการลดการสนองทุนผ่านด้านอุปทานหรือสถานศึกษา (supply side financing) และการเพิ่มการสนองทุนผ่านด้านอุปสงค์หรือตัวผู้เรียน (demand side financing) ให้มากขึ้น
3. การให้การอุดหนุนผู้เรียนผ่านด้านอุปสงค์ (demand side financing) ควรดำเนินการภายใต้หลักความเท่าเทียมกัน โดยปฏิบัติต่อสถานศึกษาของรัฐและเอกชนภายใต้กฎกติกาหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยไม่คำนึงว่าผู้เรียนจะเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน อย่างไรก็ตาม รัฐอาจให้เงินอุดหนุนแก่ผู้เรียนในสถานศึกษาต่าง ๆ แตกต่างกันตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น สัดส่วนคุณวุฒิทางการศึกษาของอาจารย์ หรือระดับคุณภาพของการศึกษา เป็นต้น
4. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นให้ได้สัดส่วนกับประโยชน์ส่วนบุคคลที่ผู้เรียนได้รับ
5. เนื่องจากการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ (public service) รัฐจะยังคงต้องรับภาระในเรื่องการศึกษาอยู่ โดยใช้หลัก expenditure neutrality approach คือค่าใช้จ่ายเพื่อการอุดมศึกษาของรัฐต้องไม่น้อยกว่าเดิม โดยค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของรัฐที่ลดลงเนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมรับภาระมากขึ้น ให้นำกลับไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการศึกษา ( educational infrastructure) การพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดทุนให้เปล่ากับคนยากจน และทุนเรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ
6. รัฐยอมให้สถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนเรียกเก็บค่าเล่าเรียนได้ตามหลักการคุ้มทุน (cost recovery) โดยเลิกการกำหนดเพดานค่าเล่าเรียน (price regulation) อย่างไรก็ตาม รัฐจะกำหนดอัตราการให้เงินกู้ยืมซึ่งเป็นเงินอุดหนุนผู้เรียนที่เป็นมาตรฐานที่คำนวณจากต้นทุนการดำเนินการที่แท้จริงของสถาบันอุดมศึกษาประเภทต่าง ๆ
7. รัฐจัดให้มีทุนเงินกู้ยืมสำหรับผู้เรียนที่ประสงค์จะกู้ทุกคน และจะจัดให้มีทุนการศึกษาแบบให้เปล่าสำหรับผู้เรียนที่ยากจนแต่มีความสามารถในการเรียน
8. รัฐพึงปฏิบัติต่อสถานศึกษาของรัฐและเอกชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเรื่องภาษีด้วย
9. รัฐจะจัดการให้สถานศึกษามีการบริหารจัดการตามหลักการบริหารจัดการที่ดี (good governance) มีความเป็นอิสระทางความคิด การศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ และการแข่งขันระหว่างสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศ
10. ปรับประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดย
- ยุติการให้กู้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สามัญและอาชีพ) โดยจัดให้มีกองทุนแบบให้เปล่า หรือการช่วยเหลือในรูปแบบอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
- ให้เงินกู้ยืมกับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ รวมทั้งการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี)
11. ให้สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) และกองทุนเงินให้เปล่าสำหรับนักเรียนยากจน และนักเรียนที่เรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ
12. ให้กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดการด้านการรับชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งอาจทำได้โดยการแยกหน่วยงานขึ้นมาเป็นพิเศษภายในกรมสรรพากร และใช้ฐานข้อมูลของกรมสรรพากรพร้อมทั้งเสริมกำลังคนและทรัพยากรอื่นตามความจำเป็น
13. ให้ดำเนินการโครงการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษาได้ หากต้องการงบประมาณให้ใช้งบกลางได้ตามความจำเป็น
การจัดวางระบบดังกล่าวจะทำให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นระบบที่มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพ มีการเปิดกว้างสำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้นด้วย
แนวทางการดำเนินงาน
1. ให้เริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบการชำระหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันของ กยศ. มาเป็นเงื่อนไขการชำระหนี้แบบ กรอ. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 ในระหว่างที่การปรับเปลี่ยนระบบยังไม่แล้วเสร็จให้ใช้ระบบการชำระหนี้แบบเดิมไปก่อน
2. ให้เริ่มดำเนินการนำระบบเงินกู้ยืมแบบ กรอ.มาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป
3. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการพิจารณาเรื่องการยกเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับสถาบันการศึกษาเอกชน
4. ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข กฎ ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อสถานศึกษาเอกชนอย่างเท่าเทียมกับสถานศึกษาของรัฐ
5. ให้นำระบบ Smart Card ที่กำลังดำเนินการในขณะนี้มาใช้เพื่อประโยชนในการบริหารจัดการกองทุนต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น
6. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายต่อหน่วยที่สะท้อนประสิทธิภาพของแต่ละสาขาวิชา จำแนกตามประเภทสถาบันที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน พร้อมทั้งศึกษาและเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายต่อหน่วยมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ และกำหนดเป็นค่าใช้จ่ายอ้างอิง (benchmark)
7. ให้กรมสรรพากรดำเนินการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ ระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับระบบการเงินอุดมศึกษาตามที่กล่าวมาข้างต้น
8. เพื่อให้เการดำเนินการปฏิรูปการเงินอุดมศึกษาดำเนินไปได้อย่างราบรื่น จำเป็นต้องกำหนดแผนการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ โดยมีช่วยเปลี่ยนผ่าน (transition period) ซึ่งต้องกำหนดในรายละเอียดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-