คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการมีงานทำของนักเรียน นักศึกษาให้มีรายได้ระหว่างเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยขอใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี พ.ศ. 2547 จำนวน 300 ล้านบาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่า นายกรัฐมนตรีให้นโยบายในการประชุมปฏิบัติการ การแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ เมื่อวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2546 โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการใน 7 เรื่อง ได้แก่ ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาคนเร่ร่อน ปัญหาผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย การให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาให้มีรายได้จากอาชีพที่เหมาะสม ปัญหาการถูกหลอกลวง และปัญหาหนี้สินภาคประชาชนและที่อยู่อาศัย กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับการให้นักเรียน นักศึกษามีอาชีพที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียน เป็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมในการทำงานให้กับเยาวชนไทยให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นการลดปัญหาการติดยาเสพติดและการมั่วสุมในเด็กและเยาวชน
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการมีงานทำของนักเรียน นักศึกษาให้มีรายได้ระหว่างเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีกรอบแนวคิดในการให้นักเรียน นักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียนจากการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ทางเลือกหนึ่งที่เห็นว่าจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ในระยะยาว คือ ให้สถานศึกษาสร้างงานเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาทำในระหว่างเรียน ซึ่งปัจจุบันนี้สถานศึกษาหลายแห่งได้ดำเนินการอยู่แล้วแต่ยังขาดเงินทุนดำเนินการ ถ้ากระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดเงินทุนสนับสนุนให้ได้จะทำให้นักเรียน นักศึกษาที่มาจดทะเบียนมีงานทำสร้างรายได้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในด้านที่สังคมพึงประสงค์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดทำโครงการในการบูรณาการสร้างงานให้นักเรียน นักศึกษามีงานทำและมีรายได้ระหว่างเรียนในช่วงปิดภาคเรียนปลายภาคปีการศึกษา 2546 ขึ้น โดยมีรายละเอียดโครงการ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการทำงาน และพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ให้นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. อนุปริญญา และอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี
1.2 เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของนักเรียน นักศึกษา ให้มีรายได้ระหว่างเรียนเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง
1.3 เพื่อสร้างงานให้นักเรียน นักศึกษา ให้มีงานทำและเพิ่มเติมประสบการณ์วิชาชีพ
1.4 เพื่อให้หน่วยงานสถานศึกษา สร้างงาน สร้างอาชีพ ร่วมกับนักเรียน นักศึกษา ในการพัฒนาอาชีพสู่รายได้อย่างเหมาะสมเป็นระบบที่ยั่งยืน
2. เป้าหมาย จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาจ้างนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการทำงานในช่วงปิดภาคเรียนปลายภาค ปีการศึกษา 2546 จำนวน 100,000 คน
3. วิธีดำเนินงาน
3.1 คัดเลือกสถานศึกษาที่มีนักเรียน นักศึกษามาลงทะเบียนตามแบบ สย. 4 และสถานศึกษาที่มีขีดความสามารถดำเนินการด้านอาชีพได้เข้าร่วมโครงการ
3.2 ให้สถานศึกษาจัดทำโครงการเพื่อสร้างงานให้เด็กมีรายได้ระหว่างเรียนเสนอเพื่อขอรับงบประมาณจ้างนักเรียน นักศึกษามีงานทำในช่วงปิดภาคเรียนอาจประกอบด้วยงานปรับปรุง ซ่อมแซมอาคาร ทาสี งานจัดห้องสมุดงานเกษตรกรรม งานคหกรรม และงานช่างฝีมือในแต่ละสาขา
4. งบประมาณ ใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี พ.ศ. 2547 จำนวน 300 ล้านบาท มาใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งในภาพรวมศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติได้รับอนุมัติในวงเงิน 15,000 ล้านบาท
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ สถานศึกษาส่วนหนึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับนักเรียนนักศึกษา จำนวน 100,000 คน ให้มีรายได้คนละ 3,000 บาท ในช่วงปิดภาคเรียนปลายภาค ปีการศึกษา 2546
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่า นายกรัฐมนตรีให้นโยบายในการประชุมปฏิบัติการ การแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ เมื่อวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2546 โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการใน 7 เรื่อง ได้แก่ ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาคนเร่ร่อน ปัญหาผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย การให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาให้มีรายได้จากอาชีพที่เหมาะสม ปัญหาการถูกหลอกลวง และปัญหาหนี้สินภาคประชาชนและที่อยู่อาศัย กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับการให้นักเรียน นักศึกษามีอาชีพที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียน เป็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมในการทำงานให้กับเยาวชนไทยให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นการลดปัญหาการติดยาเสพติดและการมั่วสุมในเด็กและเยาวชน
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการมีงานทำของนักเรียน นักศึกษาให้มีรายได้ระหว่างเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีกรอบแนวคิดในการให้นักเรียน นักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียนจากการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ทางเลือกหนึ่งที่เห็นว่าจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ในระยะยาว คือ ให้สถานศึกษาสร้างงานเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาทำในระหว่างเรียน ซึ่งปัจจุบันนี้สถานศึกษาหลายแห่งได้ดำเนินการอยู่แล้วแต่ยังขาดเงินทุนดำเนินการ ถ้ากระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดเงินทุนสนับสนุนให้ได้จะทำให้นักเรียน นักศึกษาที่มาจดทะเบียนมีงานทำสร้างรายได้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในด้านที่สังคมพึงประสงค์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดทำโครงการในการบูรณาการสร้างงานให้นักเรียน นักศึกษามีงานทำและมีรายได้ระหว่างเรียนในช่วงปิดภาคเรียนปลายภาคปีการศึกษา 2546 ขึ้น โดยมีรายละเอียดโครงการ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการทำงาน และพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ให้นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. อนุปริญญา และอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี
1.2 เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของนักเรียน นักศึกษา ให้มีรายได้ระหว่างเรียนเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง
1.3 เพื่อสร้างงานให้นักเรียน นักศึกษา ให้มีงานทำและเพิ่มเติมประสบการณ์วิชาชีพ
1.4 เพื่อให้หน่วยงานสถานศึกษา สร้างงาน สร้างอาชีพ ร่วมกับนักเรียน นักศึกษา ในการพัฒนาอาชีพสู่รายได้อย่างเหมาะสมเป็นระบบที่ยั่งยืน
2. เป้าหมาย จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาจ้างนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการทำงานในช่วงปิดภาคเรียนปลายภาค ปีการศึกษา 2546 จำนวน 100,000 คน
3. วิธีดำเนินงาน
3.1 คัดเลือกสถานศึกษาที่มีนักเรียน นักศึกษามาลงทะเบียนตามแบบ สย. 4 และสถานศึกษาที่มีขีดความสามารถดำเนินการด้านอาชีพได้เข้าร่วมโครงการ
3.2 ให้สถานศึกษาจัดทำโครงการเพื่อสร้างงานให้เด็กมีรายได้ระหว่างเรียนเสนอเพื่อขอรับงบประมาณจ้างนักเรียน นักศึกษามีงานทำในช่วงปิดภาคเรียนอาจประกอบด้วยงานปรับปรุง ซ่อมแซมอาคาร ทาสี งานจัดห้องสมุดงานเกษตรกรรม งานคหกรรม และงานช่างฝีมือในแต่ละสาขา
4. งบประมาณ ใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี พ.ศ. 2547 จำนวน 300 ล้านบาท มาใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งในภาพรวมศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติได้รับอนุมัติในวงเงิน 15,000 ล้านบาท
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ สถานศึกษาส่วนหนึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับนักเรียนนักศึกษา จำนวน 100,000 คน ให้มีรายได้คนละ 3,000 บาท ในช่วงปิดภาคเรียนปลายภาค ปีการศึกษา 2546
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-